Sunday, November 9, 2008
on thai democrat
"ประจักษ์ ก้องกีรติ" อาจารย์หนุ่มจากคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ วิพากษ์บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ว่ายังยึดมั่นในระบบรัฐสภาอยู่หรือไม่ หลังลงไปเล่นการเมืองบนท้องถนน? ระวังแฟนพันธุ์แท้ปชป.จะผิดหวังนะ !! วันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ ถูกมองด้วยสายตาแปลกๆ จากแฟนพันธุ์แท้พรรคประชาธิปัตย์หลายๆ คนว่า ตกลงแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ที่เคยประกาศว่ายึดมั่นในระบบรัฐสภา จะยังคงทำงานในสภาต่อไปหรือไม่ เพราะหลายครั้งและหลายคนของประชาธิปัตย์ลงไปเล่นการเมืองบนท้องถนนกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพรรคประชาธิปัตย์บอยคอตไม่เข้าร่วมแถลงนโยบายของรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม หรือล่าสุดไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่ายในการปฏิรูปการเมืองผ่าน ส.ส.ร.3 โดยอ้างเหตุผลไม่อยากร่วมสังฆกรรมกับรัฐบาลมือเปื้อนเลือดเหล่านี้ เป็นเหตุผลถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด หรือมีเหตุผลอะไรที่มากกว่านั้น ? "ประจักษ์ ก้องกีรติ" อาจารย์ผู้สอนวิชาพรรคการเมือง ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ วิพากษ์บทบาททางการเมืองของประชาธิปัตย์ไว้อย่างน่าสนใจ@ มองบทบาทการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์อย่างไร ท่ามกลางบ้านเมืองแตกแยกแบ่งขั้วอย่างหนัก ผมมองด้วยความเป็นห่วง เพราะพรรคประชาธิปัตย์อาจกำลังสับสนกับบทบาทของตัวเองในฐานะที่เป็นพรรคการเมือง ซึ่งต่างจากกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะในแง่การตรวจสอบรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย มี 2 ส่วน คือ การตรวจสอบในสภากับการตรวจสอบนอกสภา พูดง่ายๆ คือ ส่วนหนึ่งอยู่ในกรอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน อีกส่วนหนึ่งคือกรอบประชาธิปไตยแบบทางตรง ซึ่งบทบาทประชาธิปัตย์คือ การทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายค้านในรัฐสภา หรือการตรวจสอบในรัฐสภา ต้องอย่าสับสน ส่วนบทบาทการตรวจสอบนอกรัฐสภา ก็ปล่อยเป็นหน้าที่ของกลุ่มอื่นๆ ในสังคม ไม่ว่าสื่อมวลชนหรือกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ฉะนั้น ถ้าประชาธิปัตย์ไม่ยึดหลักตรงนี้ให้มั่นก่อนว่า พรรคอยู่ในฐานะอะไรในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และมีบทบาทหน้าที่ที่ควรจะทำคืออะไรบ้าง ผมว่าจะทำให้เป๋ไปได้ และยิ่งนานวัน จะเดินห่างออกจากบทบาทที่ควรจะเป็นไปเรื่อยๆ ฉะนั้น ถ้าประชาธิปัตย์ยังเล่นบทอย่างนี้ต่อไป ประชาธิปัตย์จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่ามีบทบาทในการทำให้วิกฤตการเมืองหนักหน่วงยิ่งขึ้นเช่นกัน@ การต่อสู้กับระบอบทักษิณ อาจใช้กลไกในระบอบรัฐสภาไม่พอ ? ก็ต้องถามด้วยว่า ประชาธิปัตย์ได้พยายามทำหน้าที่ของตัวเองในฐานะพรรคฝ่ายค้านในสภาได้เต็มที่แล้วหรือยัง ได้ใช้กลไกในระบอบรัฐสภาอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง แล้วช่องทางหรือกลไกที่จะก่อให้เกิดทางออก ประชาธิปัตย์ได้เข้าไปร่วมมากน้อยแค่ไหนหลายครั้งที่ผ่านมา ประชาธิปัตย์บอยคอตเอง ไม่เข้าไปร่วม ไม่ว่าตอนแถลงนโยบายรัฐบาล หรือล่าสุดคือการบอยคอตไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่าย ในการปฏิรูปการเมือง ปัญหาตอนนี้จึงกลายเป็นการเล่นเหมือนเด็ก เป็นปัญหางูกินหาง แต่ปัญหาคือ ก็ประชาธิปัตย์บอยคอต ก็เลยทำให้กระบวนการเกิดความไม่ชอบธรรม ถ้ากลัวว่ารัฐบาลจะใช้ช่องทางนี้แก้ไขเพื่อประโยชน์ตัวเอง วิธีที่ดีกว่าคือ การเข้าไปร่วมและเข้าไปตรวจสอบ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่านักวิชาการจำนวนหนึ่ง หรือสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ก็มาบอกว่า ส.ส.ร.ไม่ใช่ทางออกแล้ว ผมคิดว่า พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมือง จะมาเล่นแบบเด็กเล่นขายของหรือบอยคอตตีรวนไปเรื่อยๆ ไม่ได้ ตัวเองมีหน้าที่ที่ต้องทำอยู่ และจริงๆ คนก็ฝากความหวังกับประชาธิปัตย์ไว้เยอะ โดยเฉพาะคนที่เห็นว่าการตรวจสอบในระบอบมีปัญหา หรือการที่รัฐบาลพลังประชาชนหรือสมัยรัฐบาลทักษิณมีอำนาจมากเกินไป คนก็ฝากความหวังไว้กับประชาธิปัตย์ ...แต่ตอนนี้ผมชักไม่แน่ใจ @ ประชาธิปัตย์อ้างว่า รัฐบาลสมชายหมดความชอบธรรม เพราะสั่งสลายชุมนุมประชาชนในวันที่ 7 ตุลาคม ผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่ยังไม่หนักแน่นเพียงพอ เพราะผลการสอบสวนเหตุการณ์ 7 ตุลาคม ยังไม่เสร็จสิ้น ถ้าเราใจเย็นๆ อย่าเพิ่งใช้อารมณ์มากเกินไป ผมว่าสังคมยังไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านว่าเกิดอะไรขึ้น ที่ว่ารัฐบาลทำไม่ถูก ทำไม่ถูกมากน้อยแค่ไหน อะไรที่เป็นความผิดที่ควรจะต้องรับผิดชอบ อย่าเพิ่งไปกล่าวหารัฐบาลจนเกินเหตุที่เขาได้กระทำลงไป พูดง่ายๆ คือ เรายังไม่รู้ว่ารัฐบาลทำผิดมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นผมคิดว่าสังคมก็ต้องใจเย็นก่อน แล้วก็อย่าลืมว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีคู่ขัดแย้ง 2 ฝ่าย ซึ่งกรรมการสิทธิมนุษยชนกำลังตรวจสอบอยู่ ผลรายงานที่ออกมาเป็นด้านที่ตรวจสอบรัฐบาล แต่กรรมการสิทธิฯก็กำลังตรวจสอบการใช้ความรุนแรงจากฝั่งผู้ชุมนุมด้วยเช่นกัน @ มองในแง่ฐานเสียง เป็นไปได้หรือไม่ว่า ที่ประชาธิปัตย์ตัดสินใจมาอยู่ข้างพันธมิตรฯ เพราะมีฐานเสียงเดียวกันคือชนชั้นกลาง ผมคิดว่าเป็นไปได้ ในฐานะพรรคการเมืองเช่นเดียวกับพรรคการเมืองทุกๆ พรรค แต่ผมคิดว่าประชาธิปัตย์ต้องระวังให้ดีในการเอาเสียงคนกรุงเทพฯมาคำนวณ เพราะจริงๆ แล้ว ผู้เลือกตั้งใน กทม.ไม่เคยเป็นฐานเสียงถาวรของพรรคการเมืองไหนเลย ถ้าดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาผู้เลือกตั้งในกรุงเทพฯเป็น negative voter คือ เลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง พราะไม่ได้ชอบพรรคนั้น แต่เลือกเพื่อไปคานอำนาจกับกลุ่มอื่นๆ เช่นสมัยหนึ่งคนกรุงเทพฯเลือกประชาธิปัตย์ไปคานอำนาจทหาร หรือเลือกประชาธิปัตย์เพื่อไปคานไทยรักไทย หรือการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งล่าสุด ส่วนหนึ่งอาจไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้ประชาธิปัตย์ที่เลือกคุณอภิรักษ์ (โกษะโยธิน) แต่เลือกเพราะไม่ต้องการให้พลังประชาชนมีฐานเสียงใน กทม. ดังนั้นประชาธิปัตย์ต้องคิดเหตุผลลึกๆ ให้ดี เพราะคน กทม.เปลี่ยนไปตามกระแสมาตลอด ถ้าการเมืองเกิดพลิกผัน ประชาธิปัตย์ขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็เคยมีประวัติมาแล้วว่า ช่วงที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลคนก็ไปเลือกพรรคอื่นเพื่อมาคานดังนั้นประเด็นประชาธิปัตย์กับพันธมิตรฯ ผมคิดว่ามีประเด็นให้พูดถึงมากมาย แต่ถ้าประชาธิปัตย์มองถึงอนาคตในระยะยาว อย่ามองแค่ผลประโยชน์การเมืองในระยะสั้น สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ควรทำคือ การรักษาระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างพรรคกับพันธมิตรฯ เพื่อแก้ภาพที่จะเกิดขึ้นว่าประชาธิปัตย์เป็นพรรคพันธมิตรฯ หรือแก้ภาพที่บอกว่า ถ้าคุณอภิสิทธิ์ขึ้นมาเป็นนายกฯ ก็จะเป็นนายกฯพันธมิตรฯผมไม่ได้หมายความว่าพรรคการเมืองกับกลุ่มเคลื่อนไหวนอกสภามีความสัมพันธ์กันไม่ได้เลย หลายประเทศก็มีลักษณะเช่นนี้เชื่อมโยงกันอยู่ แต่เขาเชื่อมความสัมพันธ์กับหลายๆ กลุ่ม ไม่ใช่ไปผูกติดอยู่กับกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะพรรคการเมืองเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ โดยเฉพาะถ้าอยากชนะการเลือกตั้ง ได้เสียงข้างมากเป็นรัฐบาล พรรคการเมืองไม่สามารถที่จะเป็นตัวแทนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถ้าประชาธิปัตย์อยากได้เสียงข้างมากของทั้งประเทศ แล้วขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็ต้องรักษาระยะห่างที่เหมาะสม คือไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวทุกประเด็นของพันธมิตรฯ ประเด็นไหนที่ถูกต้องเหมาะสม ผมว่าก็เห็นด้วยได้ก็สนับสนุนไป ประเด็นไหนที่พันธมิตรฯเคลื่อนไหวไม่เหมาะสม ล้ำเส้น หรือกระทบต่อระบบรัฐสภา ผมว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องกล้าวิพากษ์วิจารณ์ แสดงจุดยืนให้เห็น เพราะอย่าลืมว่า คน 60 กว่าล้านคน ไม่ได้มีทุกคนที่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯทั้งหมด ฉะนั้น ถ้าประชาธิปัตย์ไม่แก้ภาพลักษณ์ว่าพรรคกลายเป็นพรรคการเมืองพันธมิตรฯ อีกหน่อยถ้าคุณอภิสิทธิ์ขึ้นมาเป็นนายกฯ คุณอภิสิทธิ์ก็จะเจอปัญหาแบบเดียวกันกับที่พรรคพลังประชาชนเจอ คือถูกกล่าวหาว่าเป็นพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของประชาชนแค่บางกลุ่ม ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ ก็อาจจะเจอภาวะแบบเดียวกัน เพราะอย่าลืมว่าอีกฝ่ายหนึ่งเขาก็สามารถจัดการชุมนุมได้อย่างที่พันธมิตรฯจัดการชุมนุมเช่นกัน @ มองบุคลิกภาพทางการเมืองของอภิสิทธิ์อย่างไร เป็นผู้นำทางการเมืองในอนาคตได้หรือไม่ผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์สร้างความผิดหวังให้กับคนหลายๆ คน แม้กระทั่งคนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ประชาธิปัตย์เองก็ตาม แต่ที่ยังเลือกอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะเป็น negative voting ก็คือต้องการให้มีพรรคใดพรรคหนึ่งไปคานพรรคพลังประชาชน ถามว่าทำไมคนผิดหวัง เพราะหากดูจากคุณวุฒิและวัยวุฒิ สังคมคาดหวังกับคุณอภิสิทธิ์มากกว่านี้ มากกว่าบทบาทที่คุณอภิสิทธิ์เล่นมาถึงปัจจุบัน พูดง่ายๆ ถ้าเป็นกีฬา คุณอภิสิทธิ์เล่นได้ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเล่น นี่พูดด้วยความห่วงใย เพราะการที่จะขึ้นมาบริหารประเทศ จะเก่งเรื่องวาทะทางการเมืองมันไม่พอ ต้องมีด้านที่เป็นผู้นำด้วย ที่จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคม อย่าง บารัก โอบามา ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ผมเคยไปฟังเขาพูด เขาเป็นนักโต้วาทีที่เก่งด้วย สะกดจิตคนได้อยู่หมัด แต่เขาไม่ได้มีแค่นั้น เพราะสิ่งที่สังคมอเมริกันคาดหวังคือ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ใช่ผู้นำที่พูดเก่งเท่านั้น แต่ต้องมีนโยบายที่แตกต่าง แล้วก็มีความเอาจริงเอาจัง มีวิสัยทัศน์ เป็นนักปฏิบัติได้ด้วย ซึ่งวันนี้สังคมไทยเองก็ต้องการความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เช่นกัน คนที่ไม่ชอบพลังประชาชนก็ไม่มีความหวังอื่นนอกจากประชาธิปัตย์ ฉะนั้นคุณอภิสิทธิ์ต้องเป็นมากกว่านี้ ต้องสร้างภาวะความเป็นผู้นำให้คนเห็นว่า ถ้าขึ้นมาแล้วจะบริหารประเทศได้ ไม่ใช่แค่การชนะการอภิปรายในสภาเท่านั้น พรรคประชาธิปัตย์เองก็ต้องมีนโยบายทางเลือกที่แตกต่าง เอาชนะใจคนทั้งประเทศให้ได้ ...
interview on coup and 3 stops
www.prachatai.com เว็บหนังสือพิมพ์ออนไลน์
สัมภาษณ์ ประจักษ์ ก้องกีรติ: ว่าด้วย ‘รัฐประหาร’ และแถลงการณ์ ‘3 หยุด’ ของเครือข่ายสันติประชาธรรม
ในบรรดาแถลงการณ์ทางการเมืองในระยะนี้ อันหนึ่งที่แหลมคมและน่าสนใจเป็นพิเศษคือ แถลงการณ์ของคณาจารย์และนักเคลื่อนไหวในนาม “เครือข่ายสันติประชาธรรม” และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2551 ซึ่งมีข้อเรียกร้องหลักใหญ่ใจความอยู่ 3 ข้อ คือ 1 ขอให้แกนนำการเคลื่อนไหวทุกฝ่ายหยุดนำมวลชนมาปะทะกัน 2 เรียกร้องต่อทุกภาคส่วนของสังคม หยุดให้ท้ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ 3 ขอเรียกร้องต่อผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ให้หยุดนำประเทศไปสู่อนาธิปไตยและการรัฐประหาร
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้จัดรายงาน “เช้าทันโลก” ประจำคลื่น 96.5 MHz (วันที่ 31 ต.ค.51) จึงได้สัมภาษณ์นักวิชาการคนหนึ่งในเครือข่ายดังกล่าว ‘ประจักษ์ ก้องกีรติ’ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งศึกษาเรื่องการรุนแรงทางการเมืองโดยตรง เพื่อขอคำขยายความต่อแถลงการณ์ดังกล่าว และขยายพรมแดนแห่งความรู้ว่าด้วยเรื่องความรุนแรงทางการเมือง การรัฐประหารของทั่วโลก
0000
กรรณิการ์: จากการสำรวจการรัฐประหารทั่วโลกมีรูปแบบเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
ประจักษ์: มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาการรัฐประหารทั่วโลก ข้อสรุปเบื้องต้นคือตอนนี้การรัฐประหารเป็นเรื่องล้าหลังทางการเมืองทั่วโลกไปแล้ว แม้แต่ทวีปซึ่งเคยขึ้นชื่อว่าเป็นทวีปแห่งการรัฐประหาร อย่างละตินอเมริกากับแอฟริกา เราก็พบสถิติว่าการรัฐประหารเป็นทางเลือกทางการเมืองที่แทบไม่มีการนำมาใช้แล้ว
กี่ปีแล้วที่ไม่มีการนำมาใช้แล้ว
ที่ลดลงอย่างชัดเจนคือตั้งแต่หลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และเกิดสิ่งที่เรียกว่าคุณค่าและระบอบประชาธิปไตยแบบสากลที่กระจายไปทั่วโลก คล้ายๆ เป็นคุณค่าที่ทั้งองค์กรระหว่างประเทศและประเทศมหาอำนาจยึดถือและพยายามกระจายเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในหลายกรณีก็เป็นเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือด้วยว่า ประเทศกำลังพัฒนา ถ้าอยากได้การช่วยเหลือก็ต้องมีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย
ทั้งหมดนี้ ด้วยเหตุผลในแง่วัฒนธรรมและคุณค่าแบบประชาธิปไตยและเหตุผลในทางปฏิบัติทางเศรษฐกิจเหล่านี้ ทำให้รัฐประหารเป็นทางเลือกที่ถ้าใครจะทำก็ต้องคิดหนัก
หมายความว่า เพราะโดนปัจจัยภายนอกกดดันด้วย แล้วไม่มีประเทศไหนในแถบนี้หรือที่อยากจะมีประชาธิปไตยแบบของตัวเอง อย่างที่ขณะนี้ เราได้ยินคนพูดว่า บางทีประชาธิปไตยแบบไทยๆ อาจยังจำเป็นอยู่
ผมว่า มีความเข้าใจผิดหลายประการเวลาเราพูดว่า ต้องมีประชาธิปไตยแบบของตัวเอง และจริงๆ แล้ววิธีคิดแบบนี้ ส่วนใหญ่จะถูกฉกฉวยไปโดยกลุ่มที่ไม่ได้อยากเป็นประชาธิปไตยเสียมากกว่า เป็นวาทกรรมที่ถูกใช้โดยฝ่ายเผด็จการทหารหรือฝ่ายอนุรักษ์นิยม ใช้เป็นข้ออ้างในการบิดเบือนความหมายของประชาธิปไตย
คือจริงๆ แล้วถ้าเราไปศึกษาดูประชาธิปไตยในแต่ละประเทศทั่วโลกไม่มีรูปแบบที่เหมือนกัน ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศมีลักษณะเฉพาะอยู่แล้ว เช่นเป็นแบบประธานาธิบดี หรือระบอบรัฐสภา กระทั่งในระบอบรัฐสภาเองก็มีรูปแบบการจัดการเลือกตั้งหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป หรือในระบอบประธานาธิบดีที่กำลังจะมีการเลือกตั้งเร็วๆ นี้ในสหรัฐฯ ก็จะพบว่า เขาก็มีรูปแบบการจัดการเลือกตั้งที่มีลักษณะเฉพาะของเขา มีการถ่วงดุลระหว่างฝ่ายต่างๆ เพราะฉะนั้นถ้าไปดูแล้ว ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศไม่เหมือนกันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าต้องมีลักษณะร่วม มีลักษณะพื้นฐานบางประการที่เราพอจะบอกได้ว่า ถ้ามีสิ่งเหล่านี้อย่างน้อยเรียกได้ว่า เป็นระบอบประชาธิปไตย คือถ้าเราไม่มีหลักการพื้นฐานบางอย่างที่จะมาแบ่ง มันจะยาก ทุกอย่างมันจะเบลอหมด เท่ากับว่า เราแยกไม่ได้แล้วว่าอันไหนเป็นเผด็จการ อันไหนเป็นประชาธิปไตย
ช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการรัฐประหาร ซึ่งแน่นอนว่าทั่วโลกตื่นตระหนกมาก เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว มีความเห็นอย่างไรถ้าหากว่าในช่วงห่างกันไม่กี่ปี แล้วเกิดขึ้นอีก
ผมคิดว่าจะมีผลกระทบหลายประการมากทีเดียว จากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยก็เคยอยู่กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มประเทศที่มีรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1960 กับ 1970 ซึ่งตรงกับช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ (ธนะรัชต์) จอมพลถนอม (กิตติขจร) พอดี ยุคนั้นเป็นยุคทองของรัฐประหารทั่วโลกในทุกทวีป รัฐบาลส่วนใหญ่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาถูกปกครองโดยเผด็จการทหารเป็นหลักและก็มีการรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง
พอมาถึงช่วงตั้งแต่หลังปี 2000 เป็นต้นมา มีการรัฐประหารต่อปี ต่ำกว่า 2 ครั้ง ไม่ 1 ครั้ง ก็ 2 ครั้งไม่เกินกว่านี้ แล้วส่วนใหญ่หลังจากรัฐประหารแล้วก็ไม่ได้มีการรัฐประหารซ้ำในเวลาใกล้เคียงกัน มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นประชาธิปไตย กลับไปสู่การเลือกตั้ง แต่ของไทยถ้าเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเวลาห่างกันแค่ประมาณสองปีเท่านั้น เราจะไปอยู่ในกลุ่มต้นๆ เลย ท็อปไฟว์ของประเทศที่ไร้เสถียรภาพทางการเมือง ประเด็นนี้สำคัญ
หมายถึงว่า ไม่มีใครเชื่อมั่นได้ว่าตกลงประเทศไทยจะปกครองด้วยระบอบอะไรกันแน่ กฎกติกาพื้นฐานที่ยอมรับร่วมกันก็ไม่มี ในความหมายที่ว่า วิธีขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาล และวิธีลงจากอำนาจของรัฐบาล ไม่มีความชัดเจนแน่นอน ก็คือยังไม่ยอมรับให้ประชาธิปไตยเป็นกติกาพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน หรือเป็นสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Rule of the game เป็นเกมเดียวที่เราจะเล่นกันก็คือต้องขึ้นสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้ง แล้วถ้าจะออกจากอำนาจก็มีขั้นตอนของมัน การอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการ impeachment ถ้าเป็นระบบประธานาธิบดี ของเราถ้าทำรัฐประหารอยู่อย่างนี้ ก็จะกลายเป็นว่าประเทศนี้ยอมรับให้การรัฐประหารกลายเป็นทางเลือกอันถาวรแล้วรึเปล่า แทนที่จะมีการเลือกตั้งก็มีรัฐประหารทุกปีสองปี เพื่อเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจในภาวะอย่างนี้จะไม่มีใครกล้ามาลงทุนโดยเด็ดขาด
อาจารย์พูดว่า หลังรัฐประหารส่วนใหญ่ หลายประเทศกลับไปสู่การเลือกตั้ง ประชาธิปไตยยังเดินหน้าต่อไปได้ หลายคนก็เลยบอกว่า น่าจะมีการเลือกตั้งอีกสักครั้งเดียว ขอครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว เพื่อให้ประเทศกลับไปอยู่ในที่ทางเดิมอีกครั้งหนึ่ง อาจารย์มองยังไง
หมายถึงครั้งไหนเป็นครั้งสุดท้ายครับ ครั้งที่แล้ว?
หมายถึงครั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น บางคนคาดหวังให้เกิดขึ้น หรือบางคนกำลังเชียร์ให้เกิดขึ้น หรือบางคนมองว่าเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ยังไงก็ต้องเกิดขึ้น
หมายถึงการรัฐประหารใช่ไหมครับ?
ใช่
คือผมคิดว่าการรัฐประหารเป็นทางเลือกที่ไม่ควรเลือกด้วยเหตุผลอย่างน้อยสี่ประการ ประการแรกคือ มันเป็นความรุนแรงในตัวเอง การรัฐประหารเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยการใช้ความรุนแรง
ประการที่สอง เมื่อทำรัฐประหารแล้ว ตอนนี้มีโอกาสที่จะถูกบอยคอตจากประชาคมโลกสูงมาก ทำให้แม้แต่ผู้นำทหารของแต่ละประเทศก็ไม่มีใครที่กล้าทำรัฐประหารแล้ว โอกาสที่จะถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลกสูงมาก ของไทยถ้าเกิดการรัฐประหารซ้อน 2 ครั้งในช่วงเวลาแค่ 2 ปี จะยิ่งมีโอกาสที่จะถูกบอยคอตจากประชาคมโลกมาก ครั้งที่แล้วเขายังอาจจะมองได้ว่า มีความขัดแย้งตึงเครียดสูง คือ เกิดครั้งที่ 1 คนก็ยังรอดูสถานการณ์ก่อน ตอนนี้กลับมาสู่ประชาธิปไตยแล้ว คนก็คิดว่ามันน่าจะเดินต่อไปได้ หลายๆ ประเทศเขาก็เดินต่อไปได้ ถ้าเรากลับไปทำรัฐประหารอีก โอกาสที่ครั้งนี้จะถูกบอยคอตจากประชาคมโลกสูงมาก จะไม่เหมือนครั้งที่แล้วแล้ว
ประการที่สาม บทเรียนจากทั่วโลกก็คือรัฐประหารแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ปรากฏว่ารัฐบาลที่มาหลังการรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่ทหารปกครองเอง หรือพลเรือนที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะทหาร ไม่ได้แก้ปัญหาได้ดีกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเลย ปัญหาคอร์รัปชั่นก็มีอยู่เช่นเดิม แล้วเป็นการคอร์รัปชั่นที่ยากแก้การตรวจสอบด้วย เพราะว่าปกครองภายใต้ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย บรรยากาศไม่เป็นประชาธิปไตย การตรวจสอบยิ่งยากขึ้น โอกาสที่ประชาชนจะไปชุมนุมกดดัน ประท้วง ใช้สิทธิเสรีภาพยิ่งน้อยลง ฉะนั้นแก้ปัญหาไม่ได้
ประการสุดท้าย ประการที่สี่ การรัฐประหารในหลายที่ปรากฏว่า รัฐประหารแล้วไม่จบ กลับทำให้ความขัดแย้งแตกขั้วแบ่งฝ่ายทางการเมืองยิ่งสูงขึ้น ในหลายประเทศลุกลามกลายไปเป็นสงครามกลางเมือง คือก่อนหน้ารัฐประหารมีวิกฤตอยู่ มีความขัดแย้งของประชาชนเป็นกลุ่มๆ ก็มีคนเรียกร้องให้ทหารออกมาสงบศึก มาทำรัฐประหาร แต่ปรากฏว่า มันเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้นมาก เป็นการมองระยะสั้น คือมันอาจจะหยุดได้ในชั่วขณะเฉพาะหน้า ปรากฏหลังจากนั้น ความรุนแรงหรือความขัดแย้งก็บานปลายขยายตัวไป เพราะมีคนที่รู้สึกว่าเขารับไม่ได้ หรือเสียงของเขาไม่ได้รับการแสดงออก อยู่ดีๆ ทหารมาล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตั้งมา ในหลายๆ ประเทศ เขาก็ยังสู้ต่อ จนบานปลายกลายไปเป็นสงครามการเมือง กลายเป็นว่าสถานการณ์ยิ่งแย่กว่าก่อนหน้าที่จะมีรัฐประหาร
เรากำลังพูดถึงรัฐประหารแบบที่รัฐประหารแบบเห็นๆ จริงๆ แต่ก็มีเหมือนกันที่บางคนเรียกว่า “รัฐประหารแบบนุ่มนวล” ประสบการณ์ในต่างประเทศมีไหม และผลตอบรับเป็นอย่างไร
มี อันนี้น่าสนใจมาก มีเทรนด์ใหม่ในการรัฐประหารเกิดขึ้น ภาษาทางวิชาการที่นักวิชาการบางท่านใช้ เขาเรียกว่า รัฐประหารใต้โต๊ะ (under the table coup) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการรัฐประหาร ไม่ได้ใช้อำนาจของกองทัพออกมายึดอำนาจอย่างโจ่งแจ้งแบบที่เราคุ้นชิน ไม่ได้เคลื่อนกำลังพล รถถัง ออกมาบนท้องถนนแล้วยึดอำนาจ วิธีนี้ทำด้วยยากอยู่แล้วด้วยเหตุผลประการที่ผมพูดไปก่อนหน้านี้ ปรากฏว่า กองทัพ ชนชั้นนำ ประชาชนจำนวนหนึ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลด้วยวิธีนอกระบบ ก็ค้นพบรูปแบบใหม่ คือ สิ่งที่เรียกว่าการกดดันรัฐบาลโดยกองทัพหลังฉาก ในหลายที่ รูปแบบนี้จะเป็นการทำงานร่วมกัน มีการประสานงานกันระหว่างฝ่ายกองทัพกับมวลชน โดยรูปแบบจะมีทั้งการเคลื่อนไหวที่ถูกกฎหมาย ผิดกฎหมาย ดูเหมือนถูกกฎหมาย พูดง่ายๆ ว่ามันซับซ้อนขึ้น
เช่น ในรอบ 7-8 ปีที่ผ่านมานี้ เอาเฉพาะในละตินอเมริกา สิ่งที่เรียกว่ารัฐประหารใต้โต๊ะหรือรัฐประหารทางอ้อมเกิดขึ้นใน 5 ประเทศ ในอาร์เจนตินา 2001 เวเนซูเอล่า 2002 ไฮติ 2004 เอกวาดอร์ 2005 โบลิเวีย 2005 รูปแบบคือ จะมีการชุมนุมประท้วงบนท้องถนน ประท้วงอย่างรุนแรง ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่น จงใจยั่วยุให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในสังคม ให้รัฐบาลปกครองไม่ได้ อันนี้จะต่างจากการชุมนุม ประท้วงของชาวนา ผู้ยากไร้กลุ่มต่างๆ ที่เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายบางอย่าง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเขา ยังยอมรับรัฐบาลนั้น เพียงแต่ต้องการให้แก้ปัญหา เป็นม็อบที่มุ่งต้องการให้เกิดการรัฐประหาร มีศัพท์คำนี้เลย หรือบางคนเรียกว่า เป็นการรัฐประหารโดยภาคประชาสังคม (civil society coup) เป็นศัพท์ที่ใช้ในหลายประเทศ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย เป็นการประท้วงกดดันแบบมุ่งแตกหักกับรัฐบาล
ทำให้รัฐบาลบริหารประเทศไม่ได้ ประเทศอยู่ในสภาวะอัมพาต เป็นรัฐล้มละลาย (failed state) แล้วจะส่งสัญญาณให้ทหารออกมากดดันอยู่หลังฉากไม่ว่าวิธีไหนก็ตาม อาจจะพูดกับสาธารณะโดยตรง เหมือนที่เกิดขึ้นกับกรณีของไทย ที่ผู้นำเหล่าทัพไปออกรายการโทรทัศน์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อ หรือผ่านทางอื่น ในที่สุดทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องออกจากอำนาจไป มีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง เป็นฝ่ายที่พลังอนุรักษ์นิยม พลังกองทัพต้องการให้มาบริหารประเทศแทน
อาจารย์พูดถึงโบลิเวียร์ในปี 2005 แต่ในที่สุดเขาก็สามารถได้รัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยด้วยและดูจะเข้าข้างคนจนคนยากไร้ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เราคาดหวังอย่างนั้นไม่ได้หรือ ในกรณีของไทย
ผมคิดว่ามันมีความเสี่ยงมาก หลักประกันที่จะทำให้เกิดรูปแบบนั้นขึ้นก็ยากมาก กรณีของไทยดูแล้วก็ยังมองไม่เห็นเท่าไร เวลาเราพิจารณาเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่นั้น ต้องดูทั้งเป้าหมายและวิธีการของกลุ่มผู้ชุมนุม ในหลายครั้งรูปแบบการชุมนุมของกลุ่มภาคประชาสังคมถ้าไม่ได้เรียกร้องไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หรือรัฐบาลที่มีนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นธรรมมากขึ้น อันนี้กลับยิ่งอันตราย หลายครั้งมันกลายเป็นเมื่อเราชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก สิ่งที่มาแทนที่กลับเป็นรัฐบาลที่มีประชาธิปไตยน้อยลง นโยบายเศรษฐกิจก็ไม่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น
ผมมองเห็นแนวโน้มที่ไม่ค่อยสดใสนักในเมืองไทย ประการแรกคือ การเรียกร้องการเมืองใหม่ โดยโจมตีความระบอบปัจจุบันมันน้ำเน่าแล้ว แก้ไขปัญหาประเทศไมได้ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าการเมืองใหม่คืออะไร สิ่งนี้อันตรายมาก เป็นการกดดันให้เปลี่ยนระบอบแต่เรายังไม่รู้เลยว่าจะเอาอะไรมาแทนที่
แต่ก็เริ่มมีคนพูดว่า จริงๆ แล้วลักษณะการเปลี่ยนผ่านด้วยการใช้ความรุนแรง การนองเลือด อาจเป็นความจำเป็น จากการศึกษาของอาจารย์มีประเทศไหนไหมที่เปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยได้โดยไม่ต้องเป็นแบบนี้
มี เช่นในโปแลนด์ ขบวนการโซลิดาลิตี้ เป็นการรวมตัวกันของกรรมกร ชนชั้นล่าง โค่นล้มระบอบคอมมิวนิสต์โดยไม่เกิดความรุนแรงการนองเลือด ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านแบบรุนแรงเสมอไป เปลี่ยนผ่านแบบสันติก็มี แน่นอน มันมีเงื่อนไข ปัจจัยหลายประการ และข้อมูลอาจทำให้เรากังวล เพราะการเปลี่ยนผ่านมาพร้อมกับการสูญเสีย ความรุนแรงจริง โดยเฉพาะการเปลี่ยนจากระบอบเผด็จการทหารมาเป็นประชาธิปไตย เราพบว่าในประเทศกำลังพัฒนาการเปลี่ยนผ่านแบบนั้นมักจะมีความรุนแรงตามมาด้วย โดยมีเหตุผลหลายประการ
เช่น โครงสร้างรัฐอ่อนแอ รวมทั้งการที่ธรรมชาติของระบอบเผด็จการทหารนั้นดื้อดึงต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมสูญเสียอำนาจ ผมว่าเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ของไทยก็อยู่ในประเภทนี้ ครั้งนั้นเราก็มีความสูญเสียเกิดขึ้น แต่มันยังมีสถิติที่น่าสนใจกว่าว่า หลังจากเปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว โค่นล้มทหารไปได้แล้ว หลังจากนั้นความรุนแรงจะลดลง เพราะอย่างน้อยมีระบอบรัฐสภา มีการเลือกตั้ง มีกลไกต่างๆ ขึ้นมาซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติมีมากขึ้น แม้ว่าจะมีผู้นำที่คอร์รัปชั่นขึ้นมาจากการเลือกตั้ง แต่ท้ายที่สุดแล้วเราพบว่าผู้นำคนนั้นสามารถถูกกำจัดไปด้วยกลไกภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
อันนี้เป็นการศึกษาในประเทศละตินอเมริกาและแอฟริกาใช่ไหม ตอนนี้ไม่กล้าเอาประเทศไทยไปเปรียบกับประเทศอื่นๆ
ประเทศไทยกำลังเป็นกรณีที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการรัฐศาสตร์ในหลายๆ ที่ คือ เป็นประเทศที่โดยสภาพแวดล้อม ปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม การเมืองต่างๆ ไม่ควรจะมีการรัฐประหารแล้ว แต่ก็ยังเกิดขึ้น
อยากให้อาจารย์พูดถึงประเทศไทย อาจารย์มองสังคมไทยยังไง บางคนมองว่ามันเลยจุดที่จะไม่มีความรุนแรงไปแล้ว เลยจุดที่จะเจรจา ประนีประนอมได้แล้ว ยังไงก็ต้องเกิดความรุนแรง หรือถ้าไม่ อะไรคือทางเลือกทางออก
ขอค้านคำพูดนี้เลย คนที่ศึกษาเรื่องความรุนแรงทางการเมืองและความขัดแย้งทางการเมืองทั่วโลก ไม่ว่ามันจะขัดแย้งกันขนาดไหน บางประเทศเกิดความรุนแรงแล้วขนานใหญ่ ท้ายที่สุดแล้วเขาก็กลับมาเจรจากันได้ เพราะมันยากที่จะหาทางออกเป็นอย่างอื่น รบกันไปเสียเลือดเนื้อกันทั้งคู่ ประเทศก็เสียหายไปก่อนแล้ว บอบช้ำจนไม่เหลืออะไร ในแอฟริกาขัดแย้งรุนแรงกว่าเราด้วยซ้ำเขาก็ยังเจรจาได้ จึงไม่เห็นด้วยกับคำว่า เลยจุดที่จะเจรจาแล้ว ของเราจริงๆ โอเค คนอาจจะรู้สึกว่าตึงเครียดและหาทางออกไม่ได้ มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แต่ระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นยังน้อยกว่าในแอฟริกา ละตินอเมริกาด้วยซ้ำ ทำไมจะเจราจาไม่ได้ จุดที่จะเจรจามีเยอะแยะ
ประการที่สอง ในส่วนเรื่องความรุนแรง ผมคิดว่ามันมีโอกาสป้องกันไม่ให้เกิดได้ แต่สังคม พลังเงียบต้องมีส่วนร่วมด้วย เพราะจากประสบการณ์ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในยุโรปหรือในละตินอเมริกา ปรากฏว่าสังคมที่เป็นพลังเงียบนิ่งเฉย แล้วปล่อยให้การปะทะขัดแย้งบนท้องถนนนำไปสู่จุดที่สุดโต่ง ทั้งๆ ที่กลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่บนท้องถนนอาจจะไม่ใช่ตัวแทนของคนทั้งประเทศ แต่ว่าส่งเสียงดัง สามารถเคลื่อนไหวได้คึกโครม มีการยั่วยุ สื่อสนใจรายงานจนดูเหมือนว่าทั้งประเทศมีแต่คนสุดโต่งที่จะห้ำหั่นกันให้ได้ซึ่งมันไม่จริง ในยุโรปก็แสดงให้เห็นว่า ไม่จริง ในละตินอเมริกาก็ไม่จริง แต่เพราะการเงียบ นิ่งเฉย เลยเหลือแต่คนสุดโต่งสองข้างสู้กัน จนเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การรัฐประหารบ้าง นำไปสู่ความรุนแรงบ้าง ทั้งๆ ที่ไม่ควรจะเกิด ดังนั้น พลังเงียบต้องออกมาส่งเสียงมากกว่านี้ กดดันทั้งสองฝ่ายให้หันหน้าเข้าหากันแล้วเจรจากัน
ก่อนจะไปถึงทางเลือกทางออกที่เป็นรูปธรรมที่เครือข่ายสันติประชาธรรมนำเสนอ มันมีการตั้งข้อสังเกตว่า หรือว่าความรุนแรง การใช้กำลัง หรือบางคนยกมหากาพย์ภควคีตา คือ จำเป็นต้องใช้กำลังเพื่อการสูญเสียที่จะลุกลามมากกว่านี้
ผมว่าอันนี้เป็นวิธีคิดที่อันตราย โดยเฉพาะในสังคมที่ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่ามีกลุ่มที่คิดแตกต่างกัน มีการแบ่งขั้ว ถ้ามีการใช้กำลังเข้ามาโดยกองทัพ ด้วยข้ออ้างที่ว่าจะมาทำให้เกิดความสงบ จากแนวโน้มต่างๆ คิดว่ายากที่จะเกิดความสงบขึ้น ถ้ามีการรัฐประหาร พูดง่ายๆ มีกลุ่มที่แสดงตัวชัดเจนแล้วว่าจะต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้ มันไม่น่าจะหยุดได้ มองด้วยความวิตกกังวลมากกว่า และกลับมองว่าความขัดแย้งแบ่งฝ่ายทางการเมืองมันจะขยายตัวสูงขึ้น
และกองทัพก็ไม่ได้ถูกฝึกมาให้จัดการกับการชุมนุมเคลื่อนไหวโดยสันติวิธีอยู่แล้ว แต่ถูกฝึกมาให้รบกับข้าศึกศัตรู ดังนั้น ถ้าเกิดการต่อต้านรัฐประหารของประชาชนโดยสันติ กองทัพจะทำยังไง ถ้าถึงจุดหนึ่งกองทัพไม่สามารถทำให้สงบได้ ถ้ากองทัพเลือกใช้วิธีปราบ ความขัดแย้งจะยิ่งลุกลามขยายตัวไปมากขึ้น ผมคิดว่า ตรงนี้ยังมองไม่เห็นว่ามันจะเกิดการแทรกแซงเข้ามาแล้วจะเกิดความสงบได้
เราจะไม่เห็นภาพที่รถถังออกมา คนไปให้ดอกไม้ อะไรแบบนั้นแล้ว
ผมคิดว่าสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว ถ้าเรามองโลกในแง่ร้ายซักหน่อย คนอาจจะบอกว่าการรัฐประหาร 19 กันยาไม่ใช่การรัฐประหารครั้งสุดท้ายของสังคมไทย ผมก็ยังวิตกกังวลอยู่ แต่ผมอยากจะพูดว่าการรัฐประหาร 19 กันยา อาจเป็นการรัฐประหารที่ไม่นองเลือดครั้งสุดท้ายในเมืองไทย การรัฐประหารที่จะตามมาหลังจากนี้นั้นยากแล้วที่จะไม่นำไปสู่ความรุนแรง หรือการจลาจลหลังจากนั้น
ข้อเสนอของกลุ่มอาจารย์ต่อสังคมทั้งพลังเงียบ พลังไม่เงียบ คืออะไร
จริงๆ ข้อเสนอของเรา 3 หยุด เป็นข้อเสนอที่มาจากพื้นฐานที่ยังเชื่อว่ายังสามารถหาทางออกได้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยด้วยกลไกแบบประชาธิปไตย โดยไม่ต้องเกิดความรุนแรง และไม่ต้องใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญ ก็คือ การรัฐประหาร ไม่ว่าอย่างเข้มหรืออย่างอ่อน บนโต๊ะหรือใต้โต๊ะ เราเชื่อว่ายังมีทางออก สังคมไทยยังไม่เลวร้ายขนาดนั้น ข้อหนึ่ง หยุดเอามวลชนมาปะทะ ก็เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงที่จะกลายเป็นเงื่อนไขให้มีการแทรกแซงโดยกองทัพได้ หรือข้อสาม หยุดอนาธิปไตยและรัฐประหาร ก็เกี่ยวเนื่องกัน คือ อย่าใช้วิธีนอกรัฐธรรมนูญ สื่อมวลชน สังคมเองก็อย่าไปเรียกร้อง สร้างแรงกดดันทหารให้เข้ามาแทรกแซง ข้อสอง หลายคนไปติดที่ถ้อยคำ หยุดให้ท้ายพันธมิตรฯ เลยออกมาวิพากษ์วิจารณ์รุนแรง
ต้องให้อาจารย์ช่วยขยายความด้วยว่า หยุดให้ท้ายพันธมิตรฯ คืออะไร
ถ้าไปอ่านโดยละเอียดแล้วคืออย่างนี้ เรามองว่าในสังคมตอนนี้ที่เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้น ปมของวิกฤตถูกผูกขึ้นมาจากทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือ ทั้งรัฐบาลและพันธมิตรฯ มีส่วนในการสร้างปมความขัดแย้งและทำให้ปมความขัดแย้งแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ การคลี่คลายปมความขัดแย้งต้องมากจากทั้งสองฝ่ายไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้น ถ้าเราวิจารณ์ก็ต้องวิจารณ์ทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้สติ เพราะถ้าวิจารณ์ฝ่ายเดียว อีกฝ่ายหนึ่งก็จะคิดว่าตัวเองถูกหมด อีกฝ่ายผิดหมด
ผมว่าสถานการณ์ทางการเมืองตอนนี้ ยากที่จะบอกแล้วว่าใครถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ ผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่สถานการณ์ขาว-ดำ เทพ-มาร เมื่อทั้งสองฝ่ายมีทั้งผิดและถูก และมีส่วนทำให้สถานการณ์ความรุนแรงขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เราจึงเรียกร้อง จริงๆ เราไม่ได้เรียกร้องต่อพันธมิตรฯ และรัฐบาล แต่เราเรียกร้องต่อภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักวิชาการ เอ็นจีโอ ประชาชนทั่วไป ให้หยุดที่จะใช้อารมณ์เป็นตัวตั้ง และมองเห็นอีกฝ่ายที่ตนไม่ชอบเป็นศัตรู และผิดร้อยเปอร์เซ็นต์โดยมองไม่เห็นความผิดของฝ่ายที่ตนสนับสนุนเลย
ถ้าจะพูดกันตรงไปตรงมาก็คือ ถ้าเรารักภาคประชาชนจริง รักพันธมิตรฯ จริง เราต้องวิจารณ์พันธมิตรฯ เพราะสถาบันทางการเมืองหรือกลุ่มทางการเมืองที่เคลื่อนไหวแล้วไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เลย ก็จะอ่อนแอลง หรือเคลื่อนไหวออกนอกลู่นอกทางไปได้ถ้าไม่ถูกตรวจสอบเลย โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์จากกัลยาณมิตรเพื่อสะท้อนให้เห็นตัวเอง ทบทวนสิ่งที่กำลังทำ เบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายเบื้องต้นหรือเปล่า
คำถามสุดท้าย พลังเงียบควรทำยังไง
พลังเงียบทำได้หลายอย่าง อันหนึ่งที่เป็นรูปธรรม ผมสนใจข้อเสนอของกลุ่มสันติวิธีหลายกลุ่ม หรือข้อเสนอของพระไพศาลที่ออกมาเสนอก่อนหน้านี้แล้วคนไม่ได้ตอบรับเท่าไร คือ การขอปลดอาวุธจากทั้งสองฝ่าย คือ ทั้ง นปช.และพันธมิตร หรือไม่ว่ากลุ่มไหน อันนี้พลังเงียบต้องออกมาช่วยกันส่งเสียง ถ้าไม่พกพาอาวุธเลย อย่างน้อยถ้ามีการปะทะกัน มันก็ไม่บาดเจ็บมากมาย ไม่เกิดการล้มตายขึ้น แล้วมันจะทำให้การต่อสู้ภาคประชาชนเป็นแบบอหิงสาอย่างแท้จริง ไม่ใช่แบบใช้บ้างไม่ใช้บ้าง อันนี้อันตราย
เงื่อนไขอีกประการที่จะทำได้ อาจเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ในการที่จะสลายอัตลักษณ์เรื่องสีลงไป อันนี้ทุกคนช่วยกันทำได้ ไม่ว่าจะเชียร์ฝ่ายไหน ไม่ต้องพยายามไปเสริมให้ความแตกต่างขัดแย้งตรงนั้นขยายตัวมากขึ้น เพราะประสบการณ์หลายประเทศ เช่น รวันดา คนฆ่ากันเพราะว่าความแตกต่างทางอัตลักษณ์ ทั้งที่จริงๆ เคยเป็นเพื่อนบ้านกันมาก่อน อาจจะเคยแต่งงานข้ามเชื้อชาติกันด้วยซ้ำ พลังเงียบต้องช่วยกันตรงนี้ ในกลุ่มเพื่อนสูง ครอบครัวก็ต้องคุยกันมากขึ้นไม่ใช่เอาการเมืองมาทำให้ทะเลาะกันไม่คุยกัน เพราะตอนนี้การเมืองแทรกซึมไปทุกที่ แบ่งแยกกันด้วยสีแบบง่ายๆ ว่าอยู่ฝ่ายไหน
จริงๆ ผมอยากเห็นการชุมนุมของทั้งพันธมิตรฯ และนปช.ใส่เสื้อสีอันหลากหลาย ไม่จำเป็นต้องไปพันธมิตรฯ และใส่สีเหลืองอย่างเดียว หรือไป นปช.ก็ต้องแดงอย่างเดียว ถ้ามันหลากหลายมันจะลดความแตกต่างที่ไม่จำเป็นลงไป อย่าไปมองว่าฝ่ายแดงผิดตลอดกาล เห็นคนใส่เสื้อแดงบนถนนก็มองเขาด้วยสายตาแปลกๆ หรือจะไปทำร้ายร่างกายเขา เรื่องการลดทอนความแตกต่างตรงนี้พลังเงียบช่วยได้
..........................................
เกี่ยวข้อง
‘เครือข่ายสันติประชาธรรม’ ล่าชื่อผ่านเว็บ เรียกร้องแกนนำพธม.มอบตัว-เลิกภาวะฉุกเฉิน
เครือข่ายสันติประชาธรรมรณรงค์หยุดนำมวลชนปะทะ หยุดให้ท้ายพันธมิตร หยุดอนาธิปไตยและรัฐประหาร
ผบ.ทบ.ปัด ‘ปฎิวัติ’ เว้นแต่นองเลือดอาจออกมา ‘หยุดการใช้อำนาจ’
โดย : ประชาไท วันที่ : 31/10/2551
เข้าชม : 1383 แสดงความคิดเห็น : 0
-->
สัมภาษณ์ ประจักษ์ ก้องกีรติ: ว่าด้วย ‘รัฐประหาร’ และแถลงการณ์ ‘3 หยุด’ ของเครือข่ายสันติประชาธรรม
ในบรรดาแถลงการณ์ทางการเมืองในระยะนี้ อันหนึ่งที่แหลมคมและน่าสนใจเป็นพิเศษคือ แถลงการณ์ของคณาจารย์และนักเคลื่อนไหวในนาม “เครือข่ายสันติประชาธรรม” และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2551 ซึ่งมีข้อเรียกร้องหลักใหญ่ใจความอยู่ 3 ข้อ คือ 1 ขอให้แกนนำการเคลื่อนไหวทุกฝ่ายหยุดนำมวลชนมาปะทะกัน 2 เรียกร้องต่อทุกภาคส่วนของสังคม หยุดให้ท้ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ 3 ขอเรียกร้องต่อผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ให้หยุดนำประเทศไปสู่อนาธิปไตยและการรัฐประหาร
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้จัดรายงาน “เช้าทันโลก” ประจำคลื่น 96.5 MHz (วันที่ 31 ต.ค.51) จึงได้สัมภาษณ์นักวิชาการคนหนึ่งในเครือข่ายดังกล่าว ‘ประจักษ์ ก้องกีรติ’ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งศึกษาเรื่องการรุนแรงทางการเมืองโดยตรง เพื่อขอคำขยายความต่อแถลงการณ์ดังกล่าว และขยายพรมแดนแห่งความรู้ว่าด้วยเรื่องความรุนแรงทางการเมือง การรัฐประหารของทั่วโลก
0000
กรรณิการ์: จากการสำรวจการรัฐประหารทั่วโลกมีรูปแบบเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
ประจักษ์: มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาการรัฐประหารทั่วโลก ข้อสรุปเบื้องต้นคือตอนนี้การรัฐประหารเป็นเรื่องล้าหลังทางการเมืองทั่วโลกไปแล้ว แม้แต่ทวีปซึ่งเคยขึ้นชื่อว่าเป็นทวีปแห่งการรัฐประหาร อย่างละตินอเมริกากับแอฟริกา เราก็พบสถิติว่าการรัฐประหารเป็นทางเลือกทางการเมืองที่แทบไม่มีการนำมาใช้แล้ว
กี่ปีแล้วที่ไม่มีการนำมาใช้แล้ว
ที่ลดลงอย่างชัดเจนคือตั้งแต่หลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และเกิดสิ่งที่เรียกว่าคุณค่าและระบอบประชาธิปไตยแบบสากลที่กระจายไปทั่วโลก คล้ายๆ เป็นคุณค่าที่ทั้งองค์กรระหว่างประเทศและประเทศมหาอำนาจยึดถือและพยายามกระจายเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในหลายกรณีก็เป็นเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือด้วยว่า ประเทศกำลังพัฒนา ถ้าอยากได้การช่วยเหลือก็ต้องมีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย
ทั้งหมดนี้ ด้วยเหตุผลในแง่วัฒนธรรมและคุณค่าแบบประชาธิปไตยและเหตุผลในทางปฏิบัติทางเศรษฐกิจเหล่านี้ ทำให้รัฐประหารเป็นทางเลือกที่ถ้าใครจะทำก็ต้องคิดหนัก
หมายความว่า เพราะโดนปัจจัยภายนอกกดดันด้วย แล้วไม่มีประเทศไหนในแถบนี้หรือที่อยากจะมีประชาธิปไตยแบบของตัวเอง อย่างที่ขณะนี้ เราได้ยินคนพูดว่า บางทีประชาธิปไตยแบบไทยๆ อาจยังจำเป็นอยู่
ผมว่า มีความเข้าใจผิดหลายประการเวลาเราพูดว่า ต้องมีประชาธิปไตยแบบของตัวเอง และจริงๆ แล้ววิธีคิดแบบนี้ ส่วนใหญ่จะถูกฉกฉวยไปโดยกลุ่มที่ไม่ได้อยากเป็นประชาธิปไตยเสียมากกว่า เป็นวาทกรรมที่ถูกใช้โดยฝ่ายเผด็จการทหารหรือฝ่ายอนุรักษ์นิยม ใช้เป็นข้ออ้างในการบิดเบือนความหมายของประชาธิปไตย
คือจริงๆ แล้วถ้าเราไปศึกษาดูประชาธิปไตยในแต่ละประเทศทั่วโลกไม่มีรูปแบบที่เหมือนกัน ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศมีลักษณะเฉพาะอยู่แล้ว เช่นเป็นแบบประธานาธิบดี หรือระบอบรัฐสภา กระทั่งในระบอบรัฐสภาเองก็มีรูปแบบการจัดการเลือกตั้งหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป หรือในระบอบประธานาธิบดีที่กำลังจะมีการเลือกตั้งเร็วๆ นี้ในสหรัฐฯ ก็จะพบว่า เขาก็มีรูปแบบการจัดการเลือกตั้งที่มีลักษณะเฉพาะของเขา มีการถ่วงดุลระหว่างฝ่ายต่างๆ เพราะฉะนั้นถ้าไปดูแล้ว ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศไม่เหมือนกันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าต้องมีลักษณะร่วม มีลักษณะพื้นฐานบางประการที่เราพอจะบอกได้ว่า ถ้ามีสิ่งเหล่านี้อย่างน้อยเรียกได้ว่า เป็นระบอบประชาธิปไตย คือถ้าเราไม่มีหลักการพื้นฐานบางอย่างที่จะมาแบ่ง มันจะยาก ทุกอย่างมันจะเบลอหมด เท่ากับว่า เราแยกไม่ได้แล้วว่าอันไหนเป็นเผด็จการ อันไหนเป็นประชาธิปไตย
ช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการรัฐประหาร ซึ่งแน่นอนว่าทั่วโลกตื่นตระหนกมาก เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว มีความเห็นอย่างไรถ้าหากว่าในช่วงห่างกันไม่กี่ปี แล้วเกิดขึ้นอีก
ผมคิดว่าจะมีผลกระทบหลายประการมากทีเดียว จากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยก็เคยอยู่กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มประเทศที่มีรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1960 กับ 1970 ซึ่งตรงกับช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ (ธนะรัชต์) จอมพลถนอม (กิตติขจร) พอดี ยุคนั้นเป็นยุคทองของรัฐประหารทั่วโลกในทุกทวีป รัฐบาลส่วนใหญ่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาถูกปกครองโดยเผด็จการทหารเป็นหลักและก็มีการรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง
พอมาถึงช่วงตั้งแต่หลังปี 2000 เป็นต้นมา มีการรัฐประหารต่อปี ต่ำกว่า 2 ครั้ง ไม่ 1 ครั้ง ก็ 2 ครั้งไม่เกินกว่านี้ แล้วส่วนใหญ่หลังจากรัฐประหารแล้วก็ไม่ได้มีการรัฐประหารซ้ำในเวลาใกล้เคียงกัน มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นประชาธิปไตย กลับไปสู่การเลือกตั้ง แต่ของไทยถ้าเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเวลาห่างกันแค่ประมาณสองปีเท่านั้น เราจะไปอยู่ในกลุ่มต้นๆ เลย ท็อปไฟว์ของประเทศที่ไร้เสถียรภาพทางการเมือง ประเด็นนี้สำคัญ
หมายถึงว่า ไม่มีใครเชื่อมั่นได้ว่าตกลงประเทศไทยจะปกครองด้วยระบอบอะไรกันแน่ กฎกติกาพื้นฐานที่ยอมรับร่วมกันก็ไม่มี ในความหมายที่ว่า วิธีขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาล และวิธีลงจากอำนาจของรัฐบาล ไม่มีความชัดเจนแน่นอน ก็คือยังไม่ยอมรับให้ประชาธิปไตยเป็นกติกาพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน หรือเป็นสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Rule of the game เป็นเกมเดียวที่เราจะเล่นกันก็คือต้องขึ้นสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้ง แล้วถ้าจะออกจากอำนาจก็มีขั้นตอนของมัน การอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการ impeachment ถ้าเป็นระบบประธานาธิบดี ของเราถ้าทำรัฐประหารอยู่อย่างนี้ ก็จะกลายเป็นว่าประเทศนี้ยอมรับให้การรัฐประหารกลายเป็นทางเลือกอันถาวรแล้วรึเปล่า แทนที่จะมีการเลือกตั้งก็มีรัฐประหารทุกปีสองปี เพื่อเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจในภาวะอย่างนี้จะไม่มีใครกล้ามาลงทุนโดยเด็ดขาด
อาจารย์พูดว่า หลังรัฐประหารส่วนใหญ่ หลายประเทศกลับไปสู่การเลือกตั้ง ประชาธิปไตยยังเดินหน้าต่อไปได้ หลายคนก็เลยบอกว่า น่าจะมีการเลือกตั้งอีกสักครั้งเดียว ขอครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว เพื่อให้ประเทศกลับไปอยู่ในที่ทางเดิมอีกครั้งหนึ่ง อาจารย์มองยังไง
หมายถึงครั้งไหนเป็นครั้งสุดท้ายครับ ครั้งที่แล้ว?
หมายถึงครั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น บางคนคาดหวังให้เกิดขึ้น หรือบางคนกำลังเชียร์ให้เกิดขึ้น หรือบางคนมองว่าเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ยังไงก็ต้องเกิดขึ้น
หมายถึงการรัฐประหารใช่ไหมครับ?
ใช่
คือผมคิดว่าการรัฐประหารเป็นทางเลือกที่ไม่ควรเลือกด้วยเหตุผลอย่างน้อยสี่ประการ ประการแรกคือ มันเป็นความรุนแรงในตัวเอง การรัฐประหารเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยการใช้ความรุนแรง
ประการที่สอง เมื่อทำรัฐประหารแล้ว ตอนนี้มีโอกาสที่จะถูกบอยคอตจากประชาคมโลกสูงมาก ทำให้แม้แต่ผู้นำทหารของแต่ละประเทศก็ไม่มีใครที่กล้าทำรัฐประหารแล้ว โอกาสที่จะถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลกสูงมาก ของไทยถ้าเกิดการรัฐประหารซ้อน 2 ครั้งในช่วงเวลาแค่ 2 ปี จะยิ่งมีโอกาสที่จะถูกบอยคอตจากประชาคมโลกมาก ครั้งที่แล้วเขายังอาจจะมองได้ว่า มีความขัดแย้งตึงเครียดสูง คือ เกิดครั้งที่ 1 คนก็ยังรอดูสถานการณ์ก่อน ตอนนี้กลับมาสู่ประชาธิปไตยแล้ว คนก็คิดว่ามันน่าจะเดินต่อไปได้ หลายๆ ประเทศเขาก็เดินต่อไปได้ ถ้าเรากลับไปทำรัฐประหารอีก โอกาสที่ครั้งนี้จะถูกบอยคอตจากประชาคมโลกสูงมาก จะไม่เหมือนครั้งที่แล้วแล้ว
ประการที่สาม บทเรียนจากทั่วโลกก็คือรัฐประหารแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ปรากฏว่ารัฐบาลที่มาหลังการรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่ทหารปกครองเอง หรือพลเรือนที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะทหาร ไม่ได้แก้ปัญหาได้ดีกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเลย ปัญหาคอร์รัปชั่นก็มีอยู่เช่นเดิม แล้วเป็นการคอร์รัปชั่นที่ยากแก้การตรวจสอบด้วย เพราะว่าปกครองภายใต้ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย บรรยากาศไม่เป็นประชาธิปไตย การตรวจสอบยิ่งยากขึ้น โอกาสที่ประชาชนจะไปชุมนุมกดดัน ประท้วง ใช้สิทธิเสรีภาพยิ่งน้อยลง ฉะนั้นแก้ปัญหาไม่ได้
ประการสุดท้าย ประการที่สี่ การรัฐประหารในหลายที่ปรากฏว่า รัฐประหารแล้วไม่จบ กลับทำให้ความขัดแย้งแตกขั้วแบ่งฝ่ายทางการเมืองยิ่งสูงขึ้น ในหลายประเทศลุกลามกลายไปเป็นสงครามกลางเมือง คือก่อนหน้ารัฐประหารมีวิกฤตอยู่ มีความขัดแย้งของประชาชนเป็นกลุ่มๆ ก็มีคนเรียกร้องให้ทหารออกมาสงบศึก มาทำรัฐประหาร แต่ปรากฏว่า มันเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้นมาก เป็นการมองระยะสั้น คือมันอาจจะหยุดได้ในชั่วขณะเฉพาะหน้า ปรากฏหลังจากนั้น ความรุนแรงหรือความขัดแย้งก็บานปลายขยายตัวไป เพราะมีคนที่รู้สึกว่าเขารับไม่ได้ หรือเสียงของเขาไม่ได้รับการแสดงออก อยู่ดีๆ ทหารมาล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตั้งมา ในหลายๆ ประเทศ เขาก็ยังสู้ต่อ จนบานปลายกลายไปเป็นสงครามการเมือง กลายเป็นว่าสถานการณ์ยิ่งแย่กว่าก่อนหน้าที่จะมีรัฐประหาร
เรากำลังพูดถึงรัฐประหารแบบที่รัฐประหารแบบเห็นๆ จริงๆ แต่ก็มีเหมือนกันที่บางคนเรียกว่า “รัฐประหารแบบนุ่มนวล” ประสบการณ์ในต่างประเทศมีไหม และผลตอบรับเป็นอย่างไร
มี อันนี้น่าสนใจมาก มีเทรนด์ใหม่ในการรัฐประหารเกิดขึ้น ภาษาทางวิชาการที่นักวิชาการบางท่านใช้ เขาเรียกว่า รัฐประหารใต้โต๊ะ (under the table coup) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการรัฐประหาร ไม่ได้ใช้อำนาจของกองทัพออกมายึดอำนาจอย่างโจ่งแจ้งแบบที่เราคุ้นชิน ไม่ได้เคลื่อนกำลังพล รถถัง ออกมาบนท้องถนนแล้วยึดอำนาจ วิธีนี้ทำด้วยยากอยู่แล้วด้วยเหตุผลประการที่ผมพูดไปก่อนหน้านี้ ปรากฏว่า กองทัพ ชนชั้นนำ ประชาชนจำนวนหนึ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลด้วยวิธีนอกระบบ ก็ค้นพบรูปแบบใหม่ คือ สิ่งที่เรียกว่าการกดดันรัฐบาลโดยกองทัพหลังฉาก ในหลายที่ รูปแบบนี้จะเป็นการทำงานร่วมกัน มีการประสานงานกันระหว่างฝ่ายกองทัพกับมวลชน โดยรูปแบบจะมีทั้งการเคลื่อนไหวที่ถูกกฎหมาย ผิดกฎหมาย ดูเหมือนถูกกฎหมาย พูดง่ายๆ ว่ามันซับซ้อนขึ้น
เช่น ในรอบ 7-8 ปีที่ผ่านมานี้ เอาเฉพาะในละตินอเมริกา สิ่งที่เรียกว่ารัฐประหารใต้โต๊ะหรือรัฐประหารทางอ้อมเกิดขึ้นใน 5 ประเทศ ในอาร์เจนตินา 2001 เวเนซูเอล่า 2002 ไฮติ 2004 เอกวาดอร์ 2005 โบลิเวีย 2005 รูปแบบคือ จะมีการชุมนุมประท้วงบนท้องถนน ประท้วงอย่างรุนแรง ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่น จงใจยั่วยุให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในสังคม ให้รัฐบาลปกครองไม่ได้ อันนี้จะต่างจากการชุมนุม ประท้วงของชาวนา ผู้ยากไร้กลุ่มต่างๆ ที่เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายบางอย่าง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเขา ยังยอมรับรัฐบาลนั้น เพียงแต่ต้องการให้แก้ปัญหา เป็นม็อบที่มุ่งต้องการให้เกิดการรัฐประหาร มีศัพท์คำนี้เลย หรือบางคนเรียกว่า เป็นการรัฐประหารโดยภาคประชาสังคม (civil society coup) เป็นศัพท์ที่ใช้ในหลายประเทศ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย เป็นการประท้วงกดดันแบบมุ่งแตกหักกับรัฐบาล
ทำให้รัฐบาลบริหารประเทศไม่ได้ ประเทศอยู่ในสภาวะอัมพาต เป็นรัฐล้มละลาย (failed state) แล้วจะส่งสัญญาณให้ทหารออกมากดดันอยู่หลังฉากไม่ว่าวิธีไหนก็ตาม อาจจะพูดกับสาธารณะโดยตรง เหมือนที่เกิดขึ้นกับกรณีของไทย ที่ผู้นำเหล่าทัพไปออกรายการโทรทัศน์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อ หรือผ่านทางอื่น ในที่สุดทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องออกจากอำนาจไป มีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง เป็นฝ่ายที่พลังอนุรักษ์นิยม พลังกองทัพต้องการให้มาบริหารประเทศแทน
อาจารย์พูดถึงโบลิเวียร์ในปี 2005 แต่ในที่สุดเขาก็สามารถได้รัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยด้วยและดูจะเข้าข้างคนจนคนยากไร้ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เราคาดหวังอย่างนั้นไม่ได้หรือ ในกรณีของไทย
ผมคิดว่ามันมีความเสี่ยงมาก หลักประกันที่จะทำให้เกิดรูปแบบนั้นขึ้นก็ยากมาก กรณีของไทยดูแล้วก็ยังมองไม่เห็นเท่าไร เวลาเราพิจารณาเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่นั้น ต้องดูทั้งเป้าหมายและวิธีการของกลุ่มผู้ชุมนุม ในหลายครั้งรูปแบบการชุมนุมของกลุ่มภาคประชาสังคมถ้าไม่ได้เรียกร้องไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หรือรัฐบาลที่มีนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นธรรมมากขึ้น อันนี้กลับยิ่งอันตราย หลายครั้งมันกลายเป็นเมื่อเราชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก สิ่งที่มาแทนที่กลับเป็นรัฐบาลที่มีประชาธิปไตยน้อยลง นโยบายเศรษฐกิจก็ไม่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น
ผมมองเห็นแนวโน้มที่ไม่ค่อยสดใสนักในเมืองไทย ประการแรกคือ การเรียกร้องการเมืองใหม่ โดยโจมตีความระบอบปัจจุบันมันน้ำเน่าแล้ว แก้ไขปัญหาประเทศไมได้ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าการเมืองใหม่คืออะไร สิ่งนี้อันตรายมาก เป็นการกดดันให้เปลี่ยนระบอบแต่เรายังไม่รู้เลยว่าจะเอาอะไรมาแทนที่
แต่ก็เริ่มมีคนพูดว่า จริงๆ แล้วลักษณะการเปลี่ยนผ่านด้วยการใช้ความรุนแรง การนองเลือด อาจเป็นความจำเป็น จากการศึกษาของอาจารย์มีประเทศไหนไหมที่เปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยได้โดยไม่ต้องเป็นแบบนี้
มี เช่นในโปแลนด์ ขบวนการโซลิดาลิตี้ เป็นการรวมตัวกันของกรรมกร ชนชั้นล่าง โค่นล้มระบอบคอมมิวนิสต์โดยไม่เกิดความรุนแรงการนองเลือด ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านแบบรุนแรงเสมอไป เปลี่ยนผ่านแบบสันติก็มี แน่นอน มันมีเงื่อนไข ปัจจัยหลายประการ และข้อมูลอาจทำให้เรากังวล เพราะการเปลี่ยนผ่านมาพร้อมกับการสูญเสีย ความรุนแรงจริง โดยเฉพาะการเปลี่ยนจากระบอบเผด็จการทหารมาเป็นประชาธิปไตย เราพบว่าในประเทศกำลังพัฒนาการเปลี่ยนผ่านแบบนั้นมักจะมีความรุนแรงตามมาด้วย โดยมีเหตุผลหลายประการ
เช่น โครงสร้างรัฐอ่อนแอ รวมทั้งการที่ธรรมชาติของระบอบเผด็จการทหารนั้นดื้อดึงต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมสูญเสียอำนาจ ผมว่าเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ของไทยก็อยู่ในประเภทนี้ ครั้งนั้นเราก็มีความสูญเสียเกิดขึ้น แต่มันยังมีสถิติที่น่าสนใจกว่าว่า หลังจากเปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว โค่นล้มทหารไปได้แล้ว หลังจากนั้นความรุนแรงจะลดลง เพราะอย่างน้อยมีระบอบรัฐสภา มีการเลือกตั้ง มีกลไกต่างๆ ขึ้นมาซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติมีมากขึ้น แม้ว่าจะมีผู้นำที่คอร์รัปชั่นขึ้นมาจากการเลือกตั้ง แต่ท้ายที่สุดแล้วเราพบว่าผู้นำคนนั้นสามารถถูกกำจัดไปด้วยกลไกภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
อันนี้เป็นการศึกษาในประเทศละตินอเมริกาและแอฟริกาใช่ไหม ตอนนี้ไม่กล้าเอาประเทศไทยไปเปรียบกับประเทศอื่นๆ
ประเทศไทยกำลังเป็นกรณีที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการรัฐศาสตร์ในหลายๆ ที่ คือ เป็นประเทศที่โดยสภาพแวดล้อม ปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม การเมืองต่างๆ ไม่ควรจะมีการรัฐประหารแล้ว แต่ก็ยังเกิดขึ้น
อยากให้อาจารย์พูดถึงประเทศไทย อาจารย์มองสังคมไทยยังไง บางคนมองว่ามันเลยจุดที่จะไม่มีความรุนแรงไปแล้ว เลยจุดที่จะเจรจา ประนีประนอมได้แล้ว ยังไงก็ต้องเกิดความรุนแรง หรือถ้าไม่ อะไรคือทางเลือกทางออก
ขอค้านคำพูดนี้เลย คนที่ศึกษาเรื่องความรุนแรงทางการเมืองและความขัดแย้งทางการเมืองทั่วโลก ไม่ว่ามันจะขัดแย้งกันขนาดไหน บางประเทศเกิดความรุนแรงแล้วขนานใหญ่ ท้ายที่สุดแล้วเขาก็กลับมาเจรจากันได้ เพราะมันยากที่จะหาทางออกเป็นอย่างอื่น รบกันไปเสียเลือดเนื้อกันทั้งคู่ ประเทศก็เสียหายไปก่อนแล้ว บอบช้ำจนไม่เหลืออะไร ในแอฟริกาขัดแย้งรุนแรงกว่าเราด้วยซ้ำเขาก็ยังเจรจาได้ จึงไม่เห็นด้วยกับคำว่า เลยจุดที่จะเจรจาแล้ว ของเราจริงๆ โอเค คนอาจจะรู้สึกว่าตึงเครียดและหาทางออกไม่ได้ มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แต่ระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นยังน้อยกว่าในแอฟริกา ละตินอเมริกาด้วยซ้ำ ทำไมจะเจราจาไม่ได้ จุดที่จะเจรจามีเยอะแยะ
ประการที่สอง ในส่วนเรื่องความรุนแรง ผมคิดว่ามันมีโอกาสป้องกันไม่ให้เกิดได้ แต่สังคม พลังเงียบต้องมีส่วนร่วมด้วย เพราะจากประสบการณ์ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในยุโรปหรือในละตินอเมริกา ปรากฏว่าสังคมที่เป็นพลังเงียบนิ่งเฉย แล้วปล่อยให้การปะทะขัดแย้งบนท้องถนนนำไปสู่จุดที่สุดโต่ง ทั้งๆ ที่กลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่บนท้องถนนอาจจะไม่ใช่ตัวแทนของคนทั้งประเทศ แต่ว่าส่งเสียงดัง สามารถเคลื่อนไหวได้คึกโครม มีการยั่วยุ สื่อสนใจรายงานจนดูเหมือนว่าทั้งประเทศมีแต่คนสุดโต่งที่จะห้ำหั่นกันให้ได้ซึ่งมันไม่จริง ในยุโรปก็แสดงให้เห็นว่า ไม่จริง ในละตินอเมริกาก็ไม่จริง แต่เพราะการเงียบ นิ่งเฉย เลยเหลือแต่คนสุดโต่งสองข้างสู้กัน จนเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การรัฐประหารบ้าง นำไปสู่ความรุนแรงบ้าง ทั้งๆ ที่ไม่ควรจะเกิด ดังนั้น พลังเงียบต้องออกมาส่งเสียงมากกว่านี้ กดดันทั้งสองฝ่ายให้หันหน้าเข้าหากันแล้วเจรจากัน
ก่อนจะไปถึงทางเลือกทางออกที่เป็นรูปธรรมที่เครือข่ายสันติประชาธรรมนำเสนอ มันมีการตั้งข้อสังเกตว่า หรือว่าความรุนแรง การใช้กำลัง หรือบางคนยกมหากาพย์ภควคีตา คือ จำเป็นต้องใช้กำลังเพื่อการสูญเสียที่จะลุกลามมากกว่านี้
ผมว่าอันนี้เป็นวิธีคิดที่อันตราย โดยเฉพาะในสังคมที่ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่ามีกลุ่มที่คิดแตกต่างกัน มีการแบ่งขั้ว ถ้ามีการใช้กำลังเข้ามาโดยกองทัพ ด้วยข้ออ้างที่ว่าจะมาทำให้เกิดความสงบ จากแนวโน้มต่างๆ คิดว่ายากที่จะเกิดความสงบขึ้น ถ้ามีการรัฐประหาร พูดง่ายๆ มีกลุ่มที่แสดงตัวชัดเจนแล้วว่าจะต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้ มันไม่น่าจะหยุดได้ มองด้วยความวิตกกังวลมากกว่า และกลับมองว่าความขัดแย้งแบ่งฝ่ายทางการเมืองมันจะขยายตัวสูงขึ้น
และกองทัพก็ไม่ได้ถูกฝึกมาให้จัดการกับการชุมนุมเคลื่อนไหวโดยสันติวิธีอยู่แล้ว แต่ถูกฝึกมาให้รบกับข้าศึกศัตรู ดังนั้น ถ้าเกิดการต่อต้านรัฐประหารของประชาชนโดยสันติ กองทัพจะทำยังไง ถ้าถึงจุดหนึ่งกองทัพไม่สามารถทำให้สงบได้ ถ้ากองทัพเลือกใช้วิธีปราบ ความขัดแย้งจะยิ่งลุกลามขยายตัวไปมากขึ้น ผมคิดว่า ตรงนี้ยังมองไม่เห็นว่ามันจะเกิดการแทรกแซงเข้ามาแล้วจะเกิดความสงบได้
เราจะไม่เห็นภาพที่รถถังออกมา คนไปให้ดอกไม้ อะไรแบบนั้นแล้ว
ผมคิดว่าสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว ถ้าเรามองโลกในแง่ร้ายซักหน่อย คนอาจจะบอกว่าการรัฐประหาร 19 กันยาไม่ใช่การรัฐประหารครั้งสุดท้ายของสังคมไทย ผมก็ยังวิตกกังวลอยู่ แต่ผมอยากจะพูดว่าการรัฐประหาร 19 กันยา อาจเป็นการรัฐประหารที่ไม่นองเลือดครั้งสุดท้ายในเมืองไทย การรัฐประหารที่จะตามมาหลังจากนี้นั้นยากแล้วที่จะไม่นำไปสู่ความรุนแรง หรือการจลาจลหลังจากนั้น
ข้อเสนอของกลุ่มอาจารย์ต่อสังคมทั้งพลังเงียบ พลังไม่เงียบ คืออะไร
จริงๆ ข้อเสนอของเรา 3 หยุด เป็นข้อเสนอที่มาจากพื้นฐานที่ยังเชื่อว่ายังสามารถหาทางออกได้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยด้วยกลไกแบบประชาธิปไตย โดยไม่ต้องเกิดความรุนแรง และไม่ต้องใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญ ก็คือ การรัฐประหาร ไม่ว่าอย่างเข้มหรืออย่างอ่อน บนโต๊ะหรือใต้โต๊ะ เราเชื่อว่ายังมีทางออก สังคมไทยยังไม่เลวร้ายขนาดนั้น ข้อหนึ่ง หยุดเอามวลชนมาปะทะ ก็เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงที่จะกลายเป็นเงื่อนไขให้มีการแทรกแซงโดยกองทัพได้ หรือข้อสาม หยุดอนาธิปไตยและรัฐประหาร ก็เกี่ยวเนื่องกัน คือ อย่าใช้วิธีนอกรัฐธรรมนูญ สื่อมวลชน สังคมเองก็อย่าไปเรียกร้อง สร้างแรงกดดันทหารให้เข้ามาแทรกแซง ข้อสอง หลายคนไปติดที่ถ้อยคำ หยุดให้ท้ายพันธมิตรฯ เลยออกมาวิพากษ์วิจารณ์รุนแรง
ต้องให้อาจารย์ช่วยขยายความด้วยว่า หยุดให้ท้ายพันธมิตรฯ คืออะไร
ถ้าไปอ่านโดยละเอียดแล้วคืออย่างนี้ เรามองว่าในสังคมตอนนี้ที่เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้น ปมของวิกฤตถูกผูกขึ้นมาจากทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือ ทั้งรัฐบาลและพันธมิตรฯ มีส่วนในการสร้างปมความขัดแย้งและทำให้ปมความขัดแย้งแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ การคลี่คลายปมความขัดแย้งต้องมากจากทั้งสองฝ่ายไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้น ถ้าเราวิจารณ์ก็ต้องวิจารณ์ทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้สติ เพราะถ้าวิจารณ์ฝ่ายเดียว อีกฝ่ายหนึ่งก็จะคิดว่าตัวเองถูกหมด อีกฝ่ายผิดหมด
ผมว่าสถานการณ์ทางการเมืองตอนนี้ ยากที่จะบอกแล้วว่าใครถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ ผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่สถานการณ์ขาว-ดำ เทพ-มาร เมื่อทั้งสองฝ่ายมีทั้งผิดและถูก และมีส่วนทำให้สถานการณ์ความรุนแรงขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เราจึงเรียกร้อง จริงๆ เราไม่ได้เรียกร้องต่อพันธมิตรฯ และรัฐบาล แต่เราเรียกร้องต่อภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักวิชาการ เอ็นจีโอ ประชาชนทั่วไป ให้หยุดที่จะใช้อารมณ์เป็นตัวตั้ง และมองเห็นอีกฝ่ายที่ตนไม่ชอบเป็นศัตรู และผิดร้อยเปอร์เซ็นต์โดยมองไม่เห็นความผิดของฝ่ายที่ตนสนับสนุนเลย
ถ้าจะพูดกันตรงไปตรงมาก็คือ ถ้าเรารักภาคประชาชนจริง รักพันธมิตรฯ จริง เราต้องวิจารณ์พันธมิตรฯ เพราะสถาบันทางการเมืองหรือกลุ่มทางการเมืองที่เคลื่อนไหวแล้วไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เลย ก็จะอ่อนแอลง หรือเคลื่อนไหวออกนอกลู่นอกทางไปได้ถ้าไม่ถูกตรวจสอบเลย โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์จากกัลยาณมิตรเพื่อสะท้อนให้เห็นตัวเอง ทบทวนสิ่งที่กำลังทำ เบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายเบื้องต้นหรือเปล่า
คำถามสุดท้าย พลังเงียบควรทำยังไง
พลังเงียบทำได้หลายอย่าง อันหนึ่งที่เป็นรูปธรรม ผมสนใจข้อเสนอของกลุ่มสันติวิธีหลายกลุ่ม หรือข้อเสนอของพระไพศาลที่ออกมาเสนอก่อนหน้านี้แล้วคนไม่ได้ตอบรับเท่าไร คือ การขอปลดอาวุธจากทั้งสองฝ่าย คือ ทั้ง นปช.และพันธมิตร หรือไม่ว่ากลุ่มไหน อันนี้พลังเงียบต้องออกมาช่วยกันส่งเสียง ถ้าไม่พกพาอาวุธเลย อย่างน้อยถ้ามีการปะทะกัน มันก็ไม่บาดเจ็บมากมาย ไม่เกิดการล้มตายขึ้น แล้วมันจะทำให้การต่อสู้ภาคประชาชนเป็นแบบอหิงสาอย่างแท้จริง ไม่ใช่แบบใช้บ้างไม่ใช้บ้าง อันนี้อันตราย
เงื่อนไขอีกประการที่จะทำได้ อาจเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ในการที่จะสลายอัตลักษณ์เรื่องสีลงไป อันนี้ทุกคนช่วยกันทำได้ ไม่ว่าจะเชียร์ฝ่ายไหน ไม่ต้องพยายามไปเสริมให้ความแตกต่างขัดแย้งตรงนั้นขยายตัวมากขึ้น เพราะประสบการณ์หลายประเทศ เช่น รวันดา คนฆ่ากันเพราะว่าความแตกต่างทางอัตลักษณ์ ทั้งที่จริงๆ เคยเป็นเพื่อนบ้านกันมาก่อน อาจจะเคยแต่งงานข้ามเชื้อชาติกันด้วยซ้ำ พลังเงียบต้องช่วยกันตรงนี้ ในกลุ่มเพื่อนสูง ครอบครัวก็ต้องคุยกันมากขึ้นไม่ใช่เอาการเมืองมาทำให้ทะเลาะกันไม่คุยกัน เพราะตอนนี้การเมืองแทรกซึมไปทุกที่ แบ่งแยกกันด้วยสีแบบง่ายๆ ว่าอยู่ฝ่ายไหน
จริงๆ ผมอยากเห็นการชุมนุมของทั้งพันธมิตรฯ และนปช.ใส่เสื้อสีอันหลากหลาย ไม่จำเป็นต้องไปพันธมิตรฯ และใส่สีเหลืองอย่างเดียว หรือไป นปช.ก็ต้องแดงอย่างเดียว ถ้ามันหลากหลายมันจะลดความแตกต่างที่ไม่จำเป็นลงไป อย่าไปมองว่าฝ่ายแดงผิดตลอดกาล เห็นคนใส่เสื้อแดงบนถนนก็มองเขาด้วยสายตาแปลกๆ หรือจะไปทำร้ายร่างกายเขา เรื่องการลดทอนความแตกต่างตรงนี้พลังเงียบช่วยได้
..........................................
เกี่ยวข้อง
‘เครือข่ายสันติประชาธรรม’ ล่าชื่อผ่านเว็บ เรียกร้องแกนนำพธม.มอบตัว-เลิกภาวะฉุกเฉิน
เครือข่ายสันติประชาธรรมรณรงค์หยุดนำมวลชนปะทะ หยุดให้ท้ายพันธมิตร หยุดอนาธิปไตยและรัฐประหาร
ผบ.ทบ.ปัด ‘ปฎิวัติ’ เว้นแต่นองเลือดอาจออกมา ‘หยุดการใช้อำนาจ’
โดย : ประชาไท วันที่ : 31/10/2551
เข้าชม : 1383 แสดงความคิดเห็น : 0
-->
Sunday, October 26, 2008
Tuesday, October 21, 2008
debate
open special
วิวาทะจาก ‘ประจักษ์ ก้องกีรติ’
Posted By Open On 12th October 2006 @ 11:22
- ประจักษ์ ก้องกีรติ -
ผมอ่านบทความของอาจารย์ไชยันต์ ไชยพร เรื่อง [1] “ธงชัย-ชัยวัฒน์ กับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” แล้วมีประเด็นหลายประเด็นที่ผมอยากจะแลกเปลี่ยนด้วย ดังนี้
1. ข้อความที่ว่า “แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสภาวะวิสัยอยู่อย่างหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยก็คือรัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะเป็นฝ่ายรุก-บ่อนทำลายหรือสร้างสถานการณ์เพื่อความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงเข้าตอบโต้หรือสยบกระแสต่อต้านตน รัฐบาลมีหน้าที่เป็นฝ่ายตั้งรับหรือถอยต่างหาก”
ข้อความข้างต้นนั้นถูกต้องอย่างแน่แท้ แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสภาวะวิสัยหรือ guiding principle ในระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยการใช้กำลังอำนาจของคณะทหารนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้และขาดความชอบธรรม ยิ่งกว่านั้น นอกจากรัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะสร้างสถานการณ์เพื่อความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงเข้าตอบโต้ประชาชนดังข้อความข้างต้นเสนอ ประชาชนเองก็ไม่มีสิทธิและไม่ควรเลือกยุทธศาสตร์ทางการเมืองในการสร้างสถานการณ์เพื่อความชอบธรรมต่อการรัฐประหารด้วยเช่นกัน
การรัฐประหารนั้นผิดทั้งทางการเมืองและจริยธรรม จากมุมมองของเสรีนิยมประชาธิปไตย
เหตุที่การรัฐประหารผิดและยอมรับไม่ได้ทางการเมือง เพราะการรัฐประหารคือการใช้กำลังอำนาจเข้ายุติสิ่งที่เรียกว่า “การเมือง” ทำให้พื้นที่ทางการเมืองหดแคบลง ทำให้เราไม่อาจดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในความหมายของการโต้ตอบหรือใช้เหตุผลมาแลกเปลี่ยนโน้มน้าวหักล้างกันได้อย่างเสรี กลับไปสู่สภาพธรรมชาติที่ the might is right, and the might is law
จะมากจะน้อยเราก็ต้องยอมรับว่ากิจกรรมทางการเมืองยังดำเนินไปได้ภายใต้รัฐบาลทักษิณไม่ใช่หรือ กลุ่มพันธมิตรฯ สามารถเคลื่อนไหว จัดชุมนุม ระดมคนมาได้เป็นหมื่นเป็นแสน แต่ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร ไม่มีหลักประกันอะไรทั้งสิ้นทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติที่เราจะชุมนุมโดยไม่ถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรง วันนี้ไม่โดน แต่ไม่ได้หมายความว่าวันหน้าจะไม่ ยิ่งถ้าหากการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารได้แรงสนับสนุนจากประชาชนไปถึงจุดที่สั่นคลอนและเป็นอันตรายกับรัฐบาลรัฐประหาร
ปัญหาหรือโจทย์ที่เราควรคิดกันคือ เราจะจัดการกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่เมื่อเสวยอำนาจแล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นรัฐบาลอำนาจนิยม ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างไร โดยไม่ต้องใช้วิถีทางรัฐประหาร นี่เป็นโจทก์ของสังคมประชาธิปไตยไม่ใช่หรือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมากมายนับไม่ถ้วนในโลกนี้ก็คอร์รัปชั่น หาผลประโยชน์ใส่ตัว และลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่พลเมืองต้องต่อสู้ ต่อรองและหาทางกำกับควบคุมภายใต้กรอบกติกาประชาธิปไตย เพราะหากเรายอมรับและให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร เราจะอยู่ด้วยกันต่อไปภายใต้กรอบการเมืองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยได้อย่างไร รัฐธรรมนูญ (ในฐานะกฎกติกาของการอยู่ร่วมกันหรือสัญญาประชาคมทางการเมือง) ที่จะเหนื่อยยากทุ่มเทร่างขึ้นมาใช้กันใหม่นั้นจะมีความหมายอะไร ในเมื่อมันถูกฉีกทิ้งได้ง่ายๆ แถมนักวิชาการและประชาชนส่วนมากก็ยอมรับมันได้ด้วย
หากเราเริ่มต้นจากการยอมรับรัฐประหาร (และการฉีกรัฐธรรมนูญ) ว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะร่างขึ้นมาใช้กันนั้น จะมีความศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร จะมีหลักประกันอะไรว่ามันจะไม่ถูกฉีกอีกในอนาคตอันใกล้ รัฐธรรมนูญก็จะเป็นแค่ถุงกล้วยแขกเท่านั้น ใช้จนน้ำมันเยิ้มเมื่อไร ก็ฉีกทิ้ง เปลี่ยนถุงใหม่
ถ้าจะเอากันอย่างนั้น ผมเสนอให้ทำสองอย่าง
หนึ่ง น่าจะกำหนดไปเลยในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ให้มีการทบทวนเปลี่ยนรัฐธรรมนูญกันทุก ๆ ห้าปี (อาจจะสั้นหรือนานกว่านั้นแล้วแต่จะตกลงกัน)
สอง หากไม่สามารถหาทางออกในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองภายใต้กฎกติกาในระบอบประชาธิปไตย “ตามที่ระบุไว้ในมาตราอื่นๆ แล้ว” ให้กองทัพใช้ดุลยพินิจในการทำรัฐประหารได้ ตามประเพณีของประชาธิปไตยแบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรืออาจจะจัดให้มีการทำประชามติทั้งประเทศให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะให้กองทัพทำรัฐประหารหรือไม่ ถ้าบัญญัติให้การรัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญได้เช่นนี้ เมื่อทำรัฐประหารคราวหน้าก็จะได้ไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญกันอีก ไม่ต้องเสียเวลาร่างกันใหม่ ไหนๆ ก็เป็นรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมแล้ว ทำให้เป็นลายลักษณ์เสียเลยไม่ดีกว่าหรือ ถ้าเราทำได้ทั้งสองข้อนี้ คงจะเป็นนวัตกรรมทางการเมืองที่วิเศษไม่น้อยที่เราจะมอบเป็นของขวัญให้กับชุมชนชาวโลก และเราก็จะสามารถอวดอ้างได้อย่างเต็มปากว่าเรามีประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของเราจริงๆ ไม่ซ้ำและไม่ลอกเลียนแบบใครทั้งสิ้น
2. สำหรับนักวิชาการที่ให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร คำถามคือ อะไรคือฐานของความชอบธรรมของการขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง? ผมอยากให้นักวิชาการที่พยายามให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารพูดออกมาให้ชัดๆ ผมยอมรับได้ถ้าจะ defend มันด้วยหลักการ “อเสรีนิยม”, อำนาจนิยม, ชนชั้นนำนิยม หรืออะไรก็ได้ บอกมาชัดๆ เลยว่า การรัฐประหารชอบธรรมเพราะประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ไม่ดี ยุติความขัดแย้งไม่ได้ ทำให้คนจนๆ มามีอำนาจตัดสินใจว่าใครจะเป็นรัฐบาลแทนที่จะเป็นชนชั้นนำผู้มีการศึกษา สังคมไทยไม่ต้องการการเลือกตั้งไม่ได้เป็นฐานที่มาชอบความชอบธรรม ฯลฯ ผมว่ามันซื่อสัตย์และดีกว่าการที่จะมานั่งชี้แจงว่ามันเป็นประชาธิปไตยแบบพิเศษๆ แบบไทยๆ อย่างไร
3. การเปรียบเทียบระหว่างรัฐประหาร 19 กันยาฯ กับ 6 ตุลาฯ ในกรณี 6 ตุลาฯ นั้น ออกจะไม่ถูกต้องเที่ยงตรงนักที่จะบอกว่า คู่ขัดแย้ง คือ “ฝ่ายนิสิตนักศึกษา vs ฝ่ายขวาจัด อันได้แก่ กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง นวพล ฯลฯ” ชวนให้เข้าใจไปว่า 6 ตุลาฯ เป็นการทะเลาะขัดแย้งกันของประชาชนสองฝ่าย อันที่จริงแล้ว กลไกรัฐที่ประกอบด้วย บางส่วนของกองทัพ ตำรวจ หน่วยงานความมั่นคง และชนชั้นนำตามประเพณีต่างหากที่เป็นคู่ขัดแย้งกับขบวนการนักศึกษา-กรรมกร-ชาวนา กลุ่มองค์กรฝ่ายขวาที่เอ่ยถึงนั้นถูกจัดตั้งและสนับสนุนโดยกลไกรัฐทั้งสิ้น กลไกรัฐใช้กลุ่มฝ่ายขวาเป็นเครื่องมือในการทำลายความเข้มแข็งของขบวนการฝ่ายก้าวหน้า โดยที่รัฐไม่ต้องออกหน้าเอง และรัฐก็จงใจสร้างสถานการณ์ให้เกิดการปะทะ การเผชิญหน้า จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรงเข้าปราบปราม และรัฐเองอ้างความชอบธรรมในการรัฐประหารในที่สุด การรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาฯ จึงเป็นกรณีที่กลุ่มอำนาจประเพณีบวกกับกลไกความมั่นคงในรัฐส่วนหนึ่งร่วมมือกันทำลายขบวนการฝ่ายซ้าย ปลิดชีพรัฐบาลพลเรือนและฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ (ฉบับ 2517) ไปพร้อมๆ กัน
การอธิบายคู่ขัดแย้งในกรณี 19 กันยาฯ ก็ออกจะคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงถ้าจะบอกว่ามันคือ ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ซึ่งชวนให้เข้าใจไปว่าเป็นความขัดแย้งคลาสสิคระหว่างขบวนการประชาชนผู้รักความเป็นธรรมกับรัฐบาลทรราช เพราะถ้าจะมีอะไรที่เป็นความต่อเนื่องจากรัฐประหาร 6 ตุลาฯ มาสู่กรณีรัฐประหาร 19 กันยาฯ ก็คือ กลุ่มอำนาจเก่าหรือชนชั้นนำตามประเพณีกลุ่มเดิมกลับมาเป็นคู่ขัดแย้งหลักที่สำคัญอีกเหมือนเดิม และมีบทบาทสำคัญขั้นชี้ขาดในผลลัพธ์ทางการเมืองที่ปรากฎออกมาเหมือนที่เคยมีบทบาทสำคัญในกรณี 6 ตุลาฯ คู่ขัดแย้งจึงไม่ใช่แค่ “ฝ่ายพันธมิตรและประชาชนทั่วไปจำนวนหนึ่ง vs ฝ่ายรักษาการรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” แต่เป็นกลุ่มชนชั้นนำตามประเพณี+กลไกรัฐบางส่วน (กองทัพที่จงรักภักดีต่อกลุ่มอำนาจเก่า)+ฝ่ายพันธมิตร VS รัฐบาลรักษาการทักษิณ+กลุ่มองค์ประชาชนจากชนบทจำนวนหนึ่ง (คาราวานคนจน) ต่างหาก
กล่าวเฉพาะกรณีพันธมิตร โดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ได้กลายเป็นกองหน้าในการเคลื่อนไหวให้กับอุดมการณ์และผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำประเพณี ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ในแง่บทบาททางประวัติศาสตร์ พันธมิตรเล่นบทเดียวกับกลุ่มองค์กรฝ่ายขวา (แม้ว่าอุดมการณ์ทางการเมืองจะแตกต่างกัน) ในการมีส่วนหนุนช่วยหรือกรุยทางให้กับการรัฐประหาร
ข้อต่างระหว่างสองเหตุการณ์คือ ในกรณี 6 ตุลาฯ ชนชั้นนำประเพณีและกลไกรัฐเลือดเย็นอย่างยิ่งในการสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายและลงมือใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมด้วยตนเอง ที่น่าเศร้าคือความรุนแรงที่รัฐเองเป็นผู้ก่อ (ไม่ใช่รัฐบาลพลเรือนซึ่งตอนนั้นไม่มีอำนาจในการควบคุมกลไกรัฐฝ่ายความมั่นคง) ถูกใช้เป็นเหตุผลในการรัฐประหาร ด้วยการบอกว่ารัฐบาลพลเรือนไร้น้ำยา ไม่มีความสามารถในการควบคุมความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ ส่วนกรณี 19 กันยาฯ ฝ่ายชนชั้นนำและกลไกรัฐอ้างความรุนแรงเป็นเหตุผลในการทำรัฐประหารเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยเช่นกัน ต่างตรงที่ความรุนแรงที่อ้าง เป็นความรุนแรงที่ยังไม่เกิด และไม่แน่ว่าจะเกิด เป็นความรุนแรงในจินตนาการที่ถูกใช้เป็นข้ออ้างให้กับการรัฐประหาร
น่าสนใจว่า ความรุนแรงถูกใช้เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารของกลุ่มชนชั้นนำได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ คำถามคือ เมื่อตอน 6 ตุลาฯ ถ้าฝ่ายชนชั้นนำประเพณีและทหารรักและห่วงใยชีวิตประชาชนจริง เหตุใดจึงปล่อยให้เกิดการใช้ความรุนแรงอย่างเหี้ยมโหดซึ่งดำเนินต่อเนื่องยาวนานหลายชั่วโมง โดยไม่ทำรัฐประหาร (pre-emptive coup) ตัดหน้าแบบคราว 19 กันยาฯ คำตอบดูจะอยู่ที่ว่า ฝ่ายประชาชนที่จะถูกปราบปรามนั้นเป็นคู่ปฏิปักษ์กับกล่มชนชั้นนำประเพณีที่พวกเขาต้องการกวาดล้างอยู่แล้ว ในกรณี 19 กันยาฯ ความรุนแรงซึ่งไม่มีท่าทีว่าจะเกิดขึ้นถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร ปิดโอกาสการเลือกตั้งที่จะมาถึง เปิดทางให้กับการจัดระเบียบอำนาจในหมู่ชนชั้นนำเสียใหม่ คำถามคือ การอ้างเหตุผลเช่นนี้ (การอ้างถึงสถานการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่) มาล้มรัฐบาลฟังขึ้นหรือ ควรถูกยอมรับให้เป็นบรรทัดฐานในการให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารหรือ? ประโยคที่ว่า “หรือแม้ว่ามีการตัดสินยุบพรรคแล้ว ก็คงจะไม่ยอมรับ โดยปลุกกระแสประชาชนขึ้นมาให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในสังคม จนต้องล้มกระดานอยู่ดี” นั้น ออกจะเป็นการคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าไปมากอยู่หรือไม่? เข้าทำนองหาเหตุผลย้อนหลังมารองรับการรัฐประหารหรือไม่
ประเด็นปัญหาจึงไม่ใช่แค่เรื่องใครถอย ไม่ถอยเพียงเท่านั้น แต่อยู่ที่ฝ่ายประชาชนและนักวิชาการที่ต่อสู้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทักษิณนั้น ยึดหลักการประชาธิปไตยอย่างเหนียวแน่นในการต่อสู้มากน้อยเพียงใด หรือยอมรับวิธีการใดก็ได้ในการกำจัดรัฐบาลที่ตนไม่ชอบใจ ถ้าเป็นอย่างหลัง ขบวนการประชาชนก็เป็นมาคิอาเวลลีที่ยอมให้เป้าหมายมารองรับให้ความชอบธรรมกับวิธีการ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่า “รัฐประหารเกิดขึ้นเพราะพันธมิตรไม่ยอมถอย” ใช่หรือไม่ พันธมิตรและคนที่สนับสนุนพันธมิตรคงไม่ต้องมานั่งแก้ตัวแก้ต่างในเรื่องนี้ เพราะปัญหาอยู่ที่ว่าการเคลื่อนไหวของพันธมิตรเรียกหาการรัฐประหาร (และวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญอื่นๆ) มาตั้งแต่ต้นต่างหาก และเมื่อการรัฐประหารเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ต่อต้านคัดค้าน แถมยังช่วยหาเหตุผลให้ความชอบธรรมเสียด้วย
ในสังคมการเมืองใดๆ จริยธรรมความรับผิดชอบของผู้นำนั้นสำคัญแน่นอน แต่จริยธรรมความรับผิดชอบของประชาชนพลเมืองที่เคลื่อนไหวทางการเมืองก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน
Article printed from onopen.com - โอเพ่นออนไลน์: http://www.onopen.com
URL to article: http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/1065
URLs in this post:[1] “ธงชัย-ชัยวัฒน์ กับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” : http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/1055
วิวาทะจาก ‘ประจักษ์ ก้องกีรติ’
Posted By Open On 12th October 2006 @ 11:22
- ประจักษ์ ก้องกีรติ -
ผมอ่านบทความของอาจารย์ไชยันต์ ไชยพร เรื่อง [1] “ธงชัย-ชัยวัฒน์ กับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” แล้วมีประเด็นหลายประเด็นที่ผมอยากจะแลกเปลี่ยนด้วย ดังนี้
1. ข้อความที่ว่า “แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสภาวะวิสัยอยู่อย่างหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยก็คือรัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะเป็นฝ่ายรุก-บ่อนทำลายหรือสร้างสถานการณ์เพื่อความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงเข้าตอบโต้หรือสยบกระแสต่อต้านตน รัฐบาลมีหน้าที่เป็นฝ่ายตั้งรับหรือถอยต่างหาก”
ข้อความข้างต้นนั้นถูกต้องอย่างแน่แท้ แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสภาวะวิสัยหรือ guiding principle ในระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยการใช้กำลังอำนาจของคณะทหารนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้และขาดความชอบธรรม ยิ่งกว่านั้น นอกจากรัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะสร้างสถานการณ์เพื่อความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงเข้าตอบโต้ประชาชนดังข้อความข้างต้นเสนอ ประชาชนเองก็ไม่มีสิทธิและไม่ควรเลือกยุทธศาสตร์ทางการเมืองในการสร้างสถานการณ์เพื่อความชอบธรรมต่อการรัฐประหารด้วยเช่นกัน
การรัฐประหารนั้นผิดทั้งทางการเมืองและจริยธรรม จากมุมมองของเสรีนิยมประชาธิปไตย
เหตุที่การรัฐประหารผิดและยอมรับไม่ได้ทางการเมือง เพราะการรัฐประหารคือการใช้กำลังอำนาจเข้ายุติสิ่งที่เรียกว่า “การเมือง” ทำให้พื้นที่ทางการเมืองหดแคบลง ทำให้เราไม่อาจดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในความหมายของการโต้ตอบหรือใช้เหตุผลมาแลกเปลี่ยนโน้มน้าวหักล้างกันได้อย่างเสรี กลับไปสู่สภาพธรรมชาติที่ the might is right, and the might is law
จะมากจะน้อยเราก็ต้องยอมรับว่ากิจกรรมทางการเมืองยังดำเนินไปได้ภายใต้รัฐบาลทักษิณไม่ใช่หรือ กลุ่มพันธมิตรฯ สามารถเคลื่อนไหว จัดชุมนุม ระดมคนมาได้เป็นหมื่นเป็นแสน แต่ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร ไม่มีหลักประกันอะไรทั้งสิ้นทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติที่เราจะชุมนุมโดยไม่ถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรง วันนี้ไม่โดน แต่ไม่ได้หมายความว่าวันหน้าจะไม่ ยิ่งถ้าหากการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารได้แรงสนับสนุนจากประชาชนไปถึงจุดที่สั่นคลอนและเป็นอันตรายกับรัฐบาลรัฐประหาร
ปัญหาหรือโจทย์ที่เราควรคิดกันคือ เราจะจัดการกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่เมื่อเสวยอำนาจแล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นรัฐบาลอำนาจนิยม ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างไร โดยไม่ต้องใช้วิถีทางรัฐประหาร นี่เป็นโจทก์ของสังคมประชาธิปไตยไม่ใช่หรือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมากมายนับไม่ถ้วนในโลกนี้ก็คอร์รัปชั่น หาผลประโยชน์ใส่ตัว และลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่พลเมืองต้องต่อสู้ ต่อรองและหาทางกำกับควบคุมภายใต้กรอบกติกาประชาธิปไตย เพราะหากเรายอมรับและให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร เราจะอยู่ด้วยกันต่อไปภายใต้กรอบการเมืองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยได้อย่างไร รัฐธรรมนูญ (ในฐานะกฎกติกาของการอยู่ร่วมกันหรือสัญญาประชาคมทางการเมือง) ที่จะเหนื่อยยากทุ่มเทร่างขึ้นมาใช้กันใหม่นั้นจะมีความหมายอะไร ในเมื่อมันถูกฉีกทิ้งได้ง่ายๆ แถมนักวิชาการและประชาชนส่วนมากก็ยอมรับมันได้ด้วย
หากเราเริ่มต้นจากการยอมรับรัฐประหาร (และการฉีกรัฐธรรมนูญ) ว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะร่างขึ้นมาใช้กันนั้น จะมีความศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร จะมีหลักประกันอะไรว่ามันจะไม่ถูกฉีกอีกในอนาคตอันใกล้ รัฐธรรมนูญก็จะเป็นแค่ถุงกล้วยแขกเท่านั้น ใช้จนน้ำมันเยิ้มเมื่อไร ก็ฉีกทิ้ง เปลี่ยนถุงใหม่
ถ้าจะเอากันอย่างนั้น ผมเสนอให้ทำสองอย่าง
หนึ่ง น่าจะกำหนดไปเลยในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ให้มีการทบทวนเปลี่ยนรัฐธรรมนูญกันทุก ๆ ห้าปี (อาจจะสั้นหรือนานกว่านั้นแล้วแต่จะตกลงกัน)
สอง หากไม่สามารถหาทางออกในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองภายใต้กฎกติกาในระบอบประชาธิปไตย “ตามที่ระบุไว้ในมาตราอื่นๆ แล้ว” ให้กองทัพใช้ดุลยพินิจในการทำรัฐประหารได้ ตามประเพณีของประชาธิปไตยแบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรืออาจจะจัดให้มีการทำประชามติทั้งประเทศให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะให้กองทัพทำรัฐประหารหรือไม่ ถ้าบัญญัติให้การรัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญได้เช่นนี้ เมื่อทำรัฐประหารคราวหน้าก็จะได้ไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญกันอีก ไม่ต้องเสียเวลาร่างกันใหม่ ไหนๆ ก็เป็นรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมแล้ว ทำให้เป็นลายลักษณ์เสียเลยไม่ดีกว่าหรือ ถ้าเราทำได้ทั้งสองข้อนี้ คงจะเป็นนวัตกรรมทางการเมืองที่วิเศษไม่น้อยที่เราจะมอบเป็นของขวัญให้กับชุมชนชาวโลก และเราก็จะสามารถอวดอ้างได้อย่างเต็มปากว่าเรามีประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของเราจริงๆ ไม่ซ้ำและไม่ลอกเลียนแบบใครทั้งสิ้น
2. สำหรับนักวิชาการที่ให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร คำถามคือ อะไรคือฐานของความชอบธรรมของการขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง? ผมอยากให้นักวิชาการที่พยายามให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารพูดออกมาให้ชัดๆ ผมยอมรับได้ถ้าจะ defend มันด้วยหลักการ “อเสรีนิยม”, อำนาจนิยม, ชนชั้นนำนิยม หรืออะไรก็ได้ บอกมาชัดๆ เลยว่า การรัฐประหารชอบธรรมเพราะประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ไม่ดี ยุติความขัดแย้งไม่ได้ ทำให้คนจนๆ มามีอำนาจตัดสินใจว่าใครจะเป็นรัฐบาลแทนที่จะเป็นชนชั้นนำผู้มีการศึกษา สังคมไทยไม่ต้องการการเลือกตั้งไม่ได้เป็นฐานที่มาชอบความชอบธรรม ฯลฯ ผมว่ามันซื่อสัตย์และดีกว่าการที่จะมานั่งชี้แจงว่ามันเป็นประชาธิปไตยแบบพิเศษๆ แบบไทยๆ อย่างไร
3. การเปรียบเทียบระหว่างรัฐประหาร 19 กันยาฯ กับ 6 ตุลาฯ ในกรณี 6 ตุลาฯ นั้น ออกจะไม่ถูกต้องเที่ยงตรงนักที่จะบอกว่า คู่ขัดแย้ง คือ “ฝ่ายนิสิตนักศึกษา vs ฝ่ายขวาจัด อันได้แก่ กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง นวพล ฯลฯ” ชวนให้เข้าใจไปว่า 6 ตุลาฯ เป็นการทะเลาะขัดแย้งกันของประชาชนสองฝ่าย อันที่จริงแล้ว กลไกรัฐที่ประกอบด้วย บางส่วนของกองทัพ ตำรวจ หน่วยงานความมั่นคง และชนชั้นนำตามประเพณีต่างหากที่เป็นคู่ขัดแย้งกับขบวนการนักศึกษา-กรรมกร-ชาวนา กลุ่มองค์กรฝ่ายขวาที่เอ่ยถึงนั้นถูกจัดตั้งและสนับสนุนโดยกลไกรัฐทั้งสิ้น กลไกรัฐใช้กลุ่มฝ่ายขวาเป็นเครื่องมือในการทำลายความเข้มแข็งของขบวนการฝ่ายก้าวหน้า โดยที่รัฐไม่ต้องออกหน้าเอง และรัฐก็จงใจสร้างสถานการณ์ให้เกิดการปะทะ การเผชิญหน้า จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรงเข้าปราบปราม และรัฐเองอ้างความชอบธรรมในการรัฐประหารในที่สุด การรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาฯ จึงเป็นกรณีที่กลุ่มอำนาจประเพณีบวกกับกลไกความมั่นคงในรัฐส่วนหนึ่งร่วมมือกันทำลายขบวนการฝ่ายซ้าย ปลิดชีพรัฐบาลพลเรือนและฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ (ฉบับ 2517) ไปพร้อมๆ กัน
การอธิบายคู่ขัดแย้งในกรณี 19 กันยาฯ ก็ออกจะคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงถ้าจะบอกว่ามันคือ ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ซึ่งชวนให้เข้าใจไปว่าเป็นความขัดแย้งคลาสสิคระหว่างขบวนการประชาชนผู้รักความเป็นธรรมกับรัฐบาลทรราช เพราะถ้าจะมีอะไรที่เป็นความต่อเนื่องจากรัฐประหาร 6 ตุลาฯ มาสู่กรณีรัฐประหาร 19 กันยาฯ ก็คือ กลุ่มอำนาจเก่าหรือชนชั้นนำตามประเพณีกลุ่มเดิมกลับมาเป็นคู่ขัดแย้งหลักที่สำคัญอีกเหมือนเดิม และมีบทบาทสำคัญขั้นชี้ขาดในผลลัพธ์ทางการเมืองที่ปรากฎออกมาเหมือนที่เคยมีบทบาทสำคัญในกรณี 6 ตุลาฯ คู่ขัดแย้งจึงไม่ใช่แค่ “ฝ่ายพันธมิตรและประชาชนทั่วไปจำนวนหนึ่ง vs ฝ่ายรักษาการรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” แต่เป็นกลุ่มชนชั้นนำตามประเพณี+กลไกรัฐบางส่วน (กองทัพที่จงรักภักดีต่อกลุ่มอำนาจเก่า)+ฝ่ายพันธมิตร VS รัฐบาลรักษาการทักษิณ+กลุ่มองค์ประชาชนจากชนบทจำนวนหนึ่ง (คาราวานคนจน) ต่างหาก
กล่าวเฉพาะกรณีพันธมิตร โดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ได้กลายเป็นกองหน้าในการเคลื่อนไหวให้กับอุดมการณ์และผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำประเพณี ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ในแง่บทบาททางประวัติศาสตร์ พันธมิตรเล่นบทเดียวกับกลุ่มองค์กรฝ่ายขวา (แม้ว่าอุดมการณ์ทางการเมืองจะแตกต่างกัน) ในการมีส่วนหนุนช่วยหรือกรุยทางให้กับการรัฐประหาร
ข้อต่างระหว่างสองเหตุการณ์คือ ในกรณี 6 ตุลาฯ ชนชั้นนำประเพณีและกลไกรัฐเลือดเย็นอย่างยิ่งในการสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายและลงมือใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมด้วยตนเอง ที่น่าเศร้าคือความรุนแรงที่รัฐเองเป็นผู้ก่อ (ไม่ใช่รัฐบาลพลเรือนซึ่งตอนนั้นไม่มีอำนาจในการควบคุมกลไกรัฐฝ่ายความมั่นคง) ถูกใช้เป็นเหตุผลในการรัฐประหาร ด้วยการบอกว่ารัฐบาลพลเรือนไร้น้ำยา ไม่มีความสามารถในการควบคุมความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ ส่วนกรณี 19 กันยาฯ ฝ่ายชนชั้นนำและกลไกรัฐอ้างความรุนแรงเป็นเหตุผลในการทำรัฐประหารเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยเช่นกัน ต่างตรงที่ความรุนแรงที่อ้าง เป็นความรุนแรงที่ยังไม่เกิด และไม่แน่ว่าจะเกิด เป็นความรุนแรงในจินตนาการที่ถูกใช้เป็นข้ออ้างให้กับการรัฐประหาร
น่าสนใจว่า ความรุนแรงถูกใช้เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารของกลุ่มชนชั้นนำได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ คำถามคือ เมื่อตอน 6 ตุลาฯ ถ้าฝ่ายชนชั้นนำประเพณีและทหารรักและห่วงใยชีวิตประชาชนจริง เหตุใดจึงปล่อยให้เกิดการใช้ความรุนแรงอย่างเหี้ยมโหดซึ่งดำเนินต่อเนื่องยาวนานหลายชั่วโมง โดยไม่ทำรัฐประหาร (pre-emptive coup) ตัดหน้าแบบคราว 19 กันยาฯ คำตอบดูจะอยู่ที่ว่า ฝ่ายประชาชนที่จะถูกปราบปรามนั้นเป็นคู่ปฏิปักษ์กับกล่มชนชั้นนำประเพณีที่พวกเขาต้องการกวาดล้างอยู่แล้ว ในกรณี 19 กันยาฯ ความรุนแรงซึ่งไม่มีท่าทีว่าจะเกิดขึ้นถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร ปิดโอกาสการเลือกตั้งที่จะมาถึง เปิดทางให้กับการจัดระเบียบอำนาจในหมู่ชนชั้นนำเสียใหม่ คำถามคือ การอ้างเหตุผลเช่นนี้ (การอ้างถึงสถานการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่) มาล้มรัฐบาลฟังขึ้นหรือ ควรถูกยอมรับให้เป็นบรรทัดฐานในการให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารหรือ? ประโยคที่ว่า “หรือแม้ว่ามีการตัดสินยุบพรรคแล้ว ก็คงจะไม่ยอมรับ โดยปลุกกระแสประชาชนขึ้นมาให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในสังคม จนต้องล้มกระดานอยู่ดี” นั้น ออกจะเป็นการคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าไปมากอยู่หรือไม่? เข้าทำนองหาเหตุผลย้อนหลังมารองรับการรัฐประหารหรือไม่
ประเด็นปัญหาจึงไม่ใช่แค่เรื่องใครถอย ไม่ถอยเพียงเท่านั้น แต่อยู่ที่ฝ่ายประชาชนและนักวิชาการที่ต่อสู้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทักษิณนั้น ยึดหลักการประชาธิปไตยอย่างเหนียวแน่นในการต่อสู้มากน้อยเพียงใด หรือยอมรับวิธีการใดก็ได้ในการกำจัดรัฐบาลที่ตนไม่ชอบใจ ถ้าเป็นอย่างหลัง ขบวนการประชาชนก็เป็นมาคิอาเวลลีที่ยอมให้เป้าหมายมารองรับให้ความชอบธรรมกับวิธีการ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่า “รัฐประหารเกิดขึ้นเพราะพันธมิตรไม่ยอมถอย” ใช่หรือไม่ พันธมิตรและคนที่สนับสนุนพันธมิตรคงไม่ต้องมานั่งแก้ตัวแก้ต่างในเรื่องนี้ เพราะปัญหาอยู่ที่ว่าการเคลื่อนไหวของพันธมิตรเรียกหาการรัฐประหาร (และวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญอื่นๆ) มาตั้งแต่ต้นต่างหาก และเมื่อการรัฐประหารเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ต่อต้านคัดค้าน แถมยังช่วยหาเหตุผลให้ความชอบธรรมเสียด้วย
ในสังคมการเมืองใดๆ จริยธรรมความรับผิดชอบของผู้นำนั้นสำคัญแน่นอน แต่จริยธรรมความรับผิดชอบของประชาชนพลเมืองที่เคลื่อนไหวทางการเมืองก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน
Article printed from onopen.com - โอเพ่นออนไลน์: http://www.onopen.com
URL to article: http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/1065
URLs in this post:[1] “ธงชัย-ชัยวัฒน์ กับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” : http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/1055
democracy and national identity in Thailand
Democracy and National Identity in Thailand
Kasian Tejapira
DEMOCRACY AND NATIONAL IDENTITY IN THAILAND. By Michael Kelly Connors. Copenhagen (Denmark): NTAS Press, 2007. xviii, 293 pp. US$27.00, paper. ISBN978-87-7694-002-7.
Scholars of Thai studies who lived through the unprecedented extreme and violent ideological polarization in Thai politics in the latter half of the 1970s--when right-wing mobs oftentimes sang blood-curdling anti-communist songs (such as "Nak phanedin" or Scum of the Earth) while shooting, throwing bombs at and lynching radical student activists, while the latter ducked down, cried out in anger and, in turn, burst into revolutionary songs (such as "Wirachon patiwat"or Revolutionary Heroes)--must have acutely felt the dearth of scholarly study of Thai ideological formation and cultural politics adequately address its powerful role and crucial importance in modern Thai history.
Now, thirty years, four coups, one mass uprising and eight constitutions later, the scholarly landscape of Thailand has changed dramatically. In the comparatively less polarized and violent, and more liberal and open, political environment of recent years, a new corpus of works has been written, initially by a handful of Western scholars, and then increasingly by their Thai colleagues and students, many of whom are former radical activists and intellectuals of the 1970s and subsequent generations who have taken an avid interest in Western Marxist and post-structuralist theories in cultural studies. Following in the footsteps of such pioneers as Benedict Anderson, Craig Reynolds, Andrew Turton and Thak Chaloemtiarana, works by these scholars have furnished Thai studies with path-breaking illumination on the ideological and cultural-political dimensions of Thai official nationalism, the monarchy, public intellectuals, Thainess and Chineseness, consumerism, etc., and have given rise to such fecund and generalizable conceptual innovations as cultural constitution (Nidhi Aeusrivongse), geo-body (Thongchai Winichakul), ethno-ideology (the present reviewer), network of discourse (Prajak Kongkirati) and royal hegemony (Chanida Chitbundid), to name a few.
Connors' Democracy and National Identify in Thailand (first published in 2003) both builds on and further develops the said scholarship. Making sensible, adroit and fruitful use of Antonio Gramsci's theory of hegemony and Michel Foucault's concept of governmentality (chapter 2), he offers an insightful and penetrating analytical, critical history of democracy in modern Thai politics as a series of overlapping and conflicting projects by various groups of state elites to build their respective political hegemony and inculcate varying rationalities of government into the people, in articulation with the established official national identity. Thus, after the People's Party's constitutional democracy of the pre-WWII period had turned into Field Marshal Sarit Thanarat's Thai-style democracy in the early 1960s (chapter 3), hence loosening democracy from the ideal hyper-Western frame of reference for further "Thaifying" metamorphoses, there emerged in rough succession; 1) the statist project of developmental but. ever-delayed liberalism, both to fight communism and fend off electoral democracy in the late 1960s and early 1970s, and then again in the 1980s (chapters 4 & 5); 2) the liberal project of liberalization and political reform in reaction to the right-wing extremist massacre and coup of 1976, and then again in the aftermath of the mass uprising against military rule and corrupt electocracy in 1992 (chapters 7 & 8); and 3) the communitarian project of participatory democratization and concrete interest-based political struggle in the late 1990s and especially after the 1997 economic meltdown (chapter 9). The picture of the Thai political landscape at the advent of the second millennium painted by the author is that of a budding elitist liberal democratic regime under the political reform constitution of 1997, based upon a mutually accommodating and beneficial if fundamentally divergent and uneasy coalition between the liberals and communitarians, held together by the monarchy as a nodal point (chapter 6 is devoted to the rise to dominance of the current monarch alongside the cultural-political construction of so-called Thai-style "Democracy with the King as Head of State"). The new edition of the book provides updated information and more extended analysis of the rise to power through parliamentary elections of the Thaksin Shinawatra government and the challenge it posed to the liberal-communitarian project under royal hegemony (chapter 10), and ends with a postscript on the military coup of 19 September 2006, which toppled both PM Thaksin and, again, democracy in Thailand.
Being no friend of coups and military dictatorship, Connors nonetheless maintains a principled critical stance on the neo-liberal, populist and authoritarian record of the popularly elected Thaksin government amidst the prevalent, rather uncritical post-coup fad for electoralism in Thailand. Furthermore, his conceptual coinage of democrasubjeclion, succinctly defined as "the subjection of people to imaginary forms of their own rule "(18,21), amounts to a radical and thorough critique of the potentially oppressive and exploitative, ideological and institutional work that democracy does to produce subject-citizens out of the raw material of people, and should be applicable to any people still haunted by democracy.
KASIAN TEJAPIRA
Thammasat University, Bangkok, Thailand
COPYRIGHT 2008 University of British ColumbiaCOPYRIGHT 2008 Gale, Cengage Learning
Kasian Tejapira
DEMOCRACY AND NATIONAL IDENTITY IN THAILAND. By Michael Kelly Connors. Copenhagen (Denmark): NTAS Press, 2007. xviii, 293 pp. US$27.00, paper. ISBN978-87-7694-002-7.
Scholars of Thai studies who lived through the unprecedented extreme and violent ideological polarization in Thai politics in the latter half of the 1970s--when right-wing mobs oftentimes sang blood-curdling anti-communist songs (such as "Nak phanedin" or Scum of the Earth) while shooting, throwing bombs at and lynching radical student activists, while the latter ducked down, cried out in anger and, in turn, burst into revolutionary songs (such as "Wirachon patiwat"or Revolutionary Heroes)--must have acutely felt the dearth of scholarly study of Thai ideological formation and cultural politics adequately address its powerful role and crucial importance in modern Thai history.
Now, thirty years, four coups, one mass uprising and eight constitutions later, the scholarly landscape of Thailand has changed dramatically. In the comparatively less polarized and violent, and more liberal and open, political environment of recent years, a new corpus of works has been written, initially by a handful of Western scholars, and then increasingly by their Thai colleagues and students, many of whom are former radical activists and intellectuals of the 1970s and subsequent generations who have taken an avid interest in Western Marxist and post-structuralist theories in cultural studies. Following in the footsteps of such pioneers as Benedict Anderson, Craig Reynolds, Andrew Turton and Thak Chaloemtiarana, works by these scholars have furnished Thai studies with path-breaking illumination on the ideological and cultural-political dimensions of Thai official nationalism, the monarchy, public intellectuals, Thainess and Chineseness, consumerism, etc., and have given rise to such fecund and generalizable conceptual innovations as cultural constitution (Nidhi Aeusrivongse), geo-body (Thongchai Winichakul), ethno-ideology (the present reviewer), network of discourse (Prajak Kongkirati) and royal hegemony (Chanida Chitbundid), to name a few.
Connors' Democracy and National Identify in Thailand (first published in 2003) both builds on and further develops the said scholarship. Making sensible, adroit and fruitful use of Antonio Gramsci's theory of hegemony and Michel Foucault's concept of governmentality (chapter 2), he offers an insightful and penetrating analytical, critical history of democracy in modern Thai politics as a series of overlapping and conflicting projects by various groups of state elites to build their respective political hegemony and inculcate varying rationalities of government into the people, in articulation with the established official national identity. Thus, after the People's Party's constitutional democracy of the pre-WWII period had turned into Field Marshal Sarit Thanarat's Thai-style democracy in the early 1960s (chapter 3), hence loosening democracy from the ideal hyper-Western frame of reference for further "Thaifying" metamorphoses, there emerged in rough succession; 1) the statist project of developmental but. ever-delayed liberalism, both to fight communism and fend off electoral democracy in the late 1960s and early 1970s, and then again in the 1980s (chapters 4 & 5); 2) the liberal project of liberalization and political reform in reaction to the right-wing extremist massacre and coup of 1976, and then again in the aftermath of the mass uprising against military rule and corrupt electocracy in 1992 (chapters 7 & 8); and 3) the communitarian project of participatory democratization and concrete interest-based political struggle in the late 1990s and especially after the 1997 economic meltdown (chapter 9). The picture of the Thai political landscape at the advent of the second millennium painted by the author is that of a budding elitist liberal democratic regime under the political reform constitution of 1997, based upon a mutually accommodating and beneficial if fundamentally divergent and uneasy coalition between the liberals and communitarians, held together by the monarchy as a nodal point (chapter 6 is devoted to the rise to dominance of the current monarch alongside the cultural-political construction of so-called Thai-style "Democracy with the King as Head of State"). The new edition of the book provides updated information and more extended analysis of the rise to power through parliamentary elections of the Thaksin Shinawatra government and the challenge it posed to the liberal-communitarian project under royal hegemony (chapter 10), and ends with a postscript on the military coup of 19 September 2006, which toppled both PM Thaksin and, again, democracy in Thailand.
Being no friend of coups and military dictatorship, Connors nonetheless maintains a principled critical stance on the neo-liberal, populist and authoritarian record of the popularly elected Thaksin government amidst the prevalent, rather uncritical post-coup fad for electoralism in Thailand. Furthermore, his conceptual coinage of democrasubjeclion, succinctly defined as "the subjection of people to imaginary forms of their own rule "(18,21), amounts to a radical and thorough critique of the potentially oppressive and exploitative, ideological and institutional work that democracy does to produce subject-citizens out of the raw material of people, and should be applicable to any people still haunted by democracy.
KASIAN TEJAPIRA
Thammasat University, Bangkok, Thailand
COPYRIGHT 2008 University of British ColumbiaCOPYRIGHT 2008 Gale, Cengage Learning
remembering the left
ชำระประวัติศาสตร์บาดแผล: บทเรียนจากอินโดนีเซีย
ประจักษ์ ก้องกีรติ
นิตยสารสารคดี
การเมืองของความทรงจำ
หากชีวิตมนุษย์แต่ละคนต่างมีช่วงตอนที่เจ็บปวด ยากแก่การจดจำจารึกไว้ในอัตชีวประวัติของตน
ชีวิตของสังคมก็เฉกเช่นเดียวกัน
คำถามคือ แล้วจะอยู่กับอดีตที่ยากแก่การจดจำนั้นอย่างไร?
ในระดับปัจเจกบุคคล แต่ละคนต้องผ่านการต่อสู้กับอดีตของตัวเอง คัดสรร ตัดตอน เลือกจำ เลือกลืมทั้งโดยสำนึกรู้ตัวบ้าง ไม่รู้บ้าง จนหลอมรวมเป็นความทรงจำในรูปลักษณ์ที่อย่างน้อยที่สุด อธิบายชีวิตที่ผ่านมาของตนได้ในแบบที่สามารถอยู่กับมันอย่างไม่เจ็บปวดเกินไปนัก พอให้ชีวิตดำเนินต่อไปข้างหน้าได้อย่างปรกติสุข
ในระดับสังคม สมาชิกแต่ละคนแต่ละกลุ่มในสังคมหนึ่งๆ ต่างก็เข้ามาต่อสู้กันในพื้นที่สาธารณะ เพื่อสถาปนาเรื่องราวในสำนวนของตนให้เป็นความทรงจำของสังคม โดยธรรมชาติแล้วไม่มีใครชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการต่อสู้นี้ แต่ละสำนวนได้ครอบครองพื้นที่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปตามสัดส่วนความสัมพันธ์ทางอำนาจ แม้แต่กลุ่มที่ด้อยอำนาจที่สุดก็อาจรักษาและสืบทอดความทรงจำนั้นไว้เป็นส่วนตัวหรือเฉพาะกลุ่มมิให้สูญหาย รอวันที่สถานการณ์ทางสังคมการเมืองและความสัมพันธ์ทางอำนาจแปรเปลี่ยนไป ก็อาจจะรื้อฟื้นความทรงจำของตนขึ้นมาเบียดขับแย่งชิงพื้นที่กระทั่งแทนที่ความทรงจำเดิมที่ครอบงำอยู่ได้
กระบวนการนี้ดำเนินอยู่ตลอดเวลาในชีวิตของทุกสังคม แม้จะไม่ปรากฏให้เห็นเป็นเรื่องราวครึกโครม สะดุดตา แต่ก็ไม่เคยหยุดเคลื่อนไหว เป็นกระบวนการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน ไม่จบสิ้นกันง่ายๆ ผู้ชนะในวันนี้อาจเพลี่ยงพล้ำในวันถัดไป
ในสังคมไทย เราเพิ่งได้เห็นตัวอย่างของสงครามความทรงจำจากหนังอิงประวัติศาสตร์สองเรื่อง – “สุริโยทัย” และ “14 ตุลา สงครามประชาชน”
ในกรณีของเรื่องหลัง แม้จะทำรายได้เทียบไม่ติดกับเรื่องแรก แต่ในการกระตุ้นให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์แล้วดูจะชนะเรื่องแรกขาดลอย การถกเถียงที่ดำเนินไปอย่างเข้มข้นต่อหนังเรื่อง “14 ตุลา สงครามประชาชน” ก็คือฉากของสงครามความทรงจำอีกยกหนึ่งเกี่ยวกับอดีตที่เต็มไปด้วยความยุ่งยากและความขัดแย้งที่สุดช่วงหนึ่งของสังคมไทย ไล่ตั้งแต่ 14 ตุลา, 6 ตุลา และสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)กับรัฐไทย
การถกเถียงในยกนี้ เป็นไปอย่างรุนแรงในหมู่คนที่เคยร่วมอุดมการณ์เดียวกันมาก่อน มากกว่าที่จะถกเถียงกันระหว่างฝ่ายที่เคยอยู่ตรงกันข้าม สะท้อนให้เห็นความยุ่งยากและซับซ้อนของการเขียนประวัติศาสตร์หรือเสนอความทรงจำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อยุคสมัยดังกล่าว ว่าไม่ใช่แค่การต่อสู้ระหว่างสองฝักสองฝ่าย ระหว่างรัฐกับนักศึกษาประชาชน หรือฝ่ายขวากับฝ่ายซ้าย ฯลฯ อย่างที่เข้าใจกันเท่านั้น เพราะแม้แต่คนที่เคยอยู่ร่วมใน “ขบวนการ” หรือ อุดมการณ์เดียวกันก็เห็นต่างกันอย่างรุนแรง เป็นอุทธาหรณ์ชวนให้คิดว่า
คนที่เคยมีชีวิตร่วมกันในอดีต อาจจะไม่มี “อดีต” ร่วมกันในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ใช่แต่สังคมไทยเท่านั้นที่มีปัญหาในการอยู่กับอดีตของตนอย่างไม่ราบรื่น เพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียก็เผชิญกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน (และอาจะรุนแรงกว่าเมื่อมองในบางแง่มุม) เป็นปัญหาที่คล้ายกัน คือ จะอยู่กับอดีตของตนอย่างไร? โดยเฉพาะอดีตที่สังคมเคยขัดแย้งกันอย่างรุนแรงทางอุดมการณ์ ในบริบทของไทยและอินโดนีเซียก็คือ ความเป็นจริงที่ว่าสมาชิกจำนวนหนึ่งของสังคมเคยเป็น “ซ้าย” หรือ ยึดถืออุดมการณ์สังคมนิยม
ความทรงจำเรื่อง “ฝ่ายซ้าย” ในอินโดนีเซีย
ความหมายและนัยสำคัญของการเป็น “ซ้าย” ในการเมืองวัฒนธรรมอินโดนีเซียนั้นเป็นเรื่องคอขาดบาดตายสำหรับผู้คนโดยทั่วไปมาก เพราะมันเป็นอุดมการณ์ความเชื่อที่ถูกประกาศให้ผิดกฏหมายอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่คำสั่งของสภาที่ปรึกษาประชาชนของอินโดนีเซีย (People's Consultative Assembly) ในปี 2509 ในสมัยรัฐบาลซูฮาร์โต ที่ห้ามไม่ให้มีการตั้งพรรคการเมืองหรือเผยแพร่ความคิดลัทธิสังคมนิยมมาร์กซิสม์-เลนินนิสม์โดยเด็ดขาด ตลอดสมัยแห่งการปกครองอันยาวนานของซูฮาร์โต บุคคลที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่ากำลังรวมกลุ่มเผยแพร่ความคิดดังกล่าวล้วนประสบชะตากรรมอันเลวร้าย ตั้งแต่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ถูกจับกุมคุมขัง ทรมาน จนกระทั่งถูกสังหารชีวิต จนก่อให้เกิดความเข็ดขยาดแก่ประชาชนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม การกดปราบ กำจัด และกระหน่ำโจมตีด้วยมาตรการที่เข้มงวดและโหดร้ายต่อฝ่ายซ้ายของรัฐบาล ก่อให้เกิดผลประการหนึ่งซึ่งรัฐอาจจะไม่ได้คาดคิดหรือปรารถนา คือ ทำให้การเป็นซ้ายพัฒนาไปสู่อีกรูปลักษณ์ที่มีความหมายพิเศษจำเพาะ กล่าวคือ มันมิได้มีฐานะเป็นเพียงอุดมการณ์ความเชื่อทางระบบการเมืองเศรษฐกิจแบบใดแบบหนึ่งตามคำนิยามเท่านั้น หากได้กลายเป็นเครื่องหมายของความกล้าหาญในหมู่คนหนุ่มสาวที่ตื่นตัวทางการเมือง สำหรับพวกเขา ความต้องห้ามของอุดมการณ์มาร์กซิสม์กลับกลายเป็นความลึกลับชวนให้ค้นหา
ความลึกลับชวนค้นหา
กล่าวโดยตลกร้ายแล้ว ความลึกลับของความคิดมาร์กซิสม์นั้น เป็นผลมาจากการสั่งห้ามของรัฐนั่นเอง การศึกษาหาข้อมูลความรู้ต่างๆเกี่ยวกับลัทธิอุดมการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำกันใต้ดินและดำเนินไปอย่างลึกลับซ่อนเร้น เล็ดลอดมาเป็นเสียงกระซิบกระซาบถึงหูของคนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมือง ยิ่งการห้ามมิให้มีการจำหน่ายเผยแพร่หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้มันมีสถานะไม่ต่างจากหนังสือโป๊ไปภายในเวลาอันรวดเร็ว คือ มีสถานะต้องห้ามแต่ก็พอหาได้ในตลาดมืดหรือแหล่งลึกลับ และด้วยความลึกลับ ต้องห้าม หายากก็ยิ่งทำให้มีเสน่ห์เย้ายวนดึงดูดเยาวชนที่ตื่นตัวสนใจใคร่รู้ คนหนุ่มสาวอินโดนีเซียเที่ยวเสาะแสวงหาหนังสือ”ซ้าย” อย่างหิวกระหาย ใครบังเอิญได้ต้นฉบับมาก็ถ่ายเอกสารทำสำเนาเวียนแจกกันอ่านในหมู่เพื่อนฝูงคอเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่มศึกษาลับๆ จนในที่สุดบางคนได้พัฒนาตนเองกลายเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์เล็กๆพิมพ์งานลัทธิมาร์กซิสม์-เลนินนิสม์ขายในเวลาต่อมาเมื่อเสรีภาพเปิดออกหลังการสิ้นสุดอำนาจของรัฐบาลซูฮาร์โตในปี 2541 ตัวอย่างเช่น สำนักพิมพ์ Teplok (ชื่อสำนักพิมพ์มาจากชื่อตะเกียงชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับจุดในห้องศึกษาปิดลับของพวกเขา) ที่ตีพิมพ์งานขนาดยักษ์ของเรื่อง Das Kapital ของ Karl Marx ออกจำหน่าย
มีผู้ศึกษาว่าไม่ถึง 1 ปีหลังจากปี 2542 มีหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความคิดสังคมนิยมพิมพ์ออกมาถึง 40 กว่าเรื่อง เช่น หนังสือแปลงานเกี่ยวกับคาร์ล มาร์กซ์ เช กูวารา หรืองานของอดีตปัญญาชนฝ่ายซ้ายอินโดนีเซียสมัยปลายยุคอาณานิคมอย่างตัน มาลากา(Tan Malaka) ซึ่งชื่อของเขาไม่เคยปรากฏให้ได้ยินในที่สาธารณะเลยตลอดเวลาหลายทศวรรษภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการซูฮาร์โต หนังสือเชิงแนะนำความคิดมาร์กซิสม์เบื้องต้นบางเล่มขายได้ถึง 20,000 กว่าฉบับภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี จนต้องพิมพ์ซ้ำถึง 4 ครั้ง ยังมีสำนักพิมพ์ (ซึ่งโดยส่วนใหญ่บริหารโดยคนหนุ่ม)ถึงอย่างน้อย 7 แห่งที่ผลิตหนังสือ จุลสาร วารสารในแนวนี้ออกมาอย่างแข็งขัน อาทิเช่น วารสาร Majalah Kerja Budaya, Kiri, Kritik ฯลฯ ชวนให้นึกถึงปรากฏการณ์เดียวกับที่เกิดขึ้นในสังคมไทยหลัง “การปฏิวัติตุลาคม 2516” ที่นิสิตนักศึกษาพากันตั้งสำนักพิมพ์ผลิตงานวรรณกรรมและทฤษฎีการเมืองมาร์กซิสม์- เหมาอิสม์ออกมาท่วมท้นตลาดหนังสือ
การตื่นตัวต่อกระแสความคิดทางซ้าย มิได้จำกัดอยู่แค่เพียงแวดวงหนังสือและวรรณกรรม หากลุกลามมายังวงการศิลปะด้วย เกิดกลุ่มที่ผลิตงานในแนวนี้ปรากฏให้เห็นตั้งแต่ช่วงปี 2540 เช่น Apotik Komik (Cartoon Pharmacy) ซึ่งมุ่งที่จะใช้งานศิลปะถ่ายทอดให้คนตระหนักถึงปัญหาสังคม งานของกลุ่มนี้มักจะวาดภาพร่างกายมนุษย์ในสภาพที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดและโกรธแค้นในสไตล์เหนือจริงภายใต้ฉากหลังที่ระบายด้วยสีพื้นเรียบง่าย สื่อถึงความเป็นจริงอันทารุณโหดร้ายในยุคซูฮาร์โต
สำหรับคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ความหมายของการเป็นซ้ายมีมากกว่าการคัดค้านทางการเมืองในรูปแบบที่ฝ่ายซ้ายในอดีตเคยกระทำ หากมันเป็นการต่อสู้ทางการเมืองเชิงสัญลักษณ์และเป็นการเมืองของความทรงจำที่คนหนุ่มสาวคับเขี่ยวกับรัฐบาลเผด็จการที่ต้องการกวาดล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นคอมมิวนิสต์และโยนความผิดบาปทั้งหลายในอดีตให้แก่คอมมิวนิสต์ พวกเขาเลือกเอาอัตลักษณ์ความเป็นซ้ายมาสวมใส่และพลิกฟื้นความทรงจำใหม่ต่อมัน การต่อสู้นี้จึงไม่ได้ดำเนินไปในรูปแบบของการชุมนุมประท้วงอย่างเปิดเผย หากดำเนินผ่านรูปแบบเชิงสัญลักษณ์อันหลากหลาย อาทิเช่น
-- รัฐบาลเผด็จการอินโดนีเซียใช้สื่อภาพยนตร์อย่างแข็งขันเพื่อกล่อมเกลาประชาชนให้จำอดีตในแบบที่ตนต้องการ ในวันที่ 1 ตุลาคมของทุกๆปีนับตั้งแต่ปี 2524 คนหนุ่มสาวอินโดนีเซียถูกบังคับให้ต้องดูภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลเรื่อง “การทรยศของขบวนการ 30 กันยายน-พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย” (Pengkhianatan G30S-PKI) ซึ่งวาดภาพพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI)ให้เป็นผู้ร้าย เป็นฆาตกรกระหายเลือดผู้ลงมือสังหารนายพลของกองทัพอย่างเลือดเย็นจนเป็นเหตุให้ซูฮาร์โตต้องทำการรัฐประหารเข้ามาเพื่อ “รักษาความสงบเรียบร้อย” ของประเทศ นอกจากฉายตามโรงภาพยนตร์แล้ว หนังเรื่องนี้ยังออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงเวลายอดนิยมด้วย คนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งก็ใช้วิธีประท้วงเงียบโดยการไม่ยอมไปดูหนังเรื่องนี้
-- ในขณะที่ตำราเรียนเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ฉบับ “ชาตินิยมทางการ” ที่เชิดชูบทบาทของซูฮาร์โตและกองทัพ โดยไม่เอ่ยถึงสามัญชนและบทบาทในด้านบวกของปัญญาชนนักเคลื่อนไหวพรรคคอมมิวนิสต์ และยังบิดเบือนความจริงในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์ เช่น อธิบายการเข้าไป “ยึด” และ “ผนวก” ติมอร์ตะวันออกด้วยกำลังทหารอย่างรุนแรงว่าเป็นการ “ขอ” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียด้วยความสัมครใจเต็มใจของฝ่ายติมอร์เอง ฯลฯ[1] คนหนุ่มสาวก็ประท้วงไม่อ่านตำราเรียนเหล่านี้ และหันไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ฉบับไม่เป็นทางการผ่านการแอบลักลอบอ่านงานต้องห้ามที่เขียนขึ้นระหว่างถูกกักขังอยู่บนเกาะบูรูของปราโมทยา อนันต์ ตูร์ (Pramoedya Ananta Toer) นักโทษการเมืองและนักเขียนผู้เป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐบาลอย่างกระหายใครรู้[2] นอกจากนี้ในการจัดประชุมปิดลับหลายครั้ง พวกเขาก็ได้เชื้อเชิญอดีตนักโทษการเมืองที่เคยเป็นสมาชิกหรือมีสัมพันธ์กับพรรค PKI มาร่วมพบปะพูดคุยด้วย
-- จงใจแต่งกายโดยอิงแอบสัญลักษณ์ที่หวนให้ระลึกถึงฝ่ายซ้ายในสมัยที่เฟื่องฟูเมื่อปลายทศวรรษ 2500
แม้ความลึกลับของอดีตที่ถูกกดขี่ของฝ่ายซ้ายจะชวนให้คนหนุ่มสาวหลงใหลต่อความคิดอุดมการณ์สังคมนิยม แต่ “ซ้ายใหม่” ในอินโดนีเซียก็ไม่ต้องการที่จะย่ำเท้าตาม “ซ้ายเก่า” ไปเสียทุกเรื่อง พวกเขาพยายามแสวงหาเส้นขอบฟ้าแห่งพรมแดนความคิดใหม่ที่จะมาตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตของประเทศในปัจจุบัน
โรคหวาดกลัวคอมมิวนิสต์
ถึงแม้ว่าจะเกิดการรื้อฟื้นให้ความหมายใหม่ต่ออุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในช่วงท้ายของรัฐบาลซูฮาร์โต แต่ความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ก็ยังไม่จางหายไปจากสังคมอินโดนีเซียในชั่วข้ามคืน ตรงกันข้ามมันยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของคนอินโดนีเซียอย่างลึกซึ้ง แม้จะหมดยุคของรัฐบาลเผด็จการไปแล้วก็ตามที
อดีตประธานาธิบดีซูการ์โนเป็นคนบัญญัติศัพท์อินโดนีเซียคำว่า Komunistofobia (โรคกลัวคอมมิวนิสต์)ขึ้นมาในทศวรรษ 2500 เพื่อใช้วิจารณ์กลุ่มและพรรคการเมืองทั้งหลายที่แสดงความเป็นปฏิปักษ์ รังเกลียดเดียดฉันท์พรรค PKI และปฏิเสธความพยายามของเขาที่จะหลอมรวมให้เกิด “แนวร่วม” กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่หลังจากซูการ์โนหลุดจากวงโคจรอำนาจไปในปี 2509 โรคกลัวคอมมิวนิสต์ก็แพร่ระบาดขึ้นสู่จุดสุดยอดในภาษาและปฏิบัติการทางการเมืองในยุคระเบียบใหม่ (New Order)ของซูฮาร์โต
เริ่มจากการสังหารหมู่คนที่ถูกสงสัยว่าเป็นสมาชิกของพรรค PKI ไปราว 500,000 คนในระหว่างปี 2508- 2509 อันเป็นผลจากการโหมโฆษณาปลุกระดมสร้างความเกลียดชังต่อคอมมิวนิสต์โดยเครื่องมือของรัฐบาล ผลจากโพลที่ทำการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้โดยนิตยสาร Tempo[3] ก็ยังชี้ชัดถึงอาการตกค้างของโรคนี้อย่างชัดเจน เด็กนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามกว่า 1,000 คนจากโรงเรียนใน 3 เมืองใหญ่ มีถึง 57% ที่ตอบว่าไม่ควรอนุญาติให้มีการจัดการเรียนการสอนใดๆอันเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับคอมมิวนิสต์แก่นักเรียน นอกจากนั้น 60% คัดค้านการที่จะเปิดให้มีการจำหน่ายหรือเผยแพร่หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ 97% ของนักเรียนได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2508(เหตุการณ์ที่มีการจับกุมและสังหารผู้นำกองทัพ) จากครูและตำราเรียน และ 80% เชื่อว่าเนื้อหาของเหตุการณ์ที่บรรยายในหนังของรัฐบาลเรื่อง Pengkhianatan G30S-PKI ถูกต้องเที่ยงตรงทุกประการ
เมื่อเร็วๆนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2544 กลุ่มพันธมิตรต่อต้านคอมมิวนิสต์ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้นไม่นานและนักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจซูฮาร์โตและกองทัพ ก็ได้นำหนังสือที่พวกเขาพิจารณาว่าเป็นหนังสือที่มีเนื้อหา “ซ้าย” มาเผาในที่สาธารณะ และยังได้ขู่ที่จะเข้าบุกยึดร้านหนังสือที่ขายหนังสือประเภทนี้ด้วย จนร้านหนังสือต้องพากันโละหนังสือของปราโมทยาและนักเขียนก้าวหน้าคนอื่นๆออกจากชั้นเพื่อความปลอดภัย
การคงอยู่ของความทรงจำเชิงลบต่อฝ่าย “ซ้าย” เช่นนี้นับเป็นอุปสรรคในความพยายามที่จะก่อรูประบอบประชาธิปไตยขึ้นในอินโดนีเซีย เพราะที่จริงแล้วอดีตที่เป็นบาดแผลสามารถมีคุณูปการในการเป็นบททดสอบให้ชาติได้ใช้สติปัญญาคิดค้นสร้างสรรค์กลวิธีและมาตรการที่เหมาะสมยิ่งขึ้นในการแก้ไขความขัดแย้ง และยังเป็นการสะสมทุนทางสังคมที่จะเอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพร่วมกัน ที่จะสร้างให้เกิดความไว้วางใจระหว่างสมาชิกในสังคมอันจะนำไปสู่การจัดการความขัดแย้งอย่างสันติ แต่น่าเสียดายที่มีสัญญาณชี้ให้เห็นว่ากระบวนการดังกล่าวในอินโดนีเซียอาจจะประสบกับความล้มเหลว
ปราโมทยากับข้อเสนอเรื่องการปรองดองของวาฮิด
อดีตประธานาธิบดีอับดุลระห์มาน วาฮิดเป็นผู้นำที่มีความพยายามจะสร้างความปรองดองไกล่เกลี่ยแก่คนในชาติผ่านการชำระสะสางอดีตที่เป็นบาดแผล ไม่นานหลังจากที่เขาขึ้นมามีอำนาจ เขาได้กล่าวขอโทษในนามขององค์กรมุสลิมที่เขาเป็นผู้นำ-Nahdatul Ulama- สำหรับความรุนแรงที่องค์กรนี้เคยมีส่วนร่วมในการสังหารหมู่คอมมิวนิสต์ในช่วงปี 2508-09 เขายังได้ตอบรับข้อเสนอจากบรรดาอดีตนักโทษการเมืองคอมมิวนิสต์ที่เสนอให้ยกเลิกคำสั่งของสภาที่ปรึกษาประชาชนของอินโดนีเซีย(People's Consultative Assembly) ในปี 2509 ที่ประกาศให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคผิดกฎหมายและห้ามการเผยแพร่ความคิดสังคมนิยม และที่สำคัญเขาเสนอว่าจะให้มีการรื้อฟื้นคดีที่มีการกล่าวหาว่าพรรค PKI มีส่วนพัวพันในการสังหารนายพลของกองทัพขึ้นสู่ศาล เพื่อสะสางข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้กระจ่าง
ผลตอบรับที่เขาได้คือ คำวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากทุกพรรคการเมืองในรัฐสภา รวมทั้งกลุ่มมุสลิมในประเทศทั้งหลาย ในเดือนพฤษภาคม 2543 รัฐสภาได้ลงมติปฏิเสธข้อเสนอของวาฮิดที่จะยกเลิกคำสั่งของสภาที่ปรึกษาประชาชนของอินโดนีเซียปี 2509 นับเป็นการถูกโดดเดี่ยวจากรัฐสภาอย่างแท้จริง เสียงที่สนับสนุนมีแค่เพียงพรรค National Awakening Party (PKB) ที่เขาเป็นหัวหน้า ปัญญาชนและนักสิทธิมนุษยชนเท่านั้น
ปราโมทยาก็เป็นผู้หนึ่งที่คัดค้านความคิดเรื่องการปรองดองไกล่เกลี่ยอดีตของวาฮิด เขาไม่ยอมรับคำขอโทษและคิดว่าวาฮิดไม่จริงใจ ปราโมทยากล่าวว่าเขาไม่ต้องการความสมานฉันท์หากต้องการให้นำตัวคนผิดมาลงโทษตามกระบวนการทางกฏหมาย ดังที่ให้สัมภาษณ์นิตยสารฉบับหนึ่งไว้ว่า
“คนที่ทุกข์ทรมานจากการถูกทำร้ายยังคงเต็มไปด้วยความเจ็บปวด ในขณะที่ผู้กระทำผิดมิได้จดจำอะไรเลย การปรองดองไกล่เกลี่ยจึงเป็นเรื่องไร้สาระ… มันเป็นแค่คำพูดของคนที่อยู่ในอำนาจ” (Forum Keadilan, 26 มีนาคม 2543)
อย่างไรก็ดีเพื่อนพ้องที่เป็นอดีตนักโทษด้วยกันแม้แต่เพื่อนที่สนิทที่สุดก็ไม่มีใครเห็นด้วยกับเขา บางคนวิจารณ์ว่าความคิดของปราโมทยาสุดโต่งรุนแรงบุ่มบ่ามเกินไป อาจจะกลายไปเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มการเมืองอื่นแพร่กระจายความหวาดกลัวต่อคอมมิวนิสต์มากขึ้น เป็นการทำลายพันธมิตรและสร้างความเข้มแข็งให้ปฏิปักษ์โดยใช่เหตุ ตรงกันข้ามกับปราโมทยา อดีตนักโทษการเมืองส่วนใหญ่เชื่อในความจริงใจของวาฮิด และคิดว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยและชำระสะสางอดีตไม่ถึงกับไร้ประโยชน์เสียทีเดียว เพราะอย่างน้อยประเด็นปัญหาที่สำคัญในอดีตก็จะได้ถูกนำมาขบคิดใคร่ครวญถกเถียงกันอย่างเปิดเผยโปร่งใสเสียทีแทนที่จะซุกเอาไว้ใต้พรมเช่นในอดีต แต่เกือบทุกคนก็ตระหนักดีว่ามันเป็นกระบวนการที่ยากลำบากและต้องเผชิญกับอุปสรรคขวากหนามมากมาย ตั้งแต่ระบบยุติธรรมของอินโดนีเซียที่ง่อนแง่นขาดประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถืออันเป็นมรดกตกทอดมาจากยุคเผด็จการ ความซับซ้อนและใหญ่โตของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2508-2509 ทำให้คนที่เกี่ยวข้องและควรมีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมครั้งนั้นมีจำนวนมากมายมหาศาลจนยากแก่การชำระสะสาง รวมทั้งประเด็นอันอ่อนไหวเกี่ยวกับความเป็น “เหยื่อ” ของเหตุการณ์
อุปสรรคอีกประการหนึ่งในการสร้างกระบวนการชำระสะสางอดีตอันเป็นบาดแผลก็คือ ประเทศอินโดนีเซียขาดกลุ่มผู้นำที่จะผนึกกำลังกันอย่างแข็งขันและมีเจตจำนงมุ่งมั่นในการผลักดันกระบวนการดังกล่าวแบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในแอฟริกาใต้ แม้ว่าในช่วงที่การถกเถียงเรื่องนี้กำลังดำเนินไปอย่างร้อนแรง ได้มีความพยายามของคณะทำงานชุดหนึ่งซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาร่วมด้วยที่จะจัดทำร่างกฎหมายเพื่อเสนอให้มีการตั้ง “คณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงและไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง” เช่นที่มีการจัดตั้งขึ้นในแอฟริกาใต้ภายใต้การริเริ่มผลักดันของประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา แต่สุดท้ายเรื่องนี้ก็เงียบหายไป ประกอบกับความสนับสนุนทางการเมืองต่อวาฮิดเสื่อมถอยลงอย่างรุนแรง และเกิดปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดนในอาเจห์และปาปัว ก็ทำให้กระบวนการดังกล่าวถูกละเลยไปในที่สุด ประธานาธิบดีเมกาวตี ซูการ์โน บุตรี ที่ขึ้นมามีอำนาจต่อจากวาอิดก็ไม่ได้แสดงสัญญาณใดๆว่าได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว
สังคมอินโดนีเซียจึงยังคงมีชีวิตอยู่กับบาดแผลจากอดีตในแบบที่มันเคยอยู่มาแล้วร่วม 3 ทศวรรษ คาราคาซังและอิหลักอิเหลื่อต่อไป
แล้วสังคมไทยล่ะ? เราจะมีโอกาสได้เห็นกระบวนการชำระ “บาดแผล” ในอดีตอย่างร่วมแรงร่วมใจจากสมาชิกในสังคมหรือไม่?
อาจจะเร็วเกินไปที่จะตอบ
แต่หากหวังการริเริ่มผลักดันจากรัฐ สุนทรพจน์ต่อไปนี้อาจบอกอะไรเราได้บ้าง
“ผมอยากเห็นข้อขัดแย้งทั้งหลายในสังคมไทยที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ยุติลง เพราะประเทศไทยไม่มีเวลาที่จะมาทะเลาะในเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้… ผมอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่า เหตุการณ์ในวันนี้ไม่อยากให้มองว่าใครผิดใครถูก อยากให้มองว่าทุกคนต่างมีหน้าที่ แต่ความเข้าใจอาจจะขัดแย้งหรือต่างกัน… ต่อไปนี้ ไม่ใช่ว่าทุก 14 ตุลา เราจะต้องมานั่งเถียงกันว่าประวัติศาสตร์ถูกหรือไม่ถูก เราจะช่วยเหลือคนพิการหรือไม่ช่วย จากนี้ไปจนถึง 14 ตุลาปีหน้า เหตุการณ์เหล่านี้ต้องยุติ วันนี้ตั้งใจจะมาบอกกับพี่น้องว่า ‘อย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก’ เพราะสังคมไทยมีเรื่องที่ต้องแก้ไขมากมาย เรื่องทั้งหมดที่ท่านกำลังบ่นกันอยู่นี้ ขอให้เลิก”[4]
เอกสารประกอบการเขียน
- Goenawan Mohamad, “Remembering the Left”, in Grayson lloyd (ed.) Indonesia Today: Challenges of History (Singapore: Institute of South Asian Studies, 2001), p.126-135.
- Gerry van Klinken, “The Battle for History after Suharto: Beyond Sacred Dates, Great Men, and Legal Milestones” in Critical Asian Studies 33:3 (2001), p.323-350.
- Ariel Heryanto, “Indonesian middle-class opposition in the 1990s” in Garry Rodan (ed.) Political Opposition in Industrialing Asia (New York: Routledge, 1996), p.241-271.
- Vaudine England, “Book-burning raids spark backlash” South China Morning Post May 19, 2001.
- รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ “ตลาดหนังสือหลังเดือนตุลาคม 2516” ถนนหนังสือ (กรุงเทพ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2543), น. 16-27.
- “สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าว ณ บริเวณอนุสรณ์สถานวีรชนประชาธิปไตย
วันที่ 14 ตุลาคม 2544”
[1] ภายหลังการล่มสลายของรัฐบาลซูฮาร์โต ครูประวัติศาสตร์จำนวนมากทำเรื่องถึงรัฐบาลขอย้ายออกจากติมอร์รวมทั้งเกาะอื่นๆ เพราะเกรงจะได้รับอันตรายจากบรรดาผู้ปกครองที่โกรธแค้นว่าพวกเขาสอนแต่สิ่งโกหกและบิดเบือนให้เยาวชน ในเดือนตุลาคม 2541 รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลประธานาธิบดีฮาบีบีมีมีคำสั่งตั้งคณะทำงานทบทวนแก้ไขตำราเรียนประวัติศาสตร์เพื่อให้เนื้อหามี “ความสมดุล” มากขึ้น เนื้อหาที่ถูกทบทวนมีอยู่ทั้งหมด 5 เหตุการณ์ หนึ่งในนั้นคือ การผนวกติมอร์ตะวันออกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปี 2519.
[2] นวนิยายจตุรภาคชุด The Buru Quartet ของปราโมทยาอันประกอบด้วย Bumi manusia, Jelak langkah, Anak semua bangsa และ Rumah kaca ตีพิมพ์ครั้งแรกในจาร์กาตาในทศวรรษ 2520 แต่ถูกแบนในเวลาอันรวดเร็ว จนต้องนำไปตีพิมพ์ซ้ำในเนเธอร์แลนด์และมาเลเซีย ต่อเมื่อภายหลังการสิ้นสุดของรัฐบาลซูฮาร์โต งานชุดนี้รวมทั้งงานเก่าอื่นๆของเขาได้กลายเป็นงาน best seller ที่สำนักพิมพ์ต้องเร่งผลิตแข่งให้ทันกับความต้องการของผู้อ่าน
[3] นิตยสารวิเคราะห์การเมืองรายสัปดาห์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความเชื่อถืออย่างสูง มียอดจำหน่ายถึง 200,000 ฉบับต่อเล่ม ถูกรัฐบาลซูฮาร์โตเพิกถอนใบอนุญาตในปี 2537 สร้างความไม่พอใจให้ประชาชนจนลุกลามเป็นการประท้วงใหญ่ ขณะนี้กลับมาออกเผยแพร่อีกครั้งหนึ่งพร้อมทั้งจัดทำฉบับ online ด้วย
[4] “สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าว ณ บริเวณอนุสรณ์สถานวีรชนประชาธิปไตย
วันที่ 14 ตุลาคม 2544” ถอดเทปแบบคำต่อคำใน section “คำปราศรัยและบทความ”
ประจักษ์ ก้องกีรติ
นิตยสารสารคดี
การเมืองของความทรงจำ
หากชีวิตมนุษย์แต่ละคนต่างมีช่วงตอนที่เจ็บปวด ยากแก่การจดจำจารึกไว้ในอัตชีวประวัติของตน
ชีวิตของสังคมก็เฉกเช่นเดียวกัน
คำถามคือ แล้วจะอยู่กับอดีตที่ยากแก่การจดจำนั้นอย่างไร?
ในระดับปัจเจกบุคคล แต่ละคนต้องผ่านการต่อสู้กับอดีตของตัวเอง คัดสรร ตัดตอน เลือกจำ เลือกลืมทั้งโดยสำนึกรู้ตัวบ้าง ไม่รู้บ้าง จนหลอมรวมเป็นความทรงจำในรูปลักษณ์ที่อย่างน้อยที่สุด อธิบายชีวิตที่ผ่านมาของตนได้ในแบบที่สามารถอยู่กับมันอย่างไม่เจ็บปวดเกินไปนัก พอให้ชีวิตดำเนินต่อไปข้างหน้าได้อย่างปรกติสุข
ในระดับสังคม สมาชิกแต่ละคนแต่ละกลุ่มในสังคมหนึ่งๆ ต่างก็เข้ามาต่อสู้กันในพื้นที่สาธารณะ เพื่อสถาปนาเรื่องราวในสำนวนของตนให้เป็นความทรงจำของสังคม โดยธรรมชาติแล้วไม่มีใครชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการต่อสู้นี้ แต่ละสำนวนได้ครอบครองพื้นที่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปตามสัดส่วนความสัมพันธ์ทางอำนาจ แม้แต่กลุ่มที่ด้อยอำนาจที่สุดก็อาจรักษาและสืบทอดความทรงจำนั้นไว้เป็นส่วนตัวหรือเฉพาะกลุ่มมิให้สูญหาย รอวันที่สถานการณ์ทางสังคมการเมืองและความสัมพันธ์ทางอำนาจแปรเปลี่ยนไป ก็อาจจะรื้อฟื้นความทรงจำของตนขึ้นมาเบียดขับแย่งชิงพื้นที่กระทั่งแทนที่ความทรงจำเดิมที่ครอบงำอยู่ได้
กระบวนการนี้ดำเนินอยู่ตลอดเวลาในชีวิตของทุกสังคม แม้จะไม่ปรากฏให้เห็นเป็นเรื่องราวครึกโครม สะดุดตา แต่ก็ไม่เคยหยุดเคลื่อนไหว เป็นกระบวนการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน ไม่จบสิ้นกันง่ายๆ ผู้ชนะในวันนี้อาจเพลี่ยงพล้ำในวันถัดไป
ในสังคมไทย เราเพิ่งได้เห็นตัวอย่างของสงครามความทรงจำจากหนังอิงประวัติศาสตร์สองเรื่อง – “สุริโยทัย” และ “14 ตุลา สงครามประชาชน”
ในกรณีของเรื่องหลัง แม้จะทำรายได้เทียบไม่ติดกับเรื่องแรก แต่ในการกระตุ้นให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์แล้วดูจะชนะเรื่องแรกขาดลอย การถกเถียงที่ดำเนินไปอย่างเข้มข้นต่อหนังเรื่อง “14 ตุลา สงครามประชาชน” ก็คือฉากของสงครามความทรงจำอีกยกหนึ่งเกี่ยวกับอดีตที่เต็มไปด้วยความยุ่งยากและความขัดแย้งที่สุดช่วงหนึ่งของสังคมไทย ไล่ตั้งแต่ 14 ตุลา, 6 ตุลา และสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)กับรัฐไทย
การถกเถียงในยกนี้ เป็นไปอย่างรุนแรงในหมู่คนที่เคยร่วมอุดมการณ์เดียวกันมาก่อน มากกว่าที่จะถกเถียงกันระหว่างฝ่ายที่เคยอยู่ตรงกันข้าม สะท้อนให้เห็นความยุ่งยากและซับซ้อนของการเขียนประวัติศาสตร์หรือเสนอความทรงจำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อยุคสมัยดังกล่าว ว่าไม่ใช่แค่การต่อสู้ระหว่างสองฝักสองฝ่าย ระหว่างรัฐกับนักศึกษาประชาชน หรือฝ่ายขวากับฝ่ายซ้าย ฯลฯ อย่างที่เข้าใจกันเท่านั้น เพราะแม้แต่คนที่เคยอยู่ร่วมใน “ขบวนการ” หรือ อุดมการณ์เดียวกันก็เห็นต่างกันอย่างรุนแรง เป็นอุทธาหรณ์ชวนให้คิดว่า
คนที่เคยมีชีวิตร่วมกันในอดีต อาจจะไม่มี “อดีต” ร่วมกันในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ใช่แต่สังคมไทยเท่านั้นที่มีปัญหาในการอยู่กับอดีตของตนอย่างไม่ราบรื่น เพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียก็เผชิญกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน (และอาจะรุนแรงกว่าเมื่อมองในบางแง่มุม) เป็นปัญหาที่คล้ายกัน คือ จะอยู่กับอดีตของตนอย่างไร? โดยเฉพาะอดีตที่สังคมเคยขัดแย้งกันอย่างรุนแรงทางอุดมการณ์ ในบริบทของไทยและอินโดนีเซียก็คือ ความเป็นจริงที่ว่าสมาชิกจำนวนหนึ่งของสังคมเคยเป็น “ซ้าย” หรือ ยึดถืออุดมการณ์สังคมนิยม
ความทรงจำเรื่อง “ฝ่ายซ้าย” ในอินโดนีเซีย
ความหมายและนัยสำคัญของการเป็น “ซ้าย” ในการเมืองวัฒนธรรมอินโดนีเซียนั้นเป็นเรื่องคอขาดบาดตายสำหรับผู้คนโดยทั่วไปมาก เพราะมันเป็นอุดมการณ์ความเชื่อที่ถูกประกาศให้ผิดกฏหมายอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่คำสั่งของสภาที่ปรึกษาประชาชนของอินโดนีเซีย (People's Consultative Assembly) ในปี 2509 ในสมัยรัฐบาลซูฮาร์โต ที่ห้ามไม่ให้มีการตั้งพรรคการเมืองหรือเผยแพร่ความคิดลัทธิสังคมนิยมมาร์กซิสม์-เลนินนิสม์โดยเด็ดขาด ตลอดสมัยแห่งการปกครองอันยาวนานของซูฮาร์โต บุคคลที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่ากำลังรวมกลุ่มเผยแพร่ความคิดดังกล่าวล้วนประสบชะตากรรมอันเลวร้าย ตั้งแต่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ถูกจับกุมคุมขัง ทรมาน จนกระทั่งถูกสังหารชีวิต จนก่อให้เกิดความเข็ดขยาดแก่ประชาชนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม การกดปราบ กำจัด และกระหน่ำโจมตีด้วยมาตรการที่เข้มงวดและโหดร้ายต่อฝ่ายซ้ายของรัฐบาล ก่อให้เกิดผลประการหนึ่งซึ่งรัฐอาจจะไม่ได้คาดคิดหรือปรารถนา คือ ทำให้การเป็นซ้ายพัฒนาไปสู่อีกรูปลักษณ์ที่มีความหมายพิเศษจำเพาะ กล่าวคือ มันมิได้มีฐานะเป็นเพียงอุดมการณ์ความเชื่อทางระบบการเมืองเศรษฐกิจแบบใดแบบหนึ่งตามคำนิยามเท่านั้น หากได้กลายเป็นเครื่องหมายของความกล้าหาญในหมู่คนหนุ่มสาวที่ตื่นตัวทางการเมือง สำหรับพวกเขา ความต้องห้ามของอุดมการณ์มาร์กซิสม์กลับกลายเป็นความลึกลับชวนให้ค้นหา
ความลึกลับชวนค้นหา
กล่าวโดยตลกร้ายแล้ว ความลึกลับของความคิดมาร์กซิสม์นั้น เป็นผลมาจากการสั่งห้ามของรัฐนั่นเอง การศึกษาหาข้อมูลความรู้ต่างๆเกี่ยวกับลัทธิอุดมการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำกันใต้ดินและดำเนินไปอย่างลึกลับซ่อนเร้น เล็ดลอดมาเป็นเสียงกระซิบกระซาบถึงหูของคนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมือง ยิ่งการห้ามมิให้มีการจำหน่ายเผยแพร่หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้มันมีสถานะไม่ต่างจากหนังสือโป๊ไปภายในเวลาอันรวดเร็ว คือ มีสถานะต้องห้ามแต่ก็พอหาได้ในตลาดมืดหรือแหล่งลึกลับ และด้วยความลึกลับ ต้องห้าม หายากก็ยิ่งทำให้มีเสน่ห์เย้ายวนดึงดูดเยาวชนที่ตื่นตัวสนใจใคร่รู้ คนหนุ่มสาวอินโดนีเซียเที่ยวเสาะแสวงหาหนังสือ”ซ้าย” อย่างหิวกระหาย ใครบังเอิญได้ต้นฉบับมาก็ถ่ายเอกสารทำสำเนาเวียนแจกกันอ่านในหมู่เพื่อนฝูงคอเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่มศึกษาลับๆ จนในที่สุดบางคนได้พัฒนาตนเองกลายเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์เล็กๆพิมพ์งานลัทธิมาร์กซิสม์-เลนินนิสม์ขายในเวลาต่อมาเมื่อเสรีภาพเปิดออกหลังการสิ้นสุดอำนาจของรัฐบาลซูฮาร์โตในปี 2541 ตัวอย่างเช่น สำนักพิมพ์ Teplok (ชื่อสำนักพิมพ์มาจากชื่อตะเกียงชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับจุดในห้องศึกษาปิดลับของพวกเขา) ที่ตีพิมพ์งานขนาดยักษ์ของเรื่อง Das Kapital ของ Karl Marx ออกจำหน่าย
มีผู้ศึกษาว่าไม่ถึง 1 ปีหลังจากปี 2542 มีหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความคิดสังคมนิยมพิมพ์ออกมาถึง 40 กว่าเรื่อง เช่น หนังสือแปลงานเกี่ยวกับคาร์ล มาร์กซ์ เช กูวารา หรืองานของอดีตปัญญาชนฝ่ายซ้ายอินโดนีเซียสมัยปลายยุคอาณานิคมอย่างตัน มาลากา(Tan Malaka) ซึ่งชื่อของเขาไม่เคยปรากฏให้ได้ยินในที่สาธารณะเลยตลอดเวลาหลายทศวรรษภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการซูฮาร์โต หนังสือเชิงแนะนำความคิดมาร์กซิสม์เบื้องต้นบางเล่มขายได้ถึง 20,000 กว่าฉบับภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี จนต้องพิมพ์ซ้ำถึง 4 ครั้ง ยังมีสำนักพิมพ์ (ซึ่งโดยส่วนใหญ่บริหารโดยคนหนุ่ม)ถึงอย่างน้อย 7 แห่งที่ผลิตหนังสือ จุลสาร วารสารในแนวนี้ออกมาอย่างแข็งขัน อาทิเช่น วารสาร Majalah Kerja Budaya, Kiri, Kritik ฯลฯ ชวนให้นึกถึงปรากฏการณ์เดียวกับที่เกิดขึ้นในสังคมไทยหลัง “การปฏิวัติตุลาคม 2516” ที่นิสิตนักศึกษาพากันตั้งสำนักพิมพ์ผลิตงานวรรณกรรมและทฤษฎีการเมืองมาร์กซิสม์- เหมาอิสม์ออกมาท่วมท้นตลาดหนังสือ
การตื่นตัวต่อกระแสความคิดทางซ้าย มิได้จำกัดอยู่แค่เพียงแวดวงหนังสือและวรรณกรรม หากลุกลามมายังวงการศิลปะด้วย เกิดกลุ่มที่ผลิตงานในแนวนี้ปรากฏให้เห็นตั้งแต่ช่วงปี 2540 เช่น Apotik Komik (Cartoon Pharmacy) ซึ่งมุ่งที่จะใช้งานศิลปะถ่ายทอดให้คนตระหนักถึงปัญหาสังคม งานของกลุ่มนี้มักจะวาดภาพร่างกายมนุษย์ในสภาพที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดและโกรธแค้นในสไตล์เหนือจริงภายใต้ฉากหลังที่ระบายด้วยสีพื้นเรียบง่าย สื่อถึงความเป็นจริงอันทารุณโหดร้ายในยุคซูฮาร์โต
สำหรับคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ความหมายของการเป็นซ้ายมีมากกว่าการคัดค้านทางการเมืองในรูปแบบที่ฝ่ายซ้ายในอดีตเคยกระทำ หากมันเป็นการต่อสู้ทางการเมืองเชิงสัญลักษณ์และเป็นการเมืองของความทรงจำที่คนหนุ่มสาวคับเขี่ยวกับรัฐบาลเผด็จการที่ต้องการกวาดล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นคอมมิวนิสต์และโยนความผิดบาปทั้งหลายในอดีตให้แก่คอมมิวนิสต์ พวกเขาเลือกเอาอัตลักษณ์ความเป็นซ้ายมาสวมใส่และพลิกฟื้นความทรงจำใหม่ต่อมัน การต่อสู้นี้จึงไม่ได้ดำเนินไปในรูปแบบของการชุมนุมประท้วงอย่างเปิดเผย หากดำเนินผ่านรูปแบบเชิงสัญลักษณ์อันหลากหลาย อาทิเช่น
-- รัฐบาลเผด็จการอินโดนีเซียใช้สื่อภาพยนตร์อย่างแข็งขันเพื่อกล่อมเกลาประชาชนให้จำอดีตในแบบที่ตนต้องการ ในวันที่ 1 ตุลาคมของทุกๆปีนับตั้งแต่ปี 2524 คนหนุ่มสาวอินโดนีเซียถูกบังคับให้ต้องดูภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลเรื่อง “การทรยศของขบวนการ 30 กันยายน-พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย” (Pengkhianatan G30S-PKI) ซึ่งวาดภาพพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI)ให้เป็นผู้ร้าย เป็นฆาตกรกระหายเลือดผู้ลงมือสังหารนายพลของกองทัพอย่างเลือดเย็นจนเป็นเหตุให้ซูฮาร์โตต้องทำการรัฐประหารเข้ามาเพื่อ “รักษาความสงบเรียบร้อย” ของประเทศ นอกจากฉายตามโรงภาพยนตร์แล้ว หนังเรื่องนี้ยังออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงเวลายอดนิยมด้วย คนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งก็ใช้วิธีประท้วงเงียบโดยการไม่ยอมไปดูหนังเรื่องนี้
-- ในขณะที่ตำราเรียนเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ฉบับ “ชาตินิยมทางการ” ที่เชิดชูบทบาทของซูฮาร์โตและกองทัพ โดยไม่เอ่ยถึงสามัญชนและบทบาทในด้านบวกของปัญญาชนนักเคลื่อนไหวพรรคคอมมิวนิสต์ และยังบิดเบือนความจริงในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์ เช่น อธิบายการเข้าไป “ยึด” และ “ผนวก” ติมอร์ตะวันออกด้วยกำลังทหารอย่างรุนแรงว่าเป็นการ “ขอ” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียด้วยความสัมครใจเต็มใจของฝ่ายติมอร์เอง ฯลฯ[1] คนหนุ่มสาวก็ประท้วงไม่อ่านตำราเรียนเหล่านี้ และหันไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ฉบับไม่เป็นทางการผ่านการแอบลักลอบอ่านงานต้องห้ามที่เขียนขึ้นระหว่างถูกกักขังอยู่บนเกาะบูรูของปราโมทยา อนันต์ ตูร์ (Pramoedya Ananta Toer) นักโทษการเมืองและนักเขียนผู้เป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐบาลอย่างกระหายใครรู้[2] นอกจากนี้ในการจัดประชุมปิดลับหลายครั้ง พวกเขาก็ได้เชื้อเชิญอดีตนักโทษการเมืองที่เคยเป็นสมาชิกหรือมีสัมพันธ์กับพรรค PKI มาร่วมพบปะพูดคุยด้วย
-- จงใจแต่งกายโดยอิงแอบสัญลักษณ์ที่หวนให้ระลึกถึงฝ่ายซ้ายในสมัยที่เฟื่องฟูเมื่อปลายทศวรรษ 2500
แม้ความลึกลับของอดีตที่ถูกกดขี่ของฝ่ายซ้ายจะชวนให้คนหนุ่มสาวหลงใหลต่อความคิดอุดมการณ์สังคมนิยม แต่ “ซ้ายใหม่” ในอินโดนีเซียก็ไม่ต้องการที่จะย่ำเท้าตาม “ซ้ายเก่า” ไปเสียทุกเรื่อง พวกเขาพยายามแสวงหาเส้นขอบฟ้าแห่งพรมแดนความคิดใหม่ที่จะมาตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตของประเทศในปัจจุบัน
โรคหวาดกลัวคอมมิวนิสต์
ถึงแม้ว่าจะเกิดการรื้อฟื้นให้ความหมายใหม่ต่ออุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในช่วงท้ายของรัฐบาลซูฮาร์โต แต่ความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ก็ยังไม่จางหายไปจากสังคมอินโดนีเซียในชั่วข้ามคืน ตรงกันข้ามมันยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของคนอินโดนีเซียอย่างลึกซึ้ง แม้จะหมดยุคของรัฐบาลเผด็จการไปแล้วก็ตามที
อดีตประธานาธิบดีซูการ์โนเป็นคนบัญญัติศัพท์อินโดนีเซียคำว่า Komunistofobia (โรคกลัวคอมมิวนิสต์)ขึ้นมาในทศวรรษ 2500 เพื่อใช้วิจารณ์กลุ่มและพรรคการเมืองทั้งหลายที่แสดงความเป็นปฏิปักษ์ รังเกลียดเดียดฉันท์พรรค PKI และปฏิเสธความพยายามของเขาที่จะหลอมรวมให้เกิด “แนวร่วม” กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่หลังจากซูการ์โนหลุดจากวงโคจรอำนาจไปในปี 2509 โรคกลัวคอมมิวนิสต์ก็แพร่ระบาดขึ้นสู่จุดสุดยอดในภาษาและปฏิบัติการทางการเมืองในยุคระเบียบใหม่ (New Order)ของซูฮาร์โต
เริ่มจากการสังหารหมู่คนที่ถูกสงสัยว่าเป็นสมาชิกของพรรค PKI ไปราว 500,000 คนในระหว่างปี 2508- 2509 อันเป็นผลจากการโหมโฆษณาปลุกระดมสร้างความเกลียดชังต่อคอมมิวนิสต์โดยเครื่องมือของรัฐบาล ผลจากโพลที่ทำการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้โดยนิตยสาร Tempo[3] ก็ยังชี้ชัดถึงอาการตกค้างของโรคนี้อย่างชัดเจน เด็กนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามกว่า 1,000 คนจากโรงเรียนใน 3 เมืองใหญ่ มีถึง 57% ที่ตอบว่าไม่ควรอนุญาติให้มีการจัดการเรียนการสอนใดๆอันเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับคอมมิวนิสต์แก่นักเรียน นอกจากนั้น 60% คัดค้านการที่จะเปิดให้มีการจำหน่ายหรือเผยแพร่หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ 97% ของนักเรียนได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2508(เหตุการณ์ที่มีการจับกุมและสังหารผู้นำกองทัพ) จากครูและตำราเรียน และ 80% เชื่อว่าเนื้อหาของเหตุการณ์ที่บรรยายในหนังของรัฐบาลเรื่อง Pengkhianatan G30S-PKI ถูกต้องเที่ยงตรงทุกประการ
เมื่อเร็วๆนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2544 กลุ่มพันธมิตรต่อต้านคอมมิวนิสต์ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้นไม่นานและนักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจซูฮาร์โตและกองทัพ ก็ได้นำหนังสือที่พวกเขาพิจารณาว่าเป็นหนังสือที่มีเนื้อหา “ซ้าย” มาเผาในที่สาธารณะ และยังได้ขู่ที่จะเข้าบุกยึดร้านหนังสือที่ขายหนังสือประเภทนี้ด้วย จนร้านหนังสือต้องพากันโละหนังสือของปราโมทยาและนักเขียนก้าวหน้าคนอื่นๆออกจากชั้นเพื่อความปลอดภัย
การคงอยู่ของความทรงจำเชิงลบต่อฝ่าย “ซ้าย” เช่นนี้นับเป็นอุปสรรคในความพยายามที่จะก่อรูประบอบประชาธิปไตยขึ้นในอินโดนีเซีย เพราะที่จริงแล้วอดีตที่เป็นบาดแผลสามารถมีคุณูปการในการเป็นบททดสอบให้ชาติได้ใช้สติปัญญาคิดค้นสร้างสรรค์กลวิธีและมาตรการที่เหมาะสมยิ่งขึ้นในการแก้ไขความขัดแย้ง และยังเป็นการสะสมทุนทางสังคมที่จะเอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพร่วมกัน ที่จะสร้างให้เกิดความไว้วางใจระหว่างสมาชิกในสังคมอันจะนำไปสู่การจัดการความขัดแย้งอย่างสันติ แต่น่าเสียดายที่มีสัญญาณชี้ให้เห็นว่ากระบวนการดังกล่าวในอินโดนีเซียอาจจะประสบกับความล้มเหลว
ปราโมทยากับข้อเสนอเรื่องการปรองดองของวาฮิด
อดีตประธานาธิบดีอับดุลระห์มาน วาฮิดเป็นผู้นำที่มีความพยายามจะสร้างความปรองดองไกล่เกลี่ยแก่คนในชาติผ่านการชำระสะสางอดีตที่เป็นบาดแผล ไม่นานหลังจากที่เขาขึ้นมามีอำนาจ เขาได้กล่าวขอโทษในนามขององค์กรมุสลิมที่เขาเป็นผู้นำ-Nahdatul Ulama- สำหรับความรุนแรงที่องค์กรนี้เคยมีส่วนร่วมในการสังหารหมู่คอมมิวนิสต์ในช่วงปี 2508-09 เขายังได้ตอบรับข้อเสนอจากบรรดาอดีตนักโทษการเมืองคอมมิวนิสต์ที่เสนอให้ยกเลิกคำสั่งของสภาที่ปรึกษาประชาชนของอินโดนีเซีย(People's Consultative Assembly) ในปี 2509 ที่ประกาศให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคผิดกฎหมายและห้ามการเผยแพร่ความคิดสังคมนิยม และที่สำคัญเขาเสนอว่าจะให้มีการรื้อฟื้นคดีที่มีการกล่าวหาว่าพรรค PKI มีส่วนพัวพันในการสังหารนายพลของกองทัพขึ้นสู่ศาล เพื่อสะสางข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้กระจ่าง
ผลตอบรับที่เขาได้คือ คำวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากทุกพรรคการเมืองในรัฐสภา รวมทั้งกลุ่มมุสลิมในประเทศทั้งหลาย ในเดือนพฤษภาคม 2543 รัฐสภาได้ลงมติปฏิเสธข้อเสนอของวาฮิดที่จะยกเลิกคำสั่งของสภาที่ปรึกษาประชาชนของอินโดนีเซียปี 2509 นับเป็นการถูกโดดเดี่ยวจากรัฐสภาอย่างแท้จริง เสียงที่สนับสนุนมีแค่เพียงพรรค National Awakening Party (PKB) ที่เขาเป็นหัวหน้า ปัญญาชนและนักสิทธิมนุษยชนเท่านั้น
ปราโมทยาก็เป็นผู้หนึ่งที่คัดค้านความคิดเรื่องการปรองดองไกล่เกลี่ยอดีตของวาฮิด เขาไม่ยอมรับคำขอโทษและคิดว่าวาฮิดไม่จริงใจ ปราโมทยากล่าวว่าเขาไม่ต้องการความสมานฉันท์หากต้องการให้นำตัวคนผิดมาลงโทษตามกระบวนการทางกฏหมาย ดังที่ให้สัมภาษณ์นิตยสารฉบับหนึ่งไว้ว่า
“คนที่ทุกข์ทรมานจากการถูกทำร้ายยังคงเต็มไปด้วยความเจ็บปวด ในขณะที่ผู้กระทำผิดมิได้จดจำอะไรเลย การปรองดองไกล่เกลี่ยจึงเป็นเรื่องไร้สาระ… มันเป็นแค่คำพูดของคนที่อยู่ในอำนาจ” (Forum Keadilan, 26 มีนาคม 2543)
อย่างไรก็ดีเพื่อนพ้องที่เป็นอดีตนักโทษด้วยกันแม้แต่เพื่อนที่สนิทที่สุดก็ไม่มีใครเห็นด้วยกับเขา บางคนวิจารณ์ว่าความคิดของปราโมทยาสุดโต่งรุนแรงบุ่มบ่ามเกินไป อาจจะกลายไปเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มการเมืองอื่นแพร่กระจายความหวาดกลัวต่อคอมมิวนิสต์มากขึ้น เป็นการทำลายพันธมิตรและสร้างความเข้มแข็งให้ปฏิปักษ์โดยใช่เหตุ ตรงกันข้ามกับปราโมทยา อดีตนักโทษการเมืองส่วนใหญ่เชื่อในความจริงใจของวาฮิด และคิดว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยและชำระสะสางอดีตไม่ถึงกับไร้ประโยชน์เสียทีเดียว เพราะอย่างน้อยประเด็นปัญหาที่สำคัญในอดีตก็จะได้ถูกนำมาขบคิดใคร่ครวญถกเถียงกันอย่างเปิดเผยโปร่งใสเสียทีแทนที่จะซุกเอาไว้ใต้พรมเช่นในอดีต แต่เกือบทุกคนก็ตระหนักดีว่ามันเป็นกระบวนการที่ยากลำบากและต้องเผชิญกับอุปสรรคขวากหนามมากมาย ตั้งแต่ระบบยุติธรรมของอินโดนีเซียที่ง่อนแง่นขาดประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถืออันเป็นมรดกตกทอดมาจากยุคเผด็จการ ความซับซ้อนและใหญ่โตของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2508-2509 ทำให้คนที่เกี่ยวข้องและควรมีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมครั้งนั้นมีจำนวนมากมายมหาศาลจนยากแก่การชำระสะสาง รวมทั้งประเด็นอันอ่อนไหวเกี่ยวกับความเป็น “เหยื่อ” ของเหตุการณ์
อุปสรรคอีกประการหนึ่งในการสร้างกระบวนการชำระสะสางอดีตอันเป็นบาดแผลก็คือ ประเทศอินโดนีเซียขาดกลุ่มผู้นำที่จะผนึกกำลังกันอย่างแข็งขันและมีเจตจำนงมุ่งมั่นในการผลักดันกระบวนการดังกล่าวแบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในแอฟริกาใต้ แม้ว่าในช่วงที่การถกเถียงเรื่องนี้กำลังดำเนินไปอย่างร้อนแรง ได้มีความพยายามของคณะทำงานชุดหนึ่งซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาร่วมด้วยที่จะจัดทำร่างกฎหมายเพื่อเสนอให้มีการตั้ง “คณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงและไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง” เช่นที่มีการจัดตั้งขึ้นในแอฟริกาใต้ภายใต้การริเริ่มผลักดันของประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา แต่สุดท้ายเรื่องนี้ก็เงียบหายไป ประกอบกับความสนับสนุนทางการเมืองต่อวาฮิดเสื่อมถอยลงอย่างรุนแรง และเกิดปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดนในอาเจห์และปาปัว ก็ทำให้กระบวนการดังกล่าวถูกละเลยไปในที่สุด ประธานาธิบดีเมกาวตี ซูการ์โน บุตรี ที่ขึ้นมามีอำนาจต่อจากวาอิดก็ไม่ได้แสดงสัญญาณใดๆว่าได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว
สังคมอินโดนีเซียจึงยังคงมีชีวิตอยู่กับบาดแผลจากอดีตในแบบที่มันเคยอยู่มาแล้วร่วม 3 ทศวรรษ คาราคาซังและอิหลักอิเหลื่อต่อไป
แล้วสังคมไทยล่ะ? เราจะมีโอกาสได้เห็นกระบวนการชำระ “บาดแผล” ในอดีตอย่างร่วมแรงร่วมใจจากสมาชิกในสังคมหรือไม่?
อาจจะเร็วเกินไปที่จะตอบ
แต่หากหวังการริเริ่มผลักดันจากรัฐ สุนทรพจน์ต่อไปนี้อาจบอกอะไรเราได้บ้าง
“ผมอยากเห็นข้อขัดแย้งทั้งหลายในสังคมไทยที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ยุติลง เพราะประเทศไทยไม่มีเวลาที่จะมาทะเลาะในเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้… ผมอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่า เหตุการณ์ในวันนี้ไม่อยากให้มองว่าใครผิดใครถูก อยากให้มองว่าทุกคนต่างมีหน้าที่ แต่ความเข้าใจอาจจะขัดแย้งหรือต่างกัน… ต่อไปนี้ ไม่ใช่ว่าทุก 14 ตุลา เราจะต้องมานั่งเถียงกันว่าประวัติศาสตร์ถูกหรือไม่ถูก เราจะช่วยเหลือคนพิการหรือไม่ช่วย จากนี้ไปจนถึง 14 ตุลาปีหน้า เหตุการณ์เหล่านี้ต้องยุติ วันนี้ตั้งใจจะมาบอกกับพี่น้องว่า ‘อย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก’ เพราะสังคมไทยมีเรื่องที่ต้องแก้ไขมากมาย เรื่องทั้งหมดที่ท่านกำลังบ่นกันอยู่นี้ ขอให้เลิก”[4]
เอกสารประกอบการเขียน
- Goenawan Mohamad, “Remembering the Left”, in Grayson lloyd (ed.) Indonesia Today: Challenges of History (Singapore: Institute of South Asian Studies, 2001), p.126-135.
- Gerry van Klinken, “The Battle for History after Suharto: Beyond Sacred Dates, Great Men, and Legal Milestones” in Critical Asian Studies 33:3 (2001), p.323-350.
- Ariel Heryanto, “Indonesian middle-class opposition in the 1990s” in Garry Rodan (ed.) Political Opposition in Industrialing Asia (New York: Routledge, 1996), p.241-271.
- Vaudine England, “Book-burning raids spark backlash” South China Morning Post May 19, 2001.
- รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ “ตลาดหนังสือหลังเดือนตุลาคม 2516” ถนนหนังสือ (กรุงเทพ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2543), น. 16-27.
- “สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าว ณ บริเวณอนุสรณ์สถานวีรชนประชาธิปไตย
วันที่ 14 ตุลาคม 2544”
[1] ภายหลังการล่มสลายของรัฐบาลซูฮาร์โต ครูประวัติศาสตร์จำนวนมากทำเรื่องถึงรัฐบาลขอย้ายออกจากติมอร์รวมทั้งเกาะอื่นๆ เพราะเกรงจะได้รับอันตรายจากบรรดาผู้ปกครองที่โกรธแค้นว่าพวกเขาสอนแต่สิ่งโกหกและบิดเบือนให้เยาวชน ในเดือนตุลาคม 2541 รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลประธานาธิบดีฮาบีบีมีมีคำสั่งตั้งคณะทำงานทบทวนแก้ไขตำราเรียนประวัติศาสตร์เพื่อให้เนื้อหามี “ความสมดุล” มากขึ้น เนื้อหาที่ถูกทบทวนมีอยู่ทั้งหมด 5 เหตุการณ์ หนึ่งในนั้นคือ การผนวกติมอร์ตะวันออกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปี 2519.
[2] นวนิยายจตุรภาคชุด The Buru Quartet ของปราโมทยาอันประกอบด้วย Bumi manusia, Jelak langkah, Anak semua bangsa และ Rumah kaca ตีพิมพ์ครั้งแรกในจาร์กาตาในทศวรรษ 2520 แต่ถูกแบนในเวลาอันรวดเร็ว จนต้องนำไปตีพิมพ์ซ้ำในเนเธอร์แลนด์และมาเลเซีย ต่อเมื่อภายหลังการสิ้นสุดของรัฐบาลซูฮาร์โต งานชุดนี้รวมทั้งงานเก่าอื่นๆของเขาได้กลายเป็นงาน best seller ที่สำนักพิมพ์ต้องเร่งผลิตแข่งให้ทันกับความต้องการของผู้อ่าน
[3] นิตยสารวิเคราะห์การเมืองรายสัปดาห์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความเชื่อถืออย่างสูง มียอดจำหน่ายถึง 200,000 ฉบับต่อเล่ม ถูกรัฐบาลซูฮาร์โตเพิกถอนใบอนุญาตในปี 2537 สร้างความไม่พอใจให้ประชาชนจนลุกลามเป็นการประท้วงใหญ่ ขณะนี้กลับมาออกเผยแพร่อีกครั้งหนึ่งพร้อมทั้งจัดทำฉบับ online ด้วย
[4] “สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าว ณ บริเวณอนุสรณ์สถานวีรชนประชาธิปไตย
วันที่ 14 ตุลาคม 2544” ถอดเทปแบบคำต่อคำใน section “คำปราศรัยและบทความ”
review commodifying marxism
การเมืองวัฒนธรรมเรื่องลัทธิมาร์กซิสต์-ความเป็นไทย-ตลาดทุนนิยม ใน
Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958
“นี่เป็นหนังสือที่มีลักษณะพิเศษ ไม่เหมือนบทความหลายชิ้นของนักวิจัย… แต่มันเหมือนนวนิยาย ทำให้เราอยากจะหัวเราะ หรือบางครั้งก็อยากจะร้องไห้”
เบเนดิค แอนเดอสัน[1]
ภูมิประเทศทางปัญญาของหนังสือ
ย้อนไปเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์เบเนดิค แอนเดอสัน ผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอดในการศึกษาภูมิภาคอุษาคเนย์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell) เจ้าของผลงานวิชาการเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยมอันลือลั่นเรื่อง Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งเปรียบเทียบชะตากรรมและชีวิตทางการเมืองระหว่างฝ่ายซ้ายอินโดนีเซียกับฝ่ายซ้ายไทยยุคหลังขบวนการคอมมิวนิสต์ล่มสลายในทั้งสองประเทศไว้น่าสนใจอย่างยิ่ง[2] จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ หากใครสนใจขอให้ติดตามอ่านจากบทความดังกล่าว
เมื่อมองภาพตัดเปรียบเทียบระหว่างฝ่ายซ้ายหลังขบวนการคอมมิวนิสต์ในทั้งสองประเทศ เขาพบว่าแม้จะมีความแตกต่างกันหลายประการอันเนื่องมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และภูมิประเทศทางการเมืองวัฒนธรรมที่ผิดแผกแตกต่างกัน แต่ก็มีเส้นใยลึกลับบางประการที่เชื่อมโยงร้อยรัดนักคิดฝ่ายก้าวหน้าของทั้งสองประเทศให้มีคุณลักษณะร่วมกันทางปัญญาด้วย เบเนดิค แอนเดอสันพูดถึง- ชาตินิยม, ประวัติศาสตร์ และการพิมพ์
ในกรณีของนักคิดฝ่ายซ้ายไทย เมื่อโบกมือลาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ ออกจากป่าคืนสู่เมือง ในแง่ชีวิตส่วนตัว, พวกเขามีโอกาสร่ำเรียนศึกษาต่อจนจบกลับมาเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ตามมหาวิทยาลัย มิต้องเผชิญสภาพทุกข์ทรมานของการถูกคุมขัง เนรเทศ หรือลี้ภัยไปต่างแดนเช่นเดียวกับสหายร่วมอุดมการณ์ในอินโดนีเซีย ในทางความคิด, พวกเขาทุ่มเทเวลาและสติปัญญาทั้งหมดที่มีเพื่อค้นหาคำตอบว่าทำไมพวกเขาจึงพ่ายแพ้ทางการเมือง อะไรเป็นมูลฐานของความผิดพลาดล้มเหลว ในขณะเดียวกันอะไรที่ทำให้ศัตรูของพวกเขาถึงเข้มแข็งนัก
คำถามเหล่านี้นำพาพวกเขา “แลไปข้างหลัง” เพราะเชื่อว่าความล้มเหลวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีมูลเหตุสำคัญมาจากการขาดความเข้าใจวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถ่องแท้
สำหรับพวกเขาประวัติศาสตร์จึงกลายเป็นกุญแจไขคำตอบ มิใช่เพื่อเข้าใจอดีตที่มิอาจหวนคืนเท่านั้น แต่เพื่อที่จะก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างรู้เท่าทันด้วย
เบเนดิค แอนเดอสันยกผลงาน 3 ชิ้นขึ้นมาเป็นตัวแทนเพื่อฉายให้เห็นภาพที่เขานำเสนอ งานทั้ง 3 ชิ้นเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของอดีตนักศึกษาฝ่ายซ้าย 3 คนที่เดินทางไปเรียนต่อยังต่างประเทศ (อเมริกาและออสเตรเลีย) ในช่วงที่ขบวนการคอมมิวนิสต์ไทยจบชีวิตทางการเมืองไปเรียบร้อยแล้ว (และในระหว่างที่ร่ำเรียนอยู่ พวกเขาก็ทันเห็นสหภาพโซเวียตล่มสลายไปกับตา) ได้แก่ วิทยานิพนธ์ของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล[3], เกษียร เตชะพีระ[4] และธงชัย วินิจจะกูล[5] และเพื่อความสมบูรณ์เราควรเพิ่มวิทยานิพนธ์อีกฉบับหนึ่งซึ่งออกมาทีหลังสุดของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเข้าไปด้วย[6] ในขณะที่สองเล่มแรกเป็นวิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์ สองเล่มหลังเป็นวิทยานิพนธ์ประวัติศาสตร์ แต่ทั้งหมดล้วนใช้แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์เข้าสู่ปัญหา
ทั้ง 4 เล่มเป็นการไต่สวนศึกษาอดีตด้วยวิธีการ มุมมอง ข้อมูล และทัศนะใหม่ ก่อเกิดเป็นผลงานการค้นคว้าชั้นดี ละเอียดลออ แปลกแหวกแนวที่มีผลพลิกกลับมุมมองกระทั่งท้าทายความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนสิ้นสุดยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม (2500) ที่มีการศึกษากันมาก่อนหน้า
ในขณะที่เสกสรรค์และธงชัยพิจารณาไปที่กำเนิดและความเปลี่ยนแปลงของรัฐไทยและความเป็นชาติไทยโดยดูผ่านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และความรู้ทางภูมิศาสตร์ (แผนที่) ตามลำดับ สมศักดิ์กับเกษียรพิเคราะห์อีกด้านหนึ่งของเหรียญ มุ่งศึกษาทำความเข้าใจความเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ศัตรูที่สำคัญและเข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐไทย ในขณะเดียวกันก็เป็นลัทธิการเมืองที่พวกเขาเคยสมาทานจนถึงกับอุทิศชีวิตตัวเองเข้าร่วมเคลื่อนไหวเพื่อบรรลุอุดมการณ์ดังกล่าวก่อนที่จะผิดหวังฝันสลายในเวลาต่อมา การศึกษาเรื่องนี้จึงเป็นการทำความเข้าใจ “ผี” ที่หลอกหลอนรัฐไทยและหลอกหลอนพวกเขาด้วยในเวลาเดียวกัน
ในบรรดางานทั้ง 4 ชิ้น งานของธงชัยถูกนำไปจัดพิมพ์เป็นหนังสือเรียบร้อยก่อนใครอื่น[7] จนเมื่อปีที่ผ่านมาเกษียร เตชะพีระ ปรับปรุงแก้ไขวิทยานิพนธ์ของเขาตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเล่มหนาขนาด 390 หน้า ห่างจากระยะเวลาที่มันปรากฏตัวครั้งแรกในรูปวิทยานิพนธ์ถึง 9 ปีเต็ม[8]
เมื่อลัทธิมาร์กซิสต์สวมความเป็นไทย และวางขายในตลาดทุนนิยม
เกษียรแบ่งหนังสือของเขาออกเป็นทั้งหมด 9 บท กรอบทฤษฎีและมุมมองในการศึกษา ยังคงยืนตามที่เขานำเสนอไว้ในวิทยานิพนธ์ แม้จะปรากฏข้อมูลรายละเอียดงอกเงยเพิ่มพูนจากงานชิ้นอื่นที่ออกมาหลังจากวิทยานิพนธ์ของเขาซึ่งเขาก็ได้นำมาใช้ในการปรับปรุงงาน แต่มิได้ส่งผลกระทบต่อการตีความและข้อถกเถียงหลักที่เขาเสนอไว้
จุดเด่นและข้อต่างประการสำคัญของหนังสือเรื่อง Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958 จากงานวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์โดยนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่ผ่านมาทั้งหมดอยู่ที่กระบวนทัศน์ในการศึกษา ซึ่งผู้เขียนพลิกเปลี่ยนมุมมองทัศนะและใช้เครื่องมือในการศึกษาใหม่
เขาปฏิเสธแนวทางการศึกษาที่ถือทัศนะแอนตี้คอมมิวนิสต์เป็นที่ตั้ง อาศัยแต่เอกสารราชการ และอิงนโยบายรัฐบาลไปมองความเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ การศึกษาแนวนี้เชื่ออย่างสนิทใจล่วงหน้าไปแล้วว่าคอมมิวนิสต์คือความเป็นอื่น แปลกแยก เข้ากันไม่ได้กับความเป็นไทย และดังนั้นจึงไม่ควรและไม่อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมไทย ในขณะเดียวกันเขาก็ถอยห่างออกจากการศึกษาในเชิงทฤษฏีสังคมของบรรดามาร์กซิสต์ที่ถือเอาลัทธิมาร์กซ์เป็นสัจธรรมสากล สนใจแต่แง่มุมความถูก-ผิดทางทฤษฏีของการประยุกต์ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์มาใช้ในสังคมไทย จึงให้เหตุผลว่าที่ขบวนการคอมมิวนิสต์ล้มเหลวพ่ายแพ้ทางการเมืองเพราะเข้าใจหรือใช้ทฤษฎีผิดพลาด โดยมองข้ามและไม่ตระหนักถึงปัญหาทางภาษาและวัฒนธรรมของการนำเข้าลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ซึ่งถือกำเนิดในต่างประเทศมาเผยแพร่ประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
เกษียรปรับกระบวนทัศน์ใหม่เข้าไปมองประเด็นปัญหา โดยใช้การศึกษาในแนว “การเมืองวัฒนธรรม” (Cultural Politics) ซึ่งมิได้พิจารณาเน้นไปที่การต่อสู้ในเชิงองค์กรหรือขบวนการทางการเมืองหรือเน้นที่ความถูก/ผิดทางทฤษฎีของแนวคิด แต่ให้ความสำคัญกับการขับเคี่ยวต่อสู้ช่วงชิงนิยามคำและความหมายระหว่างกลุ่มฝ่ายต่างๆในสังคมการเมืองหนึ่งๆ เพื่อรองรับปฏิบัติการทางการเมืองและการครองอำนาจของตน มองในแง่นี้วาทกรรมลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ซึ่งถูกนำเข้าข้ามวัฒนธรรมและภาษามาจากสังคมอื่นจึงมิอาจนำมาปลูกลงในเนื้อดินของสังคมไทยโดยสะดวกง่ายดายปลอดโล่งอุปสรรค มองในสายตานักการเมืองวัฒนธรรม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่อัตวิสัยของปัญญาชนลัทธิมาร์กซิสต์ว่าเข้าใจทฤษฏีถูกหรือผิดแต่ด้านเดียว แต่เป็นเพราะวาทกรรมลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ต้องมาเผชิญหน้าปะทะประสานกับวัฒนธรรมไทยที่ดำรงอยู่ก่อน ซึ่งได้ถูกปัญญาชนเจ้านายและ ขุนนางอนุรักษ์นิยมสร้างภูมิคุ้มกันเพาะเชื้อแอนตี้คอมมิวนิสต์ไว้ล่วงหน้าแล้ว
นอกจากนั้น เกษียรยังชี้ให้เห็นว่าเมื่อลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ถูกนำเข้ามาในสังคมไทย และเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านตลาดสิ่งพิมพ์ ผลที่เกิดขึ้นคือ มันกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องตกอยู่ภายใต้ตรรกของตลาดทุนนิยมเฉกเช่นเดียวกับสินค้าอื่น (อุปสงค์-อุปทาน-กลไกราคา) การนำลัทธิมาร์กซิสต์มาเผยแพร่โดยมุ่งหวังที่จะสร้างอิทธิพลต่อสาธารณชนไทยจึงต้องเผชิญกับกฎเกณฑ์ของตลาดทุนนิยมอีกด่านหนึ่งด้วย ประเด็นนี้นับว่าทั้งแปลกแหวกแนวและสร้างสรรค์ เนื่องจากไม่เคยมีงานศึกษาชิ้นอื่นพิจารณาถึงความสัมพันธ์นี้เลย
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์กับวัฒนธรรมไทยและตลาดทุนนิยมจึงเป็นหัวใจและปมปริศนาของหนังสือเล่มนี้
การนำเข้า ผลิตซ้ำ ตีความ เผยแพร่ และซื้อขายลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์
เขาเริ่มต้นบทที่ 2 “Lookjin Communist: The Bridgehead of SiameseCommunism”จากการพิจารณาตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในการนำความคิดมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย ซึ่งมิใช่บรรดานักเรียนนอกที่ไปร่ำเรียนในตะวันตกเหมือนดังประเทศเพื่อนบ้าน หากคือชาวจีนและเวียดนามอพยพที่เข้ามาในไทยเมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เพื่อเคลื่อนไหวกู้ชาติของตน คนเหล่านี้ (โฮจิมินห์เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง) เข้ามาเคลื่อนไหวทางความคิด นำเข้าหนังสือคอมมิวนิสต์ เปิดร้านหนังสือและสโมสร จัดทำหนังสือพิมพ์และใบปลิว ตั้งโรงเรียนเอกชน จัดตั้งองค์กรทางการเมือง ทั้งหมดนี้มุ่งไปยังชุมชนชาวจีนและเวียดนามอพยพเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ อย่างไรก็ตาม กลุ่มบุคคลที่จะมีบทบาทสำคัญเป็นแกนในการเคลื่อนไหวและสร้างพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นในประเทศไทยในเวลาต่อมาคือ บรรดาลูกจีนคอมมิวนิสต์ที่เกิดในไทย ในส่วนนี้เกษียรลำดับให้เห็นความเคลื่อนไหวของชาวคอมมิวนิสต์ในระยะแรกซึ่งมีรายละเอียดซับซ้อนพัวพันกับความเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์ในเอเชียและระดับสากล มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับที่จะเข้าใจความคลี่คลายต่อมา
ในขณะที่ความคิดมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เดินทางมาจากทิศตะวันออก ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า
การแอนตี้คอมมิวนิสต์เดินทางมาจากทิศตะวันตกผ่านชนชั้นนำสยามที่กลับมาจากการไปร่ำเรียนในยุโรป โดยมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้นำ ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจสำหรับการเมืองวัฒนธรรมไทยที่เกษียรชี้ให้เห็นคือ การแอนตี้คอมมิวนิสต์นั้นเกิดขึ้นก่อนที่ความคิดคอมมิวนิสต์จะเข้ามาแพร่หลายในสังคมไทยเสียอีก เข้าทำนองวางหมากทางวัฒนธรรมดักสกัดความคิดที่จะมีอันตรายต่อชนชั้นนำล่วงหน้า รัชกาลที่ 6 อาศัยอัจฉริยภาพทางการประพันธ์โยงลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งกำลังเฟื่องฟูจากการปฏิวัติรัสเซียในพ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) เข้ากับความเชื่อทางศาสนาเรื่องอุตตระกุรุ และศาสนาพระศรีอารยเพื่อทำให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามพระองค์ว่าคอมมิวนิสต์นั้นเป็นความคิดที่เพ้อฝัน ปฏิบัติจริงไม่ได้
บวกกับอุดมการณ์ชาติพันธุ์ว่าด้วย “ความเป็นไทย” (the ethno-ideology of Thainess) ซึ่งก่อตัวขึ้นมาจากการนิยามความเป็นไทยของชนชั้นนำสยาม ไม่ว่าจะเป็น “ความเป็นชาติโดยแท้จริง” (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) “ลักษณะไทย” (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ซึ่งเป็นคำนิยาม “ความเป็นไทย” ที่เน้นความจงรักภักดี เคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจ อดกลั้นประสานประโยชน์ ในแง่นี้ลัทธิคอมมิวนิสต์จึงขัดแย้งกับ “ความเป็นไทย” โดยสิ้นเชิง
ชาวคอมมิวนิสต์จีน-เวียดนามอพยพที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในสยามและลูกหลานของพวกเขาจึงถูกกีดกันและผลักไสออกจากความเป็นไทย พวกเขามิอาจเป็นไทยได้ในทางการเมืองวัฒนธรรมทั้งโดยเชื้อชาติและอุดมการณ์
ปัญหาก็คือ เพื่อที่จะบรรลุอุดมการณ์ทางการเมือง ชาวคอมมิวนิสต์มิอาจอาศัยกำลังของตนเพียงลำพัง ดังนั้นจึงต้องเชื่อมลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เข้ากับคนไทยโดยตนเองทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือ ก้าวข้าม “ความไม่เป็นไทย” ทางการเมืองวัฒนธรรม เพื่อสามารถดัดแปลงแปรเปลี่ยนลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์จากจีนให้กลายเป็นไทย
ประเด็นนี้เป็นเนื้อหาของบทที่ 3 “Institutions of Thaification: How the Lookjin Communists Turned Thai Patriots” ซึ่งเกษียรได้วิเคราะห์ให้เห็นอย่างพิสดารว่าลูกจีนคอมมิวนิสต์แม้จะมิอาจเปลี่ยนเชื้อชาติและไม่ยอมเปลี่ยนอุดมการณ์ แต่ได้ปรับเปลี่ยนตนเองให้ก้าวข้ามความไม่ไทยอย่างไรในเชิงสังคมวิทยา-ภาษาศาสตร์ (socio-linguistic notion of Thainess) ตั้งแต่หัดเรียนเขียน-อ่าน-พูดภาษาไทย เปลี่ยนไปประกอบอาชีพที่คนไทยนิยมทำ (รับราชการ) และคบค้าสมาคมผูกสัมพันธ์กับคนไทย เขาอภิปรายถึงสถาบันหลักๆ 5 แห่งที่ช่วยให้ลูกจีนคอมมิวนิสต์เข้าไปเดินชุบตัวออกมากลายเป็นไทย ได้แก่ คุก โรงเรียน โรงงาน สหภาพแรงงาน และหนังสือพิมพ์ ส่วนที่น่าประทับใจที่สุดเห็นจะอยู่ตอนที่เขาบรรยายให้เห็นการสังสันทน์แลกเปลี่ยนทางปัญญาระหว่างนักโทษการเมืองต่างอุดมการณ์ในคุกบางขวาง ได้แก่นักโทษกบฏบวรเดชอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมกับนักโทษคอมมิวนิสต์ ฝ่ายหลังสอนภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีนให้ฝ่ายแรก ในขณะที่ฝ่ายแรกสอนภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ และทักษะการใช้ภาษาไทยให้ฝ่ายหลัง แถมนักโทษคอมมิวนิสต์คนหนึ่งยังได้ชื่อสกุลภาษาไทยที่ขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายกบฎบวรเดชตั้งให้ติดตัวออกมาจากคุกด้วย!!
ประเด็นที่สำคัญที่สุดในบทที่ 3 และน่าตื่นเต้นสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องชาตินิยม คือ การที่ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าลูกจีนคอมมิวนิสต์ได้แปรชาตินิยมจีนของพวกเขากลายมาเป็นชาตินิยมไทยในเวลาเดียวกันได้อย่างไร สำหรับเขาจุดพลิกผันสำคัญอยู่ที่การอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นเดินทัพเข้ามายึดครองประเทศไทย เหตุการณ์นี้ได้กระตุ้นให้เกิดจินตนาการทางการเมืองวัฒนธรรมเปรียบเทียบระหว่างการรุกรานของญี่ปุ่นในจีน (แผ่นดินบ้านเกิด) และไทย (แผ่นดินที่อยู่อาศัย) เกิดความรู้สึกว่ามีศัตรูร่วมกัน เปิดโอกาสทางประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรกให้ลูกจีนคอมมิวนิสต์เล่นบทเป็นทั้งนักชาตินิยมจีนต่อต้านญี่ปุ่นและผู้รักชาติไทยต่อต้านญี่ปุ่นไปพร้อมๆกัน ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เขาโต้แย้งกับงานของเออิจิ มูราชิมานักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ศึกษาความเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์จีนในเมืองไทยที่แม้จะให้ข้อมูลรายละเอียดดีเยี่ยม แต่มองไม่เห็นการกลายพันธุ์ของชาตินิยม กลับตีความการเคลื่อนไหวของลูกจีนคอมมิวนิสต์ระหว่างสงครามโลกทั้งหมดว่ามีเป้าหมายทางการเมืองเน้นไปที่ประเทศจีนเท่านั้น[9]
เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 คอมมิวนิสต์เริ่มโผล่จากการเคลื่อนไหวใต้ดินขึ้นมามีบทบาทในเวทีการเมืองเปิดมากขึ้น แถมยังกลายเป็นองค์การทางการเมืองถูกกฏหมายเนื่องจากมีการยกเลิกพระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 2489 อย่างไรก็ตามเกษียรชี้ว่ากระบวนการแปรลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ให้กลายเป็นไทยเพิ่งจะบรรลุความสำเร็จแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น
เพราะนอกจากสถานะความชอบธรรมทางกฎหมายแล้ว ภารกิจอีกครึ่งหนึ่งที่ต้องทำต่อคือ การแปรความเป็นไทยแบบอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม, เชื้อชาตินิยม-ทหารนิยมให้มีเชื้อมูลของความเป็นซ้าย กล่าวโดยรูปธรรมคือ เขาหมายถึงการประกอบสร้างประวัติศาสตร์ไทย วาทกรรมทางการเมือง วรรณกรรม สัญลักษณ์ต่างๆ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเขาเรียกมันว่าเป็น ”การจินตนาการชุมชนชาติไทยใหม่” (ดูหน้า 58)
บทที่ 4-7 เกษียรอภิปรายถึงกรรมวิธี กระบวนการผลิตวาทกรรมมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมในรูปของสิ่งพิมพ์ เผยแพร่เข้าสู่ตลาดวัฒนธรรมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เขานำเสนอว่าผ่านทุนนิยมการพิมพ์และตลาดทุนนิยมนั่นเองที่สินค้าทางวัฒนธรรมต่อต้านทุนนิยมอย่างลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ได้เฟื่องฟูและแพร่กระจายความคิดและภาษาของมันออกสู่สาธารณะ และก่อตัวขึ้นเป็นวาทกรรมต่อต้านวาทกรรมครอบงำตลอดช่วงทศวรรษ 2490 หากในขณะเดียวกันสินค้ายี่ห้อลัทธิมาร์กซิสต์ก็ต้องจ่ายราคาให้แก่ตลาดทุนนิยมด้วยเช่นกัน คือ ต้องตกอยู่ภายใต้ตรรกทางเศรษฐกิจ (อุปสงค์-อุปทาน-กลไกราคา) และโอกาสที่จะเสื่อมสาธารณ์ทางอุดมการณ์ในตลาดทุนนิยม
บทที่ 4 และ 5 เขาวิเคราะห์ด้านที่เป็นอุปสงค์ (demand) ที่ทำให้ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เป็นที่ดึงดูดและได้รับความสนใจ อุปสงค์พื้นฐานประกอบด้วย 3 ปัจจัยได้แก่ มีกลุ่มผู้อ่านที่มีศักยภาพ (อ่านออกเขียนได้และมีความรู้พอ) จะเสพงาน สองเกิดกระแสการเมืองระดับโลกที่ค่ายสังคมนิยมกลายเป็นมหาอำนาจหลังสงคราม บวกกับการปฏิวัติในประเทศจีน (พ.ศ. 2492 ) และกระแสการปฏิวัติกู้ชาติของเพื่อนบ้านอุษาคเนย์ และสามความเสื่อมโทรมผุกร่อนตกต่ำของเศรษฐกิจสังคมในประเทศหลังสงคราม ทั้งหมดนี้ทำให้ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ก้าวขึ้นมาเป็นทางเลือกทางการเมืองที่อาจจะมาช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนไทยหลังสงคราม นอกจากนี้ยังมีอุปสงค์ที่เป็นตัวเร่งให้ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เป็นที่นิยมอีก 2 ประการใหญ่ๆคือ ประการแรก การเสื่อมโทรมและหมดความชอบธรรมของอุดมการณ์การเมืองก่อนหน้านี้ที่เคยถูกทดลองใช้และรับมาปฏิบัติในเมืองไทยโดยกลุ่มการเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เผด็จการทหารนิยม-ชาตินิยม และประชาธิปไตย-รัฐธรรมนูญนิยม ทำให้ระบบการเมืองใหม่อย่างคอมมิวนิสต์ซึ่งยังไม่เคยถูกนำมาใช้มีความน่าพิสมัยเสน่หา (เพราะยังไม่เคยใช้ จึงยังไม่เคยล้มเหลวเหมือนอุดมการณ์อื่น)
ประการที่สองคือ การเคลื่อนไหวมวลชนที่ปรากฏถี่ขึ้นภายหลังสงครามโลกสิ้นสุด (ภายใต้บรรยากาศการเปิดเสรีทางการเมืองของรัฐบาลพลเรือนที่มีปรีดี พนมยงค์เป็นผู้นำ) ซึ่งขบวนการคอมมิวนิสต์มีส่วนสร้างขึ้น (การเคลื่อนไหวกรรมกร-นักศึกษา-ชาวนา) ได้กระตุ้นความสนใจของประชาชนต่อความคิดมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ และกระตุ้นจินตนาการของปัญญาชนหัวก้าวหน้าให้ตื่นเต้นกับกิจกรรมทางการเมืองของขบวนการคอมมิวนิสต์ ในทศวรรษ 2490 นี่เองที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) สามารถดึงดูดสมาชิกกลุ่มใหม่ที่มีความแตกต่างไปจากสมาชิกรุ่นก่อน (มีการศึกษาสูงและส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย) เข้าร่วมขบวนการ คือนักศึกษาและปัญญาชนนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำให้พคท.ได้เชื่อมต่อกับความเป็นไทยรวมทั้งได้กำลังสำคัญในการผลิตเผยแพร่วาทกรรมมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์
ในบทที่ 6 เขาหันมาพิจารณาอุปทาน (supply) ของลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ที่จะมารองรับอุปสงค์ที่ขยายตัวขึ้น เกษียรชี้ให้เห็นความขาดแคลนของอุปทานในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บรรยากาศการเมืองยังไม่เอื้ออำนวย ช่องทางที่คนไทย (กลุ่มเล็กๆ) จะได้สัมผัสลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์มีเพียงช่องทางเล็กๆ คือ วิชาลัทธิเศรษฐกิจที่มีเปิดสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนเมื่ออุปสงค์ขยายตัวออกไปมากหลังสงคราม จึงเกิดตลาดรองรับ สิ่งพิมพ์จึงหลั่งไหลออกมาอย่างท่วมท้น หลากหลายและเป็นไปอย่างเปิดเผย แหล่งป้อนสินค้าลัทธิมาร์กซิสต์จากต่างประเทศสู่สังคมไทยที่เกษียรแจกแจงไว้ประกอบด้วย 4 แหล่งคือ 1.ร้านหนังสือเอกชน (เพื่อการค้าล้วนๆ กับที่มีเป้าหมายทางการเมือง) 2.ห้องสมุดสาธารณะ (ธรรมศาสตร์และจุฬาฯ) 3.คลังหนังสือส่วนตัวของปัญญาชน (ที่มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น สุภา ศิริมานนท์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ ฯลฯ) 4.สถานทูตต่างประเทศ (สหรัฐฯและโซเวียต) โดยเกษียรเสนอว่าแหล่งแรกเป็นแหล่งใหญ่ที่สุด
ตอนที่อภิปรายถึงบทบาทของสถานทูตโซเวียตและสหรัฐฯ นับว่าสนุกสนานมาก ทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของการแอนตี้คอมมิวนิสต์ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามว่าเป็นทั้งแฟชั่นทางการเมือง, กิจกรรมที่ดึงดูดความช่วยเหลือจากมหาอำนาจ (กระทั่งหน่วยงานของรัฐผลิตนิตยสาร มหาชน ของพคท.ฉบับปลอมออกมาเพื่อสร้างให้สหรัฐฯเห็นว่าผีคอมมิวนิสต์มีอยู่จริง ฉะนั้นสหรัฐฯช่วยสนับสนุนกิจกรรมแอนตี้คอมมิวนิสต์ของรัฐบาลไทยต่อไปเถิด!!) และเป็นเครื่องมือเอนกประสงค์ที่เอามาใช้ข่มขู่ บีบคั้น กดปราบศัตรูทางการเมืองของรัฐซึ่งบ่อยครั้งก็มิได้เป็นหรือเกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์แต่ประการใด
สำหรับผู้ที่สนใจประเด็นการแพร่กระจายของความคิดข้ามสังคม บทนี้ของเกษียรจะน่าสนใจเป็นพิเศษ และอาจเป็นตัวแบบให้นำไปศึกษากรณีอื่นได้ มันช่วยชี้ให้เราเห็นว่าการแพร่กระจายของความคิดนั้นเป็นเรื่องซับซ้อนมาจากหลายช่องทาง และเกี่ยวพันกับบริบททางการเมือง ลักษณะทางสังคมของประชากร และสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของสังคมอย่างพัวพัน
หลังจากแจกแจงวิเคราะห์อุปสงค์-อุปทานของตัวสินค้า เขาอภิปรายให้เห็นต่อไปถึงกระบวนการและกรรมวิธีที่สิ่งพิมพ์ลัทธิมาร์กซิสต์ภาษาต่างประเทศที่เริ่มหลั่งไหลเข้ามา ถูกผลิตซ้ำโดยแปล/แปลง/ถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยอย่างไร เพราะการทำมันเป็นภาษาไทยเป็นเงื่อนไขที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ถ้าต้องการให้ความคิดนี้เป็นที่แพร่หลายและส่งผลสะเทือนต่อผู้อ่าน เนื่องจากประชากรไทยที่อ่านภาษาฝรั่งและภาษาจีนออกมีอยู่เพียงหยิบมือเดียวในสมัยนั้น นี่เป็นประเด็นของบทที่ 7 และ 8
เกษียรแบ่งกลุ่มผู้ผลิตซ้ำวาทกรรมมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ออกมาเป็นภาษาไทยเป็น 2 กลุ่ม คือ ชาวพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนและเวียดนาม การศึกษา (ยกเว้นบางคน) ต่ำกว่าระดับปริญาญตรี กับกลุ่มปรีดี/อักษรสาส์น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานไทย การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ทำงานรับราชการ/หนังสือพิมพ์ เมื่อเทียบกันแล้วกลุ่มแรกมีลักษณะมนุษยนิยมและเป็นนักทฤษฎีกว่ากลุ่มแรก เขาเสนอว่าการแบ่งเช่นนี้ยังคงมีประโยชน์ในการเข้าใจความจริงทางการเมืองวัฒนธรรมของฝ่ายซ้ายไทยในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสมาชิกสองกลุ่มในแง่บุคลิกทางปัญญาและกิจกรรมทางการเมืองอยู่จริง โดยเฉพาะในแง่องค์กร กลุ่มพคท.มีการจัดตั้งองค์กรที่เข้มแข็ง มีวินัยและมีความเด็ดเดี่ยวยืนหยัดทางการเมืองมากกว่ากลุ่มอื่น ฉะนั้นเมื่อรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามปราบปรามฝ่ายค้านรัฐบาลอย่างหนัก เราจะเห็นปรากฏการณ์ที่พคท.ค่อยๆ กลายเป็นองค์กรผูกขาดการผลิตและเผยแพร่ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ ในขณะที่กลุ่มอื่นสลายตัวไป อย่างไรก็ตามเขาพยายามย้ำว่าเรามิอาจยึดติดกับการแบ่งกลุ่มเช่นนี้อย่างตายตัว เพราะในความเป็นจริงมีคนที่ผลิตและเผยแพร่ความคิดสังคมนิยมโดยมิได้สังกัดทั้งสองกลุ่มนี้ นอกจากนั้นสมาชิกของทั้งสองกลุ่มก็มีการทำงานร่วมกันไขว้กันไปมา และสุดท้ายทั้งสองกลุ่มไม่ได้มีเอกภาพทางความคิดภายในกลุ่มแต่อย่างใด หากเข้าใจเจตนาไม่ผิด เกษียรกำลังเสนอให้มองความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาอย่างไม่ยึดติดกลุ่มตายตัว แต่มองอย่างมีพลวัตร
ในบรรดาสิ่งพิมพ์ฝ่ายซ้ายที่ผลิตออกมามากมายแข่งขันกันในท้องตลาด (ผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ/ระยะเวลาที่ออก/เจ้าของและบรรณาธิการของสิ่งพิมพ์ฝ่ายซ้ายในยุคสมัยนั้นทั้งหมดขอให้ดูตารางที่ 7-1 หน้า 150 ซึ่งเกษียรได้รวบรวมเอาไว้) เขาหยิบนิตยสาร 3 ฉบับที่เขาเห็นว่าสามารถเป็นภาพตัวแทนที่สำคัญและดีที่สุดที่จะสะท้อนชะตากรรมของสินค้าลัทธิมาร์กซิสต์ภายใต้รัฐบาลเผด็จการแอนตี้คอมมิวนิสต์และภายใต้ตลาดทุนนิยมมาอภิปรายอย่างละเอียดในบทที่ 8 ได้แก่นิตยสาร มหาชน ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2485-2494) อักษรสาส์น ซึ่งก่อตั้งและบรรณาธิการโดยสุภา ศิริมานนท์ (พ.ศ. 2492-2495) และ การเมืองรายสัปดาห์ ที่ก่อตั้งโดยประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และบุญชู โรจนเสถียร
พ้นไปจากแนวคิดและการตีความที่ใหม่แหวกแนวเกี่ยวกับการผลิตซ้ำลัทธิมาร์กซิสต์เป็นภาษาไทยแล้ว ในแง่ข้อมูลของบทที่ 7 และ 8 นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ที่จะได้รู้จักตัวละครทางประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อเสียงมาก่อน หรือได้ยินแต่ไม่เคยรับรู้บทบาทบางเรื่องในอดีตของพวกเขา (ยกตัวอย่างกรณีประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และบุญชู โรจนเสถียร สองยักษ์ใหญ่แห่งธนาคารกรุงเทพฯ) และถ้าจะให้การอ่านมีรสชาติเพิ่มขึ้น ขอแนะนำให้อ่านวิทยานิพนธ์ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลควบคู่ไปด้วย
“What Is Left?” ชื่อบทสุดท้ายที่เก๋ไก๋โดยเล่นกับคำว่า left ในภาษาอังกฤษ เป็นบทที่พบว่ามีการปรับแก้จากวิทยานิพนธ์มากที่สุด (นอกจากบทที่ 3 ซึ่งมีการปรับแก้ข้อมูลโดยอาศัยงานของมูราชิมาและสมศักดิ์) ผู้อ่านที่สนใจว่าเปลี่ยนอย่างไรขอให้กลับไปอ่านเทียบจากวิทยานิพนธ์ บทนี้เป็นการดึงเอาประเด็นข้อคิดที่เขาพบระหว่างทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งสามารถเขียนออกมาเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งต่างหากที่นอกเหนือไปจากกระบวนการและโครงสร้างพื้นฐานทางวัฒนธรรมทางการเมือง (กลุ่มคนและสถาบันต่างๆ) ที่ทำไว้ในวิทยานิพนธ์ แต่เป็นประเด็นว่าด้วยการเจาะลึกไปที่เนื้อในของกระบวนการสร้างงานวัฒนธรรมลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยว่ามันเกิดปัญหาแยกแย้งอย่างไรบ้าง และสุดท้ายทั้งลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์และวัฒนธรรมไทยถูกเปลี่ยนโดยอีกฝ่ายอย่างไร เขาประมวลมันมาเขียนเป็นสรุปแบบสังเขปโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์มันด้วยกองหลักฐานข้อมูล ประเด็นที่เขาหยิบมาเป็นหัวข้ออภิปรายมีอาทิ คู่ความขัดแย้งในการทำลัทธิมาร์กซิสต์ให้เป็นสินค้า, การเมืองของการแปล, การทำลัทธิมาร์กซิสต์เป็นกลอน เป็นต้น
ทุกประเด็นล้วนน่าตื่นตาตื่นใจ ก็ได้แต่หวังว่าผู้เขียนจะมีโอกาสผลิตมันออกมาเป็นสินค้าทางภูมิปัญญาอีกชิ้นหนึ่งแก่ผู้อ่านชาวไทยในภายภาคหน้า
การที่หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นในภาษาอังกฤษ พิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ต่างประเทศซึ่งทำให้ราคาหนังสือค่อนข้างแพง คงทำให้หนังสือเล่มนี้เข้าถึงผู้อ่านชาวไทยได้ลำบาก ถ้าจะให้คนไทยเข้าถึงได้ มันคงต้องถูกแปรให้กลายเป็นไทยสักวันหนึ่งข้างหน้าเฉกเช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์ลัทธิมาร์กซิสต์ที่มันวิเคราะห์ถึง นอกจากนั้นความหนาและความเข้มข้นทางวิชาการของมันก็คงทำให้อุปทานของหนังสือไม่มากมายพุ่งพราดเหมือนหนังสือฮาวทูที่มีดกดื่นในตลาดหนังสือ กล่าวในแง่นี้ชะตากรรมของหนังสือวิชาการในตลาดทุนนิยมก็ไม่ได้ดีกว่าสิ่งพิมพ์ลัทธิมาร์กซิสต์เท่าไรเลย
[1] ตอนหนึ่งจากการสนทนาเปิดตัวและวิพากษ์หนังสือของเกษียร เตชะพีระ เรื่อง Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545.
[2] Benedict Anderson, “Radicalism after Communism,” New Left Review 202 (Nov.-Dec. 1993) ต่อมาพิมพ์รวมเล่มอยู่ในหนังสือของผู้เขียนคนเดียวกันเรื่อง The Spectre of Comparisons: Nationalism, Southeast Asia, and the World (London: Verso, 1998).
[3] Seksan Prasertkul, “The Transformation of the Thai State and Economic Change” (Ph.D. thesis, Cornell University, 1989).
[4] Thongchai Winichakul, “Siam Mapped: A History of the Geo-Body of Siam” (Ph.D. thesis, University of Sydney, 1988).
[5] Kasian Tejapira, “Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958” (Ph.D. thesis, Cornell University, 1992).
[6] Somsak Jeamteerasakul, “The Communist Movement in Thailand” (Ph.D. thesis, Monash University, 1993).
[7] Thongchai Winichakul, Siam Mapped: A History of the Geo-Body of a Nation (Honolulu: University of Hawaii Press, 1994).
[8] Kasian Tejapira, Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958 (Melbourne: Kyoto University Press and Trans Pacific Press, 2001). อย่างไรก็ดี งานทั้ง 4 ชิ้นยังไม่ถูกแปลเป็นไทย ซึ่งทั้งน่าเสียดายและชวนสงสัยไปพร้อมๆ กัน.
[9] เออิจิ มูราชิมา, การเมืองจีนสยาม: การเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย ค.ศ.1924-1941, แปลโดย เออิจิ มูราชิมา และวรศักดิ์ มหัทธโนบล (กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, 2539); เออิจิ มูราชิมา, “สัมพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่น กับชาวจีนในประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2“, แปลโดยเออิจิ มูราชิมา และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ฮายะโอะ ฟูกุย, ญี่ปุ่น-ไทย-อุษาคเนย์ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2541).
Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958
“นี่เป็นหนังสือที่มีลักษณะพิเศษ ไม่เหมือนบทความหลายชิ้นของนักวิจัย… แต่มันเหมือนนวนิยาย ทำให้เราอยากจะหัวเราะ หรือบางครั้งก็อยากจะร้องไห้”
เบเนดิค แอนเดอสัน[1]
ภูมิประเทศทางปัญญาของหนังสือ
ย้อนไปเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์เบเนดิค แอนเดอสัน ผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอดในการศึกษาภูมิภาคอุษาคเนย์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell) เจ้าของผลงานวิชาการเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยมอันลือลั่นเรื่อง Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งเปรียบเทียบชะตากรรมและชีวิตทางการเมืองระหว่างฝ่ายซ้ายอินโดนีเซียกับฝ่ายซ้ายไทยยุคหลังขบวนการคอมมิวนิสต์ล่มสลายในทั้งสองประเทศไว้น่าสนใจอย่างยิ่ง[2] จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ หากใครสนใจขอให้ติดตามอ่านจากบทความดังกล่าว
เมื่อมองภาพตัดเปรียบเทียบระหว่างฝ่ายซ้ายหลังขบวนการคอมมิวนิสต์ในทั้งสองประเทศ เขาพบว่าแม้จะมีความแตกต่างกันหลายประการอันเนื่องมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และภูมิประเทศทางการเมืองวัฒนธรรมที่ผิดแผกแตกต่างกัน แต่ก็มีเส้นใยลึกลับบางประการที่เชื่อมโยงร้อยรัดนักคิดฝ่ายก้าวหน้าของทั้งสองประเทศให้มีคุณลักษณะร่วมกันทางปัญญาด้วย เบเนดิค แอนเดอสันพูดถึง- ชาตินิยม, ประวัติศาสตร์ และการพิมพ์
ในกรณีของนักคิดฝ่ายซ้ายไทย เมื่อโบกมือลาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ ออกจากป่าคืนสู่เมือง ในแง่ชีวิตส่วนตัว, พวกเขามีโอกาสร่ำเรียนศึกษาต่อจนจบกลับมาเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ตามมหาวิทยาลัย มิต้องเผชิญสภาพทุกข์ทรมานของการถูกคุมขัง เนรเทศ หรือลี้ภัยไปต่างแดนเช่นเดียวกับสหายร่วมอุดมการณ์ในอินโดนีเซีย ในทางความคิด, พวกเขาทุ่มเทเวลาและสติปัญญาทั้งหมดที่มีเพื่อค้นหาคำตอบว่าทำไมพวกเขาจึงพ่ายแพ้ทางการเมือง อะไรเป็นมูลฐานของความผิดพลาดล้มเหลว ในขณะเดียวกันอะไรที่ทำให้ศัตรูของพวกเขาถึงเข้มแข็งนัก
คำถามเหล่านี้นำพาพวกเขา “แลไปข้างหลัง” เพราะเชื่อว่าความล้มเหลวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีมูลเหตุสำคัญมาจากการขาดความเข้าใจวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถ่องแท้
สำหรับพวกเขาประวัติศาสตร์จึงกลายเป็นกุญแจไขคำตอบ มิใช่เพื่อเข้าใจอดีตที่มิอาจหวนคืนเท่านั้น แต่เพื่อที่จะก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างรู้เท่าทันด้วย
เบเนดิค แอนเดอสันยกผลงาน 3 ชิ้นขึ้นมาเป็นตัวแทนเพื่อฉายให้เห็นภาพที่เขานำเสนอ งานทั้ง 3 ชิ้นเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของอดีตนักศึกษาฝ่ายซ้าย 3 คนที่เดินทางไปเรียนต่อยังต่างประเทศ (อเมริกาและออสเตรเลีย) ในช่วงที่ขบวนการคอมมิวนิสต์ไทยจบชีวิตทางการเมืองไปเรียบร้อยแล้ว (และในระหว่างที่ร่ำเรียนอยู่ พวกเขาก็ทันเห็นสหภาพโซเวียตล่มสลายไปกับตา) ได้แก่ วิทยานิพนธ์ของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล[3], เกษียร เตชะพีระ[4] และธงชัย วินิจจะกูล[5] และเพื่อความสมบูรณ์เราควรเพิ่มวิทยานิพนธ์อีกฉบับหนึ่งซึ่งออกมาทีหลังสุดของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเข้าไปด้วย[6] ในขณะที่สองเล่มแรกเป็นวิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์ สองเล่มหลังเป็นวิทยานิพนธ์ประวัติศาสตร์ แต่ทั้งหมดล้วนใช้แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์เข้าสู่ปัญหา
ทั้ง 4 เล่มเป็นการไต่สวนศึกษาอดีตด้วยวิธีการ มุมมอง ข้อมูล และทัศนะใหม่ ก่อเกิดเป็นผลงานการค้นคว้าชั้นดี ละเอียดลออ แปลกแหวกแนวที่มีผลพลิกกลับมุมมองกระทั่งท้าทายความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนสิ้นสุดยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม (2500) ที่มีการศึกษากันมาก่อนหน้า
ในขณะที่เสกสรรค์และธงชัยพิจารณาไปที่กำเนิดและความเปลี่ยนแปลงของรัฐไทยและความเป็นชาติไทยโดยดูผ่านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และความรู้ทางภูมิศาสตร์ (แผนที่) ตามลำดับ สมศักดิ์กับเกษียรพิเคราะห์อีกด้านหนึ่งของเหรียญ มุ่งศึกษาทำความเข้าใจความเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ศัตรูที่สำคัญและเข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐไทย ในขณะเดียวกันก็เป็นลัทธิการเมืองที่พวกเขาเคยสมาทานจนถึงกับอุทิศชีวิตตัวเองเข้าร่วมเคลื่อนไหวเพื่อบรรลุอุดมการณ์ดังกล่าวก่อนที่จะผิดหวังฝันสลายในเวลาต่อมา การศึกษาเรื่องนี้จึงเป็นการทำความเข้าใจ “ผี” ที่หลอกหลอนรัฐไทยและหลอกหลอนพวกเขาด้วยในเวลาเดียวกัน
ในบรรดางานทั้ง 4 ชิ้น งานของธงชัยถูกนำไปจัดพิมพ์เป็นหนังสือเรียบร้อยก่อนใครอื่น[7] จนเมื่อปีที่ผ่านมาเกษียร เตชะพีระ ปรับปรุงแก้ไขวิทยานิพนธ์ของเขาตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเล่มหนาขนาด 390 หน้า ห่างจากระยะเวลาที่มันปรากฏตัวครั้งแรกในรูปวิทยานิพนธ์ถึง 9 ปีเต็ม[8]
เมื่อลัทธิมาร์กซิสต์สวมความเป็นไทย และวางขายในตลาดทุนนิยม
เกษียรแบ่งหนังสือของเขาออกเป็นทั้งหมด 9 บท กรอบทฤษฎีและมุมมองในการศึกษา ยังคงยืนตามที่เขานำเสนอไว้ในวิทยานิพนธ์ แม้จะปรากฏข้อมูลรายละเอียดงอกเงยเพิ่มพูนจากงานชิ้นอื่นที่ออกมาหลังจากวิทยานิพนธ์ของเขาซึ่งเขาก็ได้นำมาใช้ในการปรับปรุงงาน แต่มิได้ส่งผลกระทบต่อการตีความและข้อถกเถียงหลักที่เขาเสนอไว้
จุดเด่นและข้อต่างประการสำคัญของหนังสือเรื่อง Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958 จากงานวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์โดยนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่ผ่านมาทั้งหมดอยู่ที่กระบวนทัศน์ในการศึกษา ซึ่งผู้เขียนพลิกเปลี่ยนมุมมองทัศนะและใช้เครื่องมือในการศึกษาใหม่
เขาปฏิเสธแนวทางการศึกษาที่ถือทัศนะแอนตี้คอมมิวนิสต์เป็นที่ตั้ง อาศัยแต่เอกสารราชการ และอิงนโยบายรัฐบาลไปมองความเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ การศึกษาแนวนี้เชื่ออย่างสนิทใจล่วงหน้าไปแล้วว่าคอมมิวนิสต์คือความเป็นอื่น แปลกแยก เข้ากันไม่ได้กับความเป็นไทย และดังนั้นจึงไม่ควรและไม่อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมไทย ในขณะเดียวกันเขาก็ถอยห่างออกจากการศึกษาในเชิงทฤษฏีสังคมของบรรดามาร์กซิสต์ที่ถือเอาลัทธิมาร์กซ์เป็นสัจธรรมสากล สนใจแต่แง่มุมความถูก-ผิดทางทฤษฏีของการประยุกต์ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์มาใช้ในสังคมไทย จึงให้เหตุผลว่าที่ขบวนการคอมมิวนิสต์ล้มเหลวพ่ายแพ้ทางการเมืองเพราะเข้าใจหรือใช้ทฤษฎีผิดพลาด โดยมองข้ามและไม่ตระหนักถึงปัญหาทางภาษาและวัฒนธรรมของการนำเข้าลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ซึ่งถือกำเนิดในต่างประเทศมาเผยแพร่ประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
เกษียรปรับกระบวนทัศน์ใหม่เข้าไปมองประเด็นปัญหา โดยใช้การศึกษาในแนว “การเมืองวัฒนธรรม” (Cultural Politics) ซึ่งมิได้พิจารณาเน้นไปที่การต่อสู้ในเชิงองค์กรหรือขบวนการทางการเมืองหรือเน้นที่ความถูก/ผิดทางทฤษฎีของแนวคิด แต่ให้ความสำคัญกับการขับเคี่ยวต่อสู้ช่วงชิงนิยามคำและความหมายระหว่างกลุ่มฝ่ายต่างๆในสังคมการเมืองหนึ่งๆ เพื่อรองรับปฏิบัติการทางการเมืองและการครองอำนาจของตน มองในแง่นี้วาทกรรมลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ซึ่งถูกนำเข้าข้ามวัฒนธรรมและภาษามาจากสังคมอื่นจึงมิอาจนำมาปลูกลงในเนื้อดินของสังคมไทยโดยสะดวกง่ายดายปลอดโล่งอุปสรรค มองในสายตานักการเมืองวัฒนธรรม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่อัตวิสัยของปัญญาชนลัทธิมาร์กซิสต์ว่าเข้าใจทฤษฏีถูกหรือผิดแต่ด้านเดียว แต่เป็นเพราะวาทกรรมลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ต้องมาเผชิญหน้าปะทะประสานกับวัฒนธรรมไทยที่ดำรงอยู่ก่อน ซึ่งได้ถูกปัญญาชนเจ้านายและ ขุนนางอนุรักษ์นิยมสร้างภูมิคุ้มกันเพาะเชื้อแอนตี้คอมมิวนิสต์ไว้ล่วงหน้าแล้ว
นอกจากนั้น เกษียรยังชี้ให้เห็นว่าเมื่อลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ถูกนำเข้ามาในสังคมไทย และเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านตลาดสิ่งพิมพ์ ผลที่เกิดขึ้นคือ มันกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องตกอยู่ภายใต้ตรรกของตลาดทุนนิยมเฉกเช่นเดียวกับสินค้าอื่น (อุปสงค์-อุปทาน-กลไกราคา) การนำลัทธิมาร์กซิสต์มาเผยแพร่โดยมุ่งหวังที่จะสร้างอิทธิพลต่อสาธารณชนไทยจึงต้องเผชิญกับกฎเกณฑ์ของตลาดทุนนิยมอีกด่านหนึ่งด้วย ประเด็นนี้นับว่าทั้งแปลกแหวกแนวและสร้างสรรค์ เนื่องจากไม่เคยมีงานศึกษาชิ้นอื่นพิจารณาถึงความสัมพันธ์นี้เลย
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์กับวัฒนธรรมไทยและตลาดทุนนิยมจึงเป็นหัวใจและปมปริศนาของหนังสือเล่มนี้
การนำเข้า ผลิตซ้ำ ตีความ เผยแพร่ และซื้อขายลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์
เขาเริ่มต้นบทที่ 2 “Lookjin Communist: The Bridgehead of SiameseCommunism”จากการพิจารณาตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในการนำความคิดมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย ซึ่งมิใช่บรรดานักเรียนนอกที่ไปร่ำเรียนในตะวันตกเหมือนดังประเทศเพื่อนบ้าน หากคือชาวจีนและเวียดนามอพยพที่เข้ามาในไทยเมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เพื่อเคลื่อนไหวกู้ชาติของตน คนเหล่านี้ (โฮจิมินห์เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง) เข้ามาเคลื่อนไหวทางความคิด นำเข้าหนังสือคอมมิวนิสต์ เปิดร้านหนังสือและสโมสร จัดทำหนังสือพิมพ์และใบปลิว ตั้งโรงเรียนเอกชน จัดตั้งองค์กรทางการเมือง ทั้งหมดนี้มุ่งไปยังชุมชนชาวจีนและเวียดนามอพยพเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ อย่างไรก็ตาม กลุ่มบุคคลที่จะมีบทบาทสำคัญเป็นแกนในการเคลื่อนไหวและสร้างพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นในประเทศไทยในเวลาต่อมาคือ บรรดาลูกจีนคอมมิวนิสต์ที่เกิดในไทย ในส่วนนี้เกษียรลำดับให้เห็นความเคลื่อนไหวของชาวคอมมิวนิสต์ในระยะแรกซึ่งมีรายละเอียดซับซ้อนพัวพันกับความเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์ในเอเชียและระดับสากล มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับที่จะเข้าใจความคลี่คลายต่อมา
ในขณะที่ความคิดมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เดินทางมาจากทิศตะวันออก ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า
การแอนตี้คอมมิวนิสต์เดินทางมาจากทิศตะวันตกผ่านชนชั้นนำสยามที่กลับมาจากการไปร่ำเรียนในยุโรป โดยมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้นำ ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจสำหรับการเมืองวัฒนธรรมไทยที่เกษียรชี้ให้เห็นคือ การแอนตี้คอมมิวนิสต์นั้นเกิดขึ้นก่อนที่ความคิดคอมมิวนิสต์จะเข้ามาแพร่หลายในสังคมไทยเสียอีก เข้าทำนองวางหมากทางวัฒนธรรมดักสกัดความคิดที่จะมีอันตรายต่อชนชั้นนำล่วงหน้า รัชกาลที่ 6 อาศัยอัจฉริยภาพทางการประพันธ์โยงลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งกำลังเฟื่องฟูจากการปฏิวัติรัสเซียในพ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) เข้ากับความเชื่อทางศาสนาเรื่องอุตตระกุรุ และศาสนาพระศรีอารยเพื่อทำให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามพระองค์ว่าคอมมิวนิสต์นั้นเป็นความคิดที่เพ้อฝัน ปฏิบัติจริงไม่ได้
บวกกับอุดมการณ์ชาติพันธุ์ว่าด้วย “ความเป็นไทย” (the ethno-ideology of Thainess) ซึ่งก่อตัวขึ้นมาจากการนิยามความเป็นไทยของชนชั้นนำสยาม ไม่ว่าจะเป็น “ความเป็นชาติโดยแท้จริง” (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) “ลักษณะไทย” (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ซึ่งเป็นคำนิยาม “ความเป็นไทย” ที่เน้นความจงรักภักดี เคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจ อดกลั้นประสานประโยชน์ ในแง่นี้ลัทธิคอมมิวนิสต์จึงขัดแย้งกับ “ความเป็นไทย” โดยสิ้นเชิง
ชาวคอมมิวนิสต์จีน-เวียดนามอพยพที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในสยามและลูกหลานของพวกเขาจึงถูกกีดกันและผลักไสออกจากความเป็นไทย พวกเขามิอาจเป็นไทยได้ในทางการเมืองวัฒนธรรมทั้งโดยเชื้อชาติและอุดมการณ์
ปัญหาก็คือ เพื่อที่จะบรรลุอุดมการณ์ทางการเมือง ชาวคอมมิวนิสต์มิอาจอาศัยกำลังของตนเพียงลำพัง ดังนั้นจึงต้องเชื่อมลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เข้ากับคนไทยโดยตนเองทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือ ก้าวข้าม “ความไม่เป็นไทย” ทางการเมืองวัฒนธรรม เพื่อสามารถดัดแปลงแปรเปลี่ยนลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์จากจีนให้กลายเป็นไทย
ประเด็นนี้เป็นเนื้อหาของบทที่ 3 “Institutions of Thaification: How the Lookjin Communists Turned Thai Patriots” ซึ่งเกษียรได้วิเคราะห์ให้เห็นอย่างพิสดารว่าลูกจีนคอมมิวนิสต์แม้จะมิอาจเปลี่ยนเชื้อชาติและไม่ยอมเปลี่ยนอุดมการณ์ แต่ได้ปรับเปลี่ยนตนเองให้ก้าวข้ามความไม่ไทยอย่างไรในเชิงสังคมวิทยา-ภาษาศาสตร์ (socio-linguistic notion of Thainess) ตั้งแต่หัดเรียนเขียน-อ่าน-พูดภาษาไทย เปลี่ยนไปประกอบอาชีพที่คนไทยนิยมทำ (รับราชการ) และคบค้าสมาคมผูกสัมพันธ์กับคนไทย เขาอภิปรายถึงสถาบันหลักๆ 5 แห่งที่ช่วยให้ลูกจีนคอมมิวนิสต์เข้าไปเดินชุบตัวออกมากลายเป็นไทย ได้แก่ คุก โรงเรียน โรงงาน สหภาพแรงงาน และหนังสือพิมพ์ ส่วนที่น่าประทับใจที่สุดเห็นจะอยู่ตอนที่เขาบรรยายให้เห็นการสังสันทน์แลกเปลี่ยนทางปัญญาระหว่างนักโทษการเมืองต่างอุดมการณ์ในคุกบางขวาง ได้แก่นักโทษกบฏบวรเดชอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมกับนักโทษคอมมิวนิสต์ ฝ่ายหลังสอนภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีนให้ฝ่ายแรก ในขณะที่ฝ่ายแรกสอนภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ และทักษะการใช้ภาษาไทยให้ฝ่ายหลัง แถมนักโทษคอมมิวนิสต์คนหนึ่งยังได้ชื่อสกุลภาษาไทยที่ขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายกบฎบวรเดชตั้งให้ติดตัวออกมาจากคุกด้วย!!
ประเด็นที่สำคัญที่สุดในบทที่ 3 และน่าตื่นเต้นสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องชาตินิยม คือ การที่ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าลูกจีนคอมมิวนิสต์ได้แปรชาตินิยมจีนของพวกเขากลายมาเป็นชาตินิยมไทยในเวลาเดียวกันได้อย่างไร สำหรับเขาจุดพลิกผันสำคัญอยู่ที่การอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นเดินทัพเข้ามายึดครองประเทศไทย เหตุการณ์นี้ได้กระตุ้นให้เกิดจินตนาการทางการเมืองวัฒนธรรมเปรียบเทียบระหว่างการรุกรานของญี่ปุ่นในจีน (แผ่นดินบ้านเกิด) และไทย (แผ่นดินที่อยู่อาศัย) เกิดความรู้สึกว่ามีศัตรูร่วมกัน เปิดโอกาสทางประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรกให้ลูกจีนคอมมิวนิสต์เล่นบทเป็นทั้งนักชาตินิยมจีนต่อต้านญี่ปุ่นและผู้รักชาติไทยต่อต้านญี่ปุ่นไปพร้อมๆกัน ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เขาโต้แย้งกับงานของเออิจิ มูราชิมานักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ศึกษาความเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์จีนในเมืองไทยที่แม้จะให้ข้อมูลรายละเอียดดีเยี่ยม แต่มองไม่เห็นการกลายพันธุ์ของชาตินิยม กลับตีความการเคลื่อนไหวของลูกจีนคอมมิวนิสต์ระหว่างสงครามโลกทั้งหมดว่ามีเป้าหมายทางการเมืองเน้นไปที่ประเทศจีนเท่านั้น[9]
เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 คอมมิวนิสต์เริ่มโผล่จากการเคลื่อนไหวใต้ดินขึ้นมามีบทบาทในเวทีการเมืองเปิดมากขึ้น แถมยังกลายเป็นองค์การทางการเมืองถูกกฏหมายเนื่องจากมีการยกเลิกพระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 2489 อย่างไรก็ตามเกษียรชี้ว่ากระบวนการแปรลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ให้กลายเป็นไทยเพิ่งจะบรรลุความสำเร็จแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น
เพราะนอกจากสถานะความชอบธรรมทางกฎหมายแล้ว ภารกิจอีกครึ่งหนึ่งที่ต้องทำต่อคือ การแปรความเป็นไทยแบบอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม, เชื้อชาตินิยม-ทหารนิยมให้มีเชื้อมูลของความเป็นซ้าย กล่าวโดยรูปธรรมคือ เขาหมายถึงการประกอบสร้างประวัติศาสตร์ไทย วาทกรรมทางการเมือง วรรณกรรม สัญลักษณ์ต่างๆ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเขาเรียกมันว่าเป็น ”การจินตนาการชุมชนชาติไทยใหม่” (ดูหน้า 58)
บทที่ 4-7 เกษียรอภิปรายถึงกรรมวิธี กระบวนการผลิตวาทกรรมมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมในรูปของสิ่งพิมพ์ เผยแพร่เข้าสู่ตลาดวัฒนธรรมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เขานำเสนอว่าผ่านทุนนิยมการพิมพ์และตลาดทุนนิยมนั่นเองที่สินค้าทางวัฒนธรรมต่อต้านทุนนิยมอย่างลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ได้เฟื่องฟูและแพร่กระจายความคิดและภาษาของมันออกสู่สาธารณะ และก่อตัวขึ้นเป็นวาทกรรมต่อต้านวาทกรรมครอบงำตลอดช่วงทศวรรษ 2490 หากในขณะเดียวกันสินค้ายี่ห้อลัทธิมาร์กซิสต์ก็ต้องจ่ายราคาให้แก่ตลาดทุนนิยมด้วยเช่นกัน คือ ต้องตกอยู่ภายใต้ตรรกทางเศรษฐกิจ (อุปสงค์-อุปทาน-กลไกราคา) และโอกาสที่จะเสื่อมสาธารณ์ทางอุดมการณ์ในตลาดทุนนิยม
บทที่ 4 และ 5 เขาวิเคราะห์ด้านที่เป็นอุปสงค์ (demand) ที่ทำให้ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เป็นที่ดึงดูดและได้รับความสนใจ อุปสงค์พื้นฐานประกอบด้วย 3 ปัจจัยได้แก่ มีกลุ่มผู้อ่านที่มีศักยภาพ (อ่านออกเขียนได้และมีความรู้พอ) จะเสพงาน สองเกิดกระแสการเมืองระดับโลกที่ค่ายสังคมนิยมกลายเป็นมหาอำนาจหลังสงคราม บวกกับการปฏิวัติในประเทศจีน (พ.ศ. 2492 ) และกระแสการปฏิวัติกู้ชาติของเพื่อนบ้านอุษาคเนย์ และสามความเสื่อมโทรมผุกร่อนตกต่ำของเศรษฐกิจสังคมในประเทศหลังสงคราม ทั้งหมดนี้ทำให้ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ก้าวขึ้นมาเป็นทางเลือกทางการเมืองที่อาจจะมาช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนไทยหลังสงคราม นอกจากนี้ยังมีอุปสงค์ที่เป็นตัวเร่งให้ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์เป็นที่นิยมอีก 2 ประการใหญ่ๆคือ ประการแรก การเสื่อมโทรมและหมดความชอบธรรมของอุดมการณ์การเมืองก่อนหน้านี้ที่เคยถูกทดลองใช้และรับมาปฏิบัติในเมืองไทยโดยกลุ่มการเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เผด็จการทหารนิยม-ชาตินิยม และประชาธิปไตย-รัฐธรรมนูญนิยม ทำให้ระบบการเมืองใหม่อย่างคอมมิวนิสต์ซึ่งยังไม่เคยถูกนำมาใช้มีความน่าพิสมัยเสน่หา (เพราะยังไม่เคยใช้ จึงยังไม่เคยล้มเหลวเหมือนอุดมการณ์อื่น)
ประการที่สองคือ การเคลื่อนไหวมวลชนที่ปรากฏถี่ขึ้นภายหลังสงครามโลกสิ้นสุด (ภายใต้บรรยากาศการเปิดเสรีทางการเมืองของรัฐบาลพลเรือนที่มีปรีดี พนมยงค์เป็นผู้นำ) ซึ่งขบวนการคอมมิวนิสต์มีส่วนสร้างขึ้น (การเคลื่อนไหวกรรมกร-นักศึกษา-ชาวนา) ได้กระตุ้นความสนใจของประชาชนต่อความคิดมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ และกระตุ้นจินตนาการของปัญญาชนหัวก้าวหน้าให้ตื่นเต้นกับกิจกรรมทางการเมืองของขบวนการคอมมิวนิสต์ ในทศวรรษ 2490 นี่เองที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) สามารถดึงดูดสมาชิกกลุ่มใหม่ที่มีความแตกต่างไปจากสมาชิกรุ่นก่อน (มีการศึกษาสูงและส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย) เข้าร่วมขบวนการ คือนักศึกษาและปัญญาชนนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำให้พคท.ได้เชื่อมต่อกับความเป็นไทยรวมทั้งได้กำลังสำคัญในการผลิตเผยแพร่วาทกรรมมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์
ในบทที่ 6 เขาหันมาพิจารณาอุปทาน (supply) ของลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ที่จะมารองรับอุปสงค์ที่ขยายตัวขึ้น เกษียรชี้ให้เห็นความขาดแคลนของอุปทานในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บรรยากาศการเมืองยังไม่เอื้ออำนวย ช่องทางที่คนไทย (กลุ่มเล็กๆ) จะได้สัมผัสลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์มีเพียงช่องทางเล็กๆ คือ วิชาลัทธิเศรษฐกิจที่มีเปิดสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนเมื่ออุปสงค์ขยายตัวออกไปมากหลังสงคราม จึงเกิดตลาดรองรับ สิ่งพิมพ์จึงหลั่งไหลออกมาอย่างท่วมท้น หลากหลายและเป็นไปอย่างเปิดเผย แหล่งป้อนสินค้าลัทธิมาร์กซิสต์จากต่างประเทศสู่สังคมไทยที่เกษียรแจกแจงไว้ประกอบด้วย 4 แหล่งคือ 1.ร้านหนังสือเอกชน (เพื่อการค้าล้วนๆ กับที่มีเป้าหมายทางการเมือง) 2.ห้องสมุดสาธารณะ (ธรรมศาสตร์และจุฬาฯ) 3.คลังหนังสือส่วนตัวของปัญญาชน (ที่มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น สุภา ศิริมานนท์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ ฯลฯ) 4.สถานทูตต่างประเทศ (สหรัฐฯและโซเวียต) โดยเกษียรเสนอว่าแหล่งแรกเป็นแหล่งใหญ่ที่สุด
ตอนที่อภิปรายถึงบทบาทของสถานทูตโซเวียตและสหรัฐฯ นับว่าสนุกสนานมาก ทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของการแอนตี้คอมมิวนิสต์ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามว่าเป็นทั้งแฟชั่นทางการเมือง, กิจกรรมที่ดึงดูดความช่วยเหลือจากมหาอำนาจ (กระทั่งหน่วยงานของรัฐผลิตนิตยสาร มหาชน ของพคท.ฉบับปลอมออกมาเพื่อสร้างให้สหรัฐฯเห็นว่าผีคอมมิวนิสต์มีอยู่จริง ฉะนั้นสหรัฐฯช่วยสนับสนุนกิจกรรมแอนตี้คอมมิวนิสต์ของรัฐบาลไทยต่อไปเถิด!!) และเป็นเครื่องมือเอนกประสงค์ที่เอามาใช้ข่มขู่ บีบคั้น กดปราบศัตรูทางการเมืองของรัฐซึ่งบ่อยครั้งก็มิได้เป็นหรือเกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์แต่ประการใด
สำหรับผู้ที่สนใจประเด็นการแพร่กระจายของความคิดข้ามสังคม บทนี้ของเกษียรจะน่าสนใจเป็นพิเศษ และอาจเป็นตัวแบบให้นำไปศึกษากรณีอื่นได้ มันช่วยชี้ให้เราเห็นว่าการแพร่กระจายของความคิดนั้นเป็นเรื่องซับซ้อนมาจากหลายช่องทาง และเกี่ยวพันกับบริบททางการเมือง ลักษณะทางสังคมของประชากร และสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของสังคมอย่างพัวพัน
หลังจากแจกแจงวิเคราะห์อุปสงค์-อุปทานของตัวสินค้า เขาอภิปรายให้เห็นต่อไปถึงกระบวนการและกรรมวิธีที่สิ่งพิมพ์ลัทธิมาร์กซิสต์ภาษาต่างประเทศที่เริ่มหลั่งไหลเข้ามา ถูกผลิตซ้ำโดยแปล/แปลง/ถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยอย่างไร เพราะการทำมันเป็นภาษาไทยเป็นเงื่อนไขที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ถ้าต้องการให้ความคิดนี้เป็นที่แพร่หลายและส่งผลสะเทือนต่อผู้อ่าน เนื่องจากประชากรไทยที่อ่านภาษาฝรั่งและภาษาจีนออกมีอยู่เพียงหยิบมือเดียวในสมัยนั้น นี่เป็นประเด็นของบทที่ 7 และ 8
เกษียรแบ่งกลุ่มผู้ผลิตซ้ำวาทกรรมมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ออกมาเป็นภาษาไทยเป็น 2 กลุ่ม คือ ชาวพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนและเวียดนาม การศึกษา (ยกเว้นบางคน) ต่ำกว่าระดับปริญาญตรี กับกลุ่มปรีดี/อักษรสาส์น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานไทย การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ทำงานรับราชการ/หนังสือพิมพ์ เมื่อเทียบกันแล้วกลุ่มแรกมีลักษณะมนุษยนิยมและเป็นนักทฤษฎีกว่ากลุ่มแรก เขาเสนอว่าการแบ่งเช่นนี้ยังคงมีประโยชน์ในการเข้าใจความจริงทางการเมืองวัฒนธรรมของฝ่ายซ้ายไทยในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสมาชิกสองกลุ่มในแง่บุคลิกทางปัญญาและกิจกรรมทางการเมืองอยู่จริง โดยเฉพาะในแง่องค์กร กลุ่มพคท.มีการจัดตั้งองค์กรที่เข้มแข็ง มีวินัยและมีความเด็ดเดี่ยวยืนหยัดทางการเมืองมากกว่ากลุ่มอื่น ฉะนั้นเมื่อรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามปราบปรามฝ่ายค้านรัฐบาลอย่างหนัก เราจะเห็นปรากฏการณ์ที่พคท.ค่อยๆ กลายเป็นองค์กรผูกขาดการผลิตและเผยแพร่ลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ ในขณะที่กลุ่มอื่นสลายตัวไป อย่างไรก็ตามเขาพยายามย้ำว่าเรามิอาจยึดติดกับการแบ่งกลุ่มเช่นนี้อย่างตายตัว เพราะในความเป็นจริงมีคนที่ผลิตและเผยแพร่ความคิดสังคมนิยมโดยมิได้สังกัดทั้งสองกลุ่มนี้ นอกจากนั้นสมาชิกของทั้งสองกลุ่มก็มีการทำงานร่วมกันไขว้กันไปมา และสุดท้ายทั้งสองกลุ่มไม่ได้มีเอกภาพทางความคิดภายในกลุ่มแต่อย่างใด หากเข้าใจเจตนาไม่ผิด เกษียรกำลังเสนอให้มองความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาอย่างไม่ยึดติดกลุ่มตายตัว แต่มองอย่างมีพลวัตร
ในบรรดาสิ่งพิมพ์ฝ่ายซ้ายที่ผลิตออกมามากมายแข่งขันกันในท้องตลาด (ผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ/ระยะเวลาที่ออก/เจ้าของและบรรณาธิการของสิ่งพิมพ์ฝ่ายซ้ายในยุคสมัยนั้นทั้งหมดขอให้ดูตารางที่ 7-1 หน้า 150 ซึ่งเกษียรได้รวบรวมเอาไว้) เขาหยิบนิตยสาร 3 ฉบับที่เขาเห็นว่าสามารถเป็นภาพตัวแทนที่สำคัญและดีที่สุดที่จะสะท้อนชะตากรรมของสินค้าลัทธิมาร์กซิสต์ภายใต้รัฐบาลเผด็จการแอนตี้คอมมิวนิสต์และภายใต้ตลาดทุนนิยมมาอภิปรายอย่างละเอียดในบทที่ 8 ได้แก่นิตยสาร มหาชน ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2485-2494) อักษรสาส์น ซึ่งก่อตั้งและบรรณาธิการโดยสุภา ศิริมานนท์ (พ.ศ. 2492-2495) และ การเมืองรายสัปดาห์ ที่ก่อตั้งโดยประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และบุญชู โรจนเสถียร
พ้นไปจากแนวคิดและการตีความที่ใหม่แหวกแนวเกี่ยวกับการผลิตซ้ำลัทธิมาร์กซิสต์เป็นภาษาไทยแล้ว ในแง่ข้อมูลของบทที่ 7 และ 8 นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ที่จะได้รู้จักตัวละครทางประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อเสียงมาก่อน หรือได้ยินแต่ไม่เคยรับรู้บทบาทบางเรื่องในอดีตของพวกเขา (ยกตัวอย่างกรณีประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และบุญชู โรจนเสถียร สองยักษ์ใหญ่แห่งธนาคารกรุงเทพฯ) และถ้าจะให้การอ่านมีรสชาติเพิ่มขึ้น ขอแนะนำให้อ่านวิทยานิพนธ์ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลควบคู่ไปด้วย
“What Is Left?” ชื่อบทสุดท้ายที่เก๋ไก๋โดยเล่นกับคำว่า left ในภาษาอังกฤษ เป็นบทที่พบว่ามีการปรับแก้จากวิทยานิพนธ์มากที่สุด (นอกจากบทที่ 3 ซึ่งมีการปรับแก้ข้อมูลโดยอาศัยงานของมูราชิมาและสมศักดิ์) ผู้อ่านที่สนใจว่าเปลี่ยนอย่างไรขอให้กลับไปอ่านเทียบจากวิทยานิพนธ์ บทนี้เป็นการดึงเอาประเด็นข้อคิดที่เขาพบระหว่างทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งสามารถเขียนออกมาเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งต่างหากที่นอกเหนือไปจากกระบวนการและโครงสร้างพื้นฐานทางวัฒนธรรมทางการเมือง (กลุ่มคนและสถาบันต่างๆ) ที่ทำไว้ในวิทยานิพนธ์ แต่เป็นประเด็นว่าด้วยการเจาะลึกไปที่เนื้อในของกระบวนการสร้างงานวัฒนธรรมลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยว่ามันเกิดปัญหาแยกแย้งอย่างไรบ้าง และสุดท้ายทั้งลัทธิมาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์และวัฒนธรรมไทยถูกเปลี่ยนโดยอีกฝ่ายอย่างไร เขาประมวลมันมาเขียนเป็นสรุปแบบสังเขปโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์มันด้วยกองหลักฐานข้อมูล ประเด็นที่เขาหยิบมาเป็นหัวข้ออภิปรายมีอาทิ คู่ความขัดแย้งในการทำลัทธิมาร์กซิสต์ให้เป็นสินค้า, การเมืองของการแปล, การทำลัทธิมาร์กซิสต์เป็นกลอน เป็นต้น
ทุกประเด็นล้วนน่าตื่นตาตื่นใจ ก็ได้แต่หวังว่าผู้เขียนจะมีโอกาสผลิตมันออกมาเป็นสินค้าทางภูมิปัญญาอีกชิ้นหนึ่งแก่ผู้อ่านชาวไทยในภายภาคหน้า
การที่หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นในภาษาอังกฤษ พิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ต่างประเทศซึ่งทำให้ราคาหนังสือค่อนข้างแพง คงทำให้หนังสือเล่มนี้เข้าถึงผู้อ่านชาวไทยได้ลำบาก ถ้าจะให้คนไทยเข้าถึงได้ มันคงต้องถูกแปรให้กลายเป็นไทยสักวันหนึ่งข้างหน้าเฉกเช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์ลัทธิมาร์กซิสต์ที่มันวิเคราะห์ถึง นอกจากนั้นความหนาและความเข้มข้นทางวิชาการของมันก็คงทำให้อุปทานของหนังสือไม่มากมายพุ่งพราดเหมือนหนังสือฮาวทูที่มีดกดื่นในตลาดหนังสือ กล่าวในแง่นี้ชะตากรรมของหนังสือวิชาการในตลาดทุนนิยมก็ไม่ได้ดีกว่าสิ่งพิมพ์ลัทธิมาร์กซิสต์เท่าไรเลย
[1] ตอนหนึ่งจากการสนทนาเปิดตัวและวิพากษ์หนังสือของเกษียร เตชะพีระ เรื่อง Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545.
[2] Benedict Anderson, “Radicalism after Communism,” New Left Review 202 (Nov.-Dec. 1993) ต่อมาพิมพ์รวมเล่มอยู่ในหนังสือของผู้เขียนคนเดียวกันเรื่อง The Spectre of Comparisons: Nationalism, Southeast Asia, and the World (London: Verso, 1998).
[3] Seksan Prasertkul, “The Transformation of the Thai State and Economic Change” (Ph.D. thesis, Cornell University, 1989).
[4] Thongchai Winichakul, “Siam Mapped: A History of the Geo-Body of Siam” (Ph.D. thesis, University of Sydney, 1988).
[5] Kasian Tejapira, “Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958” (Ph.D. thesis, Cornell University, 1992).
[6] Somsak Jeamteerasakul, “The Communist Movement in Thailand” (Ph.D. thesis, Monash University, 1993).
[7] Thongchai Winichakul, Siam Mapped: A History of the Geo-Body of a Nation (Honolulu: University of Hawaii Press, 1994).
[8] Kasian Tejapira, Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927-1958 (Melbourne: Kyoto University Press and Trans Pacific Press, 2001). อย่างไรก็ดี งานทั้ง 4 ชิ้นยังไม่ถูกแปลเป็นไทย ซึ่งทั้งน่าเสียดายและชวนสงสัยไปพร้อมๆ กัน.
[9] เออิจิ มูราชิมา, การเมืองจีนสยาม: การเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย ค.ศ.1924-1941, แปลโดย เออิจิ มูราชิมา และวรศักดิ์ มหัทธโนบล (กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, 2539); เออิจิ มูราชิมา, “สัมพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่น กับชาวจีนในประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2“, แปลโดยเออิจิ มูราชิมา และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ฮายะโอะ ฟูกุย, ญี่ปุ่น-ไทย-อุษาคเนย์ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2541).
Subscribe to:
Posts (Atom)